ครูจางวางทั่ว พาทยโกศล


ครูจางวางทั่ว พาทยโกศล

ประวัติ

และผลงาน

ท่านครูจางวางทั่ว  พาทยโกศล

 

จัดงานที่ระลึกเนื่องในวันเกิด ๑๐๐ ปี

วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๔

 ประวัติ

ท่านครูจางวางทั่ว  พาทยโกศล

บทนำ

อาจารย์คุณหญิงไพฑูรย์    กิตติวรรณ     ได้กรุณามอบหมายให้ผู้เขียนรวบรวมประวัติท่านครูจางวางทั่ว  พาทยโกศล  บิดาของท่านในโอกาสงานฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปีวันเกิด  ซึ่งจะเวียนมาถึงในวันที่  ๒๑  กันยายน  พ.ศ.๒๕๒๔  นี้

ประวัติชีวิตของท่านครูจางวางทั่ว  ไม่สู้จะแพร่หลาย    แม้รูปถ่ายของท่านก็ไม่เป็นที่คุ้นตาของคนสมัยปัจจุบันนัก    แต่ชื่อของท่านนั้นติดปากคนในวงการดนตรีไทยไม่น้อยไปกว่านักดนตรีเอก      หลายท่าน  อาทิ   พระยาประสานดุริยศัพท์  พระยาเสนาะดุริยางค์  และหลวงประดิษฐ์-ไพเราะ  เป็นต้น  มีหลายครั้งที่นักศึกษาจากวิทยาลัยนาฎศิลป์  วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จ  แม้แต่มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้มาติดต่อผู้เขียน  เพื่อขอภาพและประวัติของท่านครูจางวางทั่ว  ประกอบรายงานส่งอาจารย์  ทั้งนี้เพราะปรากฏว่า  หาประวัติของท่านครูจางวางทั่วในห้องสมุดไม่ได้เลย

อาจารย์ชดช้อย   (สุนทรวาทิน)    เกิดใจตรง    ได้กรุณามอบหนังสือซึ่งคุณบุญมาก             พลจันทร์   และนายเทวาประสิทธิ์   พาทยโกศล   ร่วมกันพิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพของท่านครูจางวางทั่ว  เมื่อ  พ.ศ. ๒๔๘๒  ให้เป็นแนวทางสำหรับเขียนประวัติครั้งนี้  เพราะข้อเขียนนี้เป็นหลักฐานอันสำคัญยิ่ง  ซึ่งพระยาอรรถศาสตร์โสภณ   อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวัดบพิตร-พิมุข  ได้เขียนไว้เมื่อรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ  จากคำบอกเล่าของผู้ที่เคยใกล้ชิดในท่านครูมาแต่เด็ก  อาทิ  จ.ส.อ.ยรรยงค์  โปร่งน้ำใจ   คุณหญิงไพฑูรย์  กิตติวรรณ  ผู้เป็นธิดาและบุตรีคนเดียวที่มีชีวิตอยู่ในขณะที่เขียนประวัตินี้   ครูเตือน  พาทยกุล    จ.ส.อ.พังพอน  แตงสืบพันธุ์  ครูเอื้อน            กรเกษม  คุณยุพา  พาทยโกศล  (ภรรยานายเทวาประสิทธิ์)  และ  จ.ส.อ.อุทัย  พาทยโกศล  ทายาทชายสายตรง  ผู้เป็นบุตรชายคนเดียวของนายเทวาประสิทธิ์  อันสืบเชื้อสายมาจากท่านครูจางวางทั่วโดยแท้  ทั้งหมดนี้ได้กรุณาเล่าประวัติให้ผู้เขียนบันทึกเสียง  นับเป็นพระคุณที่ต้องจารึกไว้  หาไม่  แล้วผู้เขียนคงไม่มีโอกาสจะทำงานนี้ได้สำเร็จ  เพราะเมื่อท่านครูจางวางทั่วถึงแก่กรรมนั้น  ผู้เขียนอายุเพียงขวบเศษเท่านั้น

ในการเรียบเรียงประวัติของท่านครูจางวางทั่วครั้งนี้  อาจารย์ทวีศักดิ์  เสนาณรงค์  รองอธิบดีกรมศิลปากร  ได้แนะนำให้จัดพิมพ์ขึ้นในลักษณะของหนังสอที่ระลึกร้อยปี  โดยมอบหมายให้คุณเสรี  หวังในธรรม  ผู้อำนวยการกองการสังคีต  กรมศิลปากร  และอาจารย์สายไหม  จบกลศึก  เป็นผู้ดำเนินการจัดพิมพ์  ทั้งนี้ผู้เขียนได้รับกำลังใจด้วยการสนับสนุนจาก  ศาสตราจารย์คุณหญิงเต็มสิริ  บุณยสิงห์  ด้วยอีกกำลังหนึ่ง  จึงขอขอบพระคุณไว้   ที่นี้ด้วยเป็นอย่างยิ่ง

กำเนิดและบรรพบุรุษของท่านครูจางวางทั่ว

ท่านครูจางวางทั่ว  เกิดเมื่อวันพุธ  แรม  ๑๓  ค่ำ  เดือน  ๑๐  ปีมะเส็ง  พ.ศ. ๒๔๒๔  ตรงกับวันที่  ๒๑  กันยายน  เวลาเช้า   นาฬิกา   บ้านตระกูลพาทยโกศล  หลังวัดกัลยาณมิตร  อำเภอธนบุรี  กรุงเทพมหานคร  เป็นบุตรคนที่  ๑๒  ของ  หลวงกัลยาณมิตตาวาส   (เจ้ากรมทับ แห่งวัดกัลยาณมิตร)  เกิดแต่  คุณแม่แสง ผู้เป็นมารดา

พระยาอรรถศาสตร์โสภณ  ผู้เป็นสหายสนิทของท่านครูจางวางทั่ว  ได้บันทึกไว้ในปี  พ.ศ. ๒๔๘๒  ว่า    ท่านครูจางวางทั่ว    เกิดมาในตระกูลนักดนตรีอาชีพที่มีประวัติบรรพบุรุษนับแต่      นายเทวาประสิทธิ์  พาทยโกศล  ขึ้นไปได้ถึง   ชั่วคน  ในขณะที่เขียนหนังสือนี้  ได้มีหลานปู่ของนายเทวาประสิทธิ์  อันเป็นบุตรและบุตรีของ  จ.ส.อ.อุทัย  พาทยโกศล  เกิดมาแล้ว  จึงนับได้ว่า  เป็นตระกูลเก่าแก่ที่นับได้ถึง   ชั่วคนได้แล้วใน  พ.ศ. ๒๕๒๔   นี้

กล่าวกันว่า  ตระกูลของท่านครูจางวางทั่ว  ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่   ที่อยู่ปัจจุบัน  คือ           หลังวัดกัลยาณมิตร  นี้มาแต่รัชกาลที่ ๑  ปัจจุบันยังมีเครื่องดนตรีหลายชิ้นที่บรรพบุรุษของท่านได้สร้างไว้แต่รัชกาลที่ ๒  เป็นหลักฐานปรากฏอยู่   แต่ชื่อคนสำคัญในตระกูลนี้สืบได้สูงสุดเพียงท่านเจ้ากรมทับ  ผู้เป็นบิดา  ของท่านครูจางวางทั่วเท่านั้น  เพราะมิได้มีการบันทึกไว้เลย

ท่านเจ้ากรมทับ  พาทยโกศล  บิดาของท่านครูจางวางทั่ว  มีญาติผู้ใหญ่คนหนึ่ง  ชื่อท่านครูทองดี  ชูสัตย์  ซึ่งท่านครูจางวางทั่ว  เรียกท่านผู้นี้ว่า  ปู่ทองดี  เข้าใจว่าจะเป็นน้องชายของมารดาท่านเจ้ากรมทับ  ท่านผู้นี้เป็นครูดนตรีไทยเก่าแก่ที่เชี่ยวชาญเพลงหน้าพาทย์  ครั้งหนึ่งเมื่อปลายรัชกาลที่ ๖  ทางกรมมหรสพเคยเชิญท่านไปต่อเพลงหน้าพาทย์                   

   

หลวงกัลยามิตตาวาส บิดา ของ

ท่านครูจางวางทั่ว  พาทยโกศล

อาหารการกินมาก   ได้ขอร้องมิให้ท่านครูรับประทานหมูซึ่งท่านครูได้ปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัดมาจนตลอดอายุขัยคุณแม่แสงมีบุตรกับเจ้ากรมทับ   คน  คนโตเป็นหญิง  ชื่อหนู  ซึ่งเป็นพี่สาวแท้ ๆ  ของท่านครูจางวางทั่ว  คุณหนูได้แต่งงานกับ  นายชื่น  สุนทรวาทิน  น้องชายเจ้าคุณเสนาะดุริยางค์ (แช่ม  สุนทรวาทิน)  นายชื่นนั้นเป็นบุตร  ครูช้อย  สุนทรวาทิน  ภรรยาอีกคนหนึ่งของท่านเจ้ากรมทับ       ชื่อสีนวล  รายนี้ไม่เป็นนักดนตรี  แต่มีบุตรชายคนหนึ่ง  ชื่อนายแมว  (ละม้าย  พาทยโกศล)             เป็นนักดนตรีมีฝีมือในการตีเครื่องหนังยอดเยี่ยมคนหนึ่ง

                ภรรยาคนสุดท้ายของท่านเจ้ากรมทับ  ชื่อสุข  อยู่ด้วยกับท่านเจ้ากรมทับจนท่านสิ้น  แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน  ท่านเจ้ากรมทับนี้เป็นนักดนตรีไทยรุ่นเก่าที่มีความรู้และฝีมือจัดมากคนหนึ่ง  ท่านเคยทำหน้าที่เป็นหัวหน้าวงดนตรีไทย  ประจำบ้านของพระยาประภากรวงศ์

การศึกษาของท่านครูจางวางทั่ว 

ไม่มีใครทราบว่า  ท่านครูจางวางทั่วเริ่มเรียนหนังสือที่ใด  ทราบแต่ว่าท่าน  อุปสมบท   วัดอรุณราชวราราม  เมื่อ  พ.ศ. ๒๔๔๕  มีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  (ฤทธิ์)  วัดอรุณ ฯ  เป็นพระอุปัชฌายะ  พระปัญญาคัมภีรเถระ    (พุ่ม)    วัดอรุณ ฯ   กับ   พระสุนทรสมาจารย์  (พรหม)              วัดกัลยาณมิตร  เป็นพระกรรมวาจาจารย์บวชอยู่พรรษาเดียวแล้วออกมาเรียนดนตรีต่อจากบิดาท่าน 

ท่านครูจางวางทั่ว  เริ่มเรียนดนตรีจากบิดา  และมารดา  และเข้าใจว่า  คงจะได้ต่อเพลง       จากปู่น้อย  คือ  ท่านครูทองดี  ชูสัตย์  ด้วยพระยาอรรถศาสตร์โสภณ  เล่าไว้ในประวัติท่านครูว่า  เมื่อเจริญวัยขึ้น  ท่านบิดาได้ส่งไปเรียนดนตรีเพิ่มเติมจาก  ครูยอด  อันเป็นสำนักดนตรีสมัยต้น ฯ  ที่  อาจารย์คุณหลวงประดิษฐ์ไพเราะ  (ศร  ศิลปบรรเลง)  เคยเรียนมาด้วยกันท่านครูจางวางทั่ว           เรียนดนตรีไทยได้เร็ว  มีฝีมือในการบรรเลงปี่พาทย์อย่างหาตัวจับยาก  แม้จะไม่ได้ชื่อว่าเป็น            นักระนาดฝีมือจัด  แต่ก็ได้รับการยกย่องว่า  เชี่ยวชาญในเรื่องฆ้องวง  เป็นพิเศษ  ยอดเยี่ยมที่สุดใน   กลุ่มศิษย์ของครูรอดรุ่นเดียวกันนั้น

ท่านครูจางวางทั่ว  เคยเล่าให้  จ.ส.อ.พังพอน  แตงสืบพันธุ์  ฟังว่า  ท่านเคยเรียนต่อเพลงจากครูหลายท่าน  อาทิ  ครูต่วน  ครูช้อย  สุนทรวาทิน   ซึ่งเป็นบิดาของนายชื่น  พี่เขย  และยังเคยเรียนกับครูอีกท่านหนึ่ง    คือ  ครูทั่ง   ครูอีกท่านหนึ่งซึ่งท่านครูจางวางทั่วเคารพนับถือมาก  คือ                   เจ้าคุณประสานดุริยศัพท์  (แปลก  ประสานศัพท์)  ซึ่งตามตำรากล่าวว่า  เป็นศิษย์เอกรุ่นแรก ๆ         ครูช้อย  สุนทรวาทิน  เรียนดนตรีคู่กันมากับ  เจ้าคุณเสนาะดุริยางค์  แต่อายุแก่ที่สุดในรุ่น  ท่านครูจางวางทั่วนั้น  อายุอ่อนกว่าเจ้าคุณครูพระยาประสานถึง  ๒๑  ปี  ได้ปรึกษาเพลงการต่าง ๆ  จาก      เจ้าคุณไว้เป็นอันมาก  ต่อมาเจ้าคุณครูยังได้สอนนายเทวาประสิทธิ์อีกด้วย  ท่านเจ้าคุณพระยาประสานนี้  เป็นครูของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ  (ศร  ศิลปบรรเลง)  ด้วย  จึงนับว่าทั้งท่านครูจางวางทั่ว  และจางวางศร  ต่างก็เป็นศิษย์ครูเดียวกันถึง   ครั้ง   หน  เพราะเคยร่วมสำนักของครูรอดมาด้วยกันแล้วหนหนึ่ง  ดังที่เล่ามาแล้วข้างต้น

                ครูคนสุดท้านของท่านครูจางวางทั่ว  ดูเหมือนจะเป็น  สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์          กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ     ซึ่งเป็นทั้งเจ้านายโดยตรงที่ทรงประทานพระเมตตาอุปถัมภ์ค้ำชู     ท่านครูจางวางทั่ว   และครอบครัวมาเป็นเวลาติดต่อกันราว  ๓๐  ปี  และได้ประทานความรู้ในเรื่อง  วิธีประสานเสียงดนตรีแบบตะวันตกให้แก่ท่านครูจางวางทั่วด้วย  เข้าใจว่าท่านครูจางวางทั่วจะเรียนโน้ตสากลในครั้งที่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของทูลกระหม่อมบริพัตร  แต่ไม่แน่ใจนักว่าท่านครูจะเชี่ยวชาญจนถึงเขียนโน้ตสากลได้ตนเอง  เพราะปรากฏว่า  เวลาท่านบอกเพลงประสานเสียงสำหรับแตรวงนั้น  ท่านเรียกศิษย์ของท่าน  คือ  พันเอกหลวงประสานดุริยางค์  (สุทธิ  ศรีชยา) มาเขียน  โดยท่านนั่งบอกให้แยกเสียงสำหรับเครื่องดนตรีต่าง ๆ  ด้วยปากเปล่า  

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 278796เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2009 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณมากครับ

กำลังหาอยู่พอดี

ขอบคุณครับที่บอกประวัติครูจางสาวทั่ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท