เล่าสู่กันฟังงานประชุมวิชาการ เรื่อง " เศรษฐกิจพอเพียงสู่สุขภาวะแห่งองค์รวม "


ท่านบอกว่าพวกเราจะต้องมีสุขภาวะแบบองค์รวมก่อนจึงจะเกิดเศรษฐกิจแบบพอเพียงได้ ซึ่งดิฉันก็เห็นด้วยเพราะถ้าทุกคนสามารถดูแลสุขภาพกายและใจให้ดีย่อมไม่เกิด โรคภัย ร่วมกับมีจิตใจและีความคิดที่ดีรู้จักความพอดีในการดำรงชีวิต เราก็จะไม่ใช้จ่ายแบบสุรุ่ยสุร่ายกับสุขภาพและความต้องการที่เกินพอดี

ได้มีโอกาสคืนสู่เหย้าศิษย์เก่ารามาธิบดี 2549 ทุกครั้งที่ได้กลับมาบ้านแค่เห็นป้าย ร.พ ความอบอุ่นก็เริ่มแผ่กระจายภายในตัว ครั้งนี้ตั้งใจมาพบพี่ๆน้องๆและประชุมวิชาการ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงสู่สุขภาวะแห่งองค์รวม : บทบาทพยาบาลกับการประสานสุขภาพ เมื่อ วันที่ 4 พ.ค.ช่วงบ่ายที่ชั้น 5 ตึกศุนย์การแพทย์สิริกิตติ์ ร.พ รามาธิบดี เป็นวิทยากรรับเชิญ 2 ท่าน คือ นาย โสภณ สุภาพงศ์ และ ดร. สมจิต หนุเจริญกุล

คุณ โสภณ สุภาพงศ์ เริ่มกล่าวก่อนถึงความหมายของคำว่า " สุขภาวะ " และ " องค์รวม " ว่า

สุขภาวะ คือ ภาวะที่จิตเรามีศีลธรรมทำให้เราไม่ทำร้ายใครและใครก็มาทำร้ายเราไม่ได้ถ้าเราไม่ทำร้ายเขาก่อน

องค์รวม คือ จักวาลที่เราอยู่เป็นบ่อเกิดแห่งพลังงาน ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตและจิตวิญญาณขึ้นมา
ท่านบอกว่าพวกเราจะต้องมีสุขภาวะแบบองค์รวมก่อนจึงจะเกิดเศรษฐกิจแบบพอเพียง ได้ ซึ่งดิฉันก็เห็นด้วยเพราะถ้าทุกคนสามารถดูแลสุขภาพกายและใจให้ดีย่อมไม่เกิด โรคภัย ร่วมกับมีจิตใจและีความคิดที่ดีรู้จักความพอดีในการดำรงชีวิต เราก็จะไม่ใช้จ่ายแบบสุรุ่ยสุร่ายกับสุขภาพและความต้องการที่เกินพอดี แล้วยังพูดต่ออีกว่า พยาบาลกับแพทย์ เป็นวิชาชีพที่เรียนลึกซึ้งลงไปถึงการค้นหาสาเหตุมากกว่าอยู่บนความเป็นจริง อย่างมีไข้มาแค่เช็ดตัวลดไข้เอาน้ำแข็งแช่ก็ช่วยแก้ไขได้บ้างแต่ยังมองลึกไป ค้นหาถึงสาเหตุที่แท้นั่นก็คือเข้าไปถึงความจริงแท้ ; เมื่อไหร่ที่เราทำหน้าที่ที่่ีีี่ผูกพันธ์่กับศรัทธาบนความจริงแท้ที่จะช่วย เหลือ เราจะเกิดความสำเร็จและจะได้พบกับความสุขเสมอ จะทำให้เราไม่รู้สึกโกรธไม่ว่าอะไรจะเกิดเราก็รับได้ คนรอบข้างก็จะรู้สึกไว้ใจเกิดสุขภาวะเพราะมีเพื่อนที่เป็นพวกเดียวกันที่ นั่น

ตอนท้ายท่านบอกว่าบ้านให้ความสุขเพราะ เราใช้ความสัมพันธ์ทางธรรมชาติคือจิตใจที่ดีต่อกันและยังบอกอีกว่า การใช้ชีวิต 3 แบบคือ

การใช้ชีวิตแบบที่ 1 การใช้ชีวิตแบบใช้อำนาจที่เรามีเหนือกว่าผู้อื่นทั้งอำนาจทางการเงินและ
การปกครองให้เข้ามาอยู่ในชีวิต ซึ่งอาจจะมาทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้

การใช้ชีวิตแบบที่ 2 การใช้ชีวิตแบบมีเหตุและผล บนพื้นฐานความรู้ที่เรียนมาเพื่อแก้ไขอย่างมีเหตุมีผล ซึ่งก็ยังมีฝ่ายที่เสียหรือได้ประโยชน์ยังมีการเอาชนะเช่นกัน

การใช้ชีวิตแบบที่ 3 การใช้ชีวิตแบบที่ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขไปด้วยกันเห็นความสำคัญซึ่งกันและกัน คือการมีชีวิตแบบพอเพียง

ในส่วนของ อาจารย์ ดร. สมจิต หนุเจริญกุล พูดถึง บทบาทพยาบาลกับการประสานสุขภาพ โดยกล่าวถึง บทบาทของพยาบาลและผดูงครรภ์จะเป็นกำลังหลักในการดูแลระบบสุขภาพทั่วโลก การขจัดอุปสรรคและปัญหาต่างๆที่ไม่ให้ความสำคัญกับบริการการพยาบาล มีส่วนช่วยปรับปรุงสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนมาโดยตลอด พยาบาลถือเป็นเพื่อนตายและเพื่อนชีวิต ทำงานในวิชาชีพด้วยจิตเมตตา เสียสละแก่ผู้เจ็บป่วยทุกข์ยากด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ ซึ่งจะเน้นที่ primary health care และบทบาทในการให้บริการแก่ประชาชนในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนในระดับปฐมภูมิ คือ

1. การเสริมสร้างสุขภาพ

2. การเฝ้าระวัง การควบคุม และการป้องกันโรค

3. การรักษาโรคเบื้องต้น

4. การดูแลสุขภาพครอบครัว และการเยี่ยมบ้าน

5. การฟื้นฟุสภาพบุคคล ประชากรกลุ่มต่างๆในชุมชน

6. การเสริมสร้างศักยภาพ ความเข้มแข็งให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพได้

ยุวดี มหาชัยราชัน

หมายเลขบันทึก: 27920เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2006 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท