ผลพวงจากการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ


ปลูกจิตสำนึกก่อนปฏิรูปการศึกษา

      การศึกษาของไทยวัดกันที่ค่าของคะแนนที่ได้ออกมาในรูปการประเมินผลระดับชาติซึ่งหากว่าคะแนนได้สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดถือว่าผ่านการประเมินถ้าหากว่าคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ถือว่าไม่ผ่านการประเมินหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องนำกลับไปแก้ไขและปรับปรุงหาวิธีเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสาระวิชานั้นๆให้ได้ไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตามเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาอันเป็นผลพวงที่เล็งมาสู่สถานศึกษาเหล่านั้นว่ามีคุณภาพแค่ไหนโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพที่แท้จริง เป็นเพียงตัวเลขสวยงามที่ฉาบไว้ภายนอกเหมือนเช่นการนำนโยบายการศึกษาไปปฏิบัติและดำเนินการอยู่ในขณะนี้และจะยังคงต่อเนื่องไปอีกในอนาคตโดยไร้เป้าหมายที่ชัดเจน

      จากพาดหัวข่าวที่สรุปได้ว่าสทศ.เผยคะแนนโอเน็ตนักเรียนป6.- ม.3-,.ม.6   ไม่มีเด็กทำคะแนนได้สูงกว่า50% โดยเฉพาะวิช่าภาษาไทยซึ่งมีอยู5 สาระผ่านแค่สาระการฟังดูพูด  นอกนั้นไม่ผ่านเกณฑ์หรือในวิชาอื่นๆเช่นสังคมศึกษาไม่ผ่านเกณฑ์ทั้ง5สาระ  มีบางวิชาที่นักเรียนในระดับม.6ทำคะแนนได้สูงกว่า50% ได้แก่วิชา คณิตศาสตร์ ในเรื่องเรขาคณิต  นอกนั้นไม่ผ่านเกณฑ์50%  เมื่อดูจากผลคะแนนที่ออกมาเช่นนี้ พอจะสรุปได้ว่าวิชาส่วนใหญ่ที่นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินคือวิชาที่ต้องผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์  สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร มันเกิดอะไรขึ้นกับนักเรียนไทยที่ในหลักสูตรได้เพิ่มเนื้อหาสาระที่เข้มข้นแต่ผลสัมฤทธฺทางการศึกษากลับตกตำอย่างน่าใจหาย(มติชน, 2552.  หน้า22) 

       คุณภาพการศึกษาที่เป็นเช่นนี้สาเหตุหนึ่งน่าจะมาจากผลพวงของการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพียงรูปลักษณ์ภายนอกโดยแท้จริงแล้วการพัฒนาคุณภาพการศึกษาควรเริ่มพัฒนาที่จิตสำนึกภายในของผู้เรียนการสร้างความตระหนักการเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่จะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นตัวควบคุมน่าจะเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ที่แท้จรืงและยั่งยืน

      การกำหนดนโยบายการศึกษาของไทยมุ่งเน้นการผลิตนักเรียนนักศึกษาสู่ความเป็นสากลในแง่การสร้างโลกอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี่เพื่อการแข่งขันในทางวิชาการสู่สังคมโลกแต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ได้เกิดการปลูกฝังให้เกิดจิตสำนึกคือภาษาไทยที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติและประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ทำให้คนไทยเห็นคุณค่าของตัวเองความมีเอกลักษณ์ของชาติไทยในด้านวัฒนธรรมต่างๆซึ่งในนโยบายการศึกษามีเขียนไว้น้อยมากเมื่อเทียบกับนโยบายการศึกษาที่มีอยุ่หลายข้อ

      ทุกวันนี้เรามุ่งเน้นสร้างคนเก่งแต่ไม่สร้างคนดีสังเกตจากการเขียนนโยบายการศึกษาที่มีมาตรการเพื่อการปฏิรูปการศึกษารอบแรกมาสู่รอบที่สองเรานำความทันสมัยและอารยธรรมต่างๆของต่างชาติมาผสมกลมกลืนกับของที่มีอยู่จนลืมคิดไปว่าสิ่งเหลานั้นมันไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงหากต้องการปฏิรูปการศึกษาท้งระบบจริงๆต้องปฏิรูปที่คุณธรรมจริยธรรมให้เกิดขี้นภายในจิตสำนึกเสียก่อนจึงจะเรียกว่าเกิดความดีแล้วความดีก็จะเป็นตัวนำความเก่งมาอย่างแน่นอนผลการเรียนที่ปรากฎในขั้นตอนการประเมินผลก็จะเกิดผลสัมฤทธิ์เป็นที่น่าพอใจกับทุกฝ่ายที่เกิ่ยวข้องอย่างแน่นอนเพราะตัวคุณธรรมจะเป็นแรงผลักดันที่ดีที่สุดเหนือกว่าองค์ประกอบอื่นใด

      จึงสรุปได้ว่าการกำหนดนโยบายเพื่อการปฏิรูปการศึกษาจึงควรเน้นที่การปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีของความมีเอกลักษณ์และวัฒนธรรมรวมทั้งคุณธรรมจริยธรรมที่เป็นพื้นฐานของความดีทั้งหลาย เมื่อเกิดคุณธรรมนำความรู้นโยบายต่างๆที่ถูกกำหนดขึ้นมาย่อมสามารถบรรลุวัตถุประสงค์เพื่อการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบอย่างแท้จริงโดยที่ไม่ต้องมานั่งนับคุณภาพความสำเร็จจากตัวเลขเพียงอย่างเดียวการศึกษาของเราก็จะได้ไปอย่างถูกทิศทางเสียทีเพี่อก้าวใหม่ของการนำพาประเทศไปสู่ความเจริญทัดเทียมนานาประเทศในทุกๆด้านเสียทีก่อนที่จะถอยหลังไปมากกว่านี้

   

 

 

หมายเลขบันทึก: 278882เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2009 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยกับเรื่องที่อ่านนะคะจากยายเล็ก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท