Alvarado appendicitis score


การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ

วันนี้ทีมของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ได้เยี่ยมชมการพัฒนาคุณภาพของจังหวัดชลบุรีและกระตุ้นการพัฒนา สร้างความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น สร้างความเข้าใจในแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพ HA เรื่องแนวคิด 3CPDSA , Clinical tracer และกระบวนการคุณภาพอื่นๆ ในจังหวัดนี้นับว่ามีบริบทที่หลากหลาย เนื่องจากมีรพ.ที่มีต้นสังกัดที่แตกต่างกัน ทั้งต้นสังกัดกระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข สภากาชาดไทย และทบวงมหาวิทยาลัย โดยมีรพ.ที่ผ่านบันไดขั้นที่ 1 เป็นส่วนใหญ่ และมีรพ.ที่ผ่านการรับรองแล้ว สองแห่ง หนึ่งในนั้นคือรพ.พนัสนิคมวันนี้ได้นำเสนอ Clinical tracer เรื่อง Ac.Appendicitis ซึ่งตามบริบทของรพ.เป็นปัญหาเนื่องจากมีผู้รับบริการมีมากจำนวน 300 รายต่อปี ปัญหาที่พบคือการวินิจฉัยล่าช้าผ่าตัดล่าช้า และ มีอัตราการเกิดไส้ติ่งแตกมาก สาเหตุมาจากการประเมินล่าช้า ผิดพลาด เลยได้นำ Evidence base มาใช้ ในการประเมินโดยใช้แบบประเมิน Alvarado appendicitis score มาใช้ พบว่าสามารถให้การประเมินได้ถูกต้องมากขึ้น วินิจฉัยถูกต้องมากยิ่งขี้น พอดี สนใจในเรื่อง score นี้ค่ะ ก็เลยหาข้อมูลว่าเป็นอย่างไร เลยนำมาฝากไว้ให้ทุกท่านที่สนใจได้ดูค่ะ คะแนน 7 ก็ผ่าตัดได้เลย เป็น Ac.Appendicitis แน่ๆ และมีการส่งชิ้นเนื้อเพื่อยืนยันอีกครั้งหนึ่งด้วย หน้าตาเป็นแบบนี้นะคะ

Alvarado appendicitis score Appendicitis less likely

Score

  Interpretation
under 5
  Appendicitis less likely
5-6
  Possible appendicitis
7-8
  Probably appendicitis
over 8
  Very probably appendicitis

Migration of pain to right lower quadrant


Yes (1 points)

No (0 points)
Anorexia, or acetone in urine

Yes (1 points)

No (0 points)
Nausea-vomiting

Yes (1 points)

No (0 points)
Right lower quadrant tenderness

Yes (2 points)

No (0 points)
Rebound pain

Yes (1 points)

No (0 points)
Fever

Yes (1 points)

No (0 points)
White blood cell count over 10K?

Yes (2 points)

No (0 points)
Left shift (over 75% neutrophils)?

Yes (1 points)

No (0 points)
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 27923เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2006 14:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 01:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เคยอ่านพบเรื่องนี้แล้วเขียนไว้ในบล็อก หากใช้ได้จริงก็น่าจะช่วยให้การวินิจฉัย appendicitis ทำได้ง่ายและเร็วนะคะ เอามาแปะเลย เผื่อขี้เกียจตาม link ไปค่ะ
เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัย peritonitis

 

Pinch-an-inch test

 

เรื่องนี้อ่านแล้วอยากเล่าต่อ เผื่อหมอที่อยู่ ER อ่านแล้วอยากลองทดสอบดูว่าเป็นประโยชน์จริงหรือไม่ อันนี้เป็นรายงานจาก Southern Medical Journal เกี่ยวกับการทดลองใช้ test ที่เค้าเรียกว่า pinch-an-inch ซึ่งคงเทียบเท่ากับ หยิกสักนิ้วนึง ดังรูป

เป็นการใช้วิธี จับผิวหนังที่เหนือจุด McBurney's point ซึ่งคือจุดที่อยู่ทางขวาระหว่างสะโพกกับสะดือค่อนไปทางสะโพก (จุดที่น่าจะเป็นแถวๆไส้ติ่ง) จับแล้วก็ยกดึงขึ้นจากผนังลำไส้ แล้วปล่อยให้ผิวหนังที่โดนหยิกนี้ดีดกลับไปเร็วๆถูกผนังลำไส้ ถ้าผู้ป่วยเจ็บมากขึ้นก็ถือว่า test ให้ผลบวก คือคนไข้มี peritonitis คุณหมอ Bruce D. Adams และคณะรายงานว่ายังไม่เคยมีใครใช้วิธีนี้มาก่อน เพราะปกติเค้าจะทดสอบด้วยวิธีเรียกว่า rebound tenderness แต่คุณหมอบอกว่าวิธี rebound tenderness นี้ทำให้คนไข้เจ็บมากกว่า มีอธิบายว่าวิธีนี้ทำโดยการค่อยๆกดตรงจุดที่ว่าไว้ 15 วินาทีแล้วยกมือออกอย่างรวดเร็ว ถ้าคนไข้เจ็บมากขึ้นตอนที่เอามือออก ถือว่าเป็นผลบวก ใน paper นี้คุณหมอรายงานถึงคนไข้สองคนที่มาด้วยอาการปวดท้องไม่รุนแรง แล้วต่อมาพบว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ ทั้งสองรายไม่มีอาการที่มักพบในคนไข้ peritonitis ความผิดปกติเดียวที่ตรวจพบคือ white count ขึ้น 14,400 โดยมี left shift แต่การทดสอบด้วย pinch-an-inch ได้ผลบวกทำให้มีการตรวจต่อด้วย contrasted CT scan พบว่ามีไส้ติ่งอักเสบ คนไข้เลยได้รับการผ่าตัดเรียบร้อย คุณหมอรายงานไว้ว่า การใช้วิธีนี้ทดสอบแม่นยำในการตรวจไส้ติ่งอักเสบมากกว่าวิธีมาตรฐานเดิม และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากเท่ากับทำ CT scan

ถ้าใครอยากอ่านรายละเอียดเอง ก็ค้นได้ที่ South Med J.  2005;98(12):1207-1209

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท