กระทรวงการคลังสนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรไทย


สนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรไทยในการรักษาพยาบาล โดยให้กำหนดบัญชียาสมุนไพรเพิ่มเติมให้ครอบคลุมบัญชียาที่โรงพยาบาลผลิตได้และนำมาเบิกค่าใช้จ่ายได้

นายแพทย์พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง สนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรไทยในการรักษาพยาบาล โดยให้กำหนดบัญชียาสมุนไพรเพิ่มเติมให้ครอบคลุมบัญชียาที่โรงพยาบาลผลิตได้และนำมาเบิกค่าใช้จ่ายได้

นายแพทย์พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ เปิดเผยว่า หลังจากที่กรมบัญชีกลางได้ออกหนังสือเวียน เมื่อวันที่
11 มิถุนายน 2552 โดยกำหนดให้เบิกค่ายาสมุนไพรได้เพียงยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ และเภสัชตำรับของ
โรงพยาบาลเฉพาะรายการที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ (เท่านั้น)  ซึ่งทำให้มีสมาคมฯ และเครือข่ายเกี่ยวกับยาสมุนไพร ได้ขอให้พิจารณาเพื่อสนับสนุนยาสมุนไพรให้สามารถเบิกค่ายาสมุนไพรตามเภสัชตำรับของโรงพยาบาล ซึ่งเป็นยาที่โรงพยาบาลผลิตได้เองแต่ไม่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ   ให้สามารถเบิกจ่ายได้

นายแพทย์พฤฒิชัย ดำรงรัตน์  กล่าวต่อว่า  เรื่องนี้กรมบัญชีกลางได้ประชุมหารือร่วมกับผู้แทนกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และหน่วยงานต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง  เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2552  และมีข้อสรุปร่วมกันว่า ชนิดและประเภทยาตามหนังสือเวียนฉบับเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2552  ที่กำหนดไว้ 2 บัญชี (บัญชียาหลักแห่งชาติ และบัญชีเภสัชตำรับของโรงพยาบาล) นั้น  ยังไม่ครอบคลุม  จึงได้กำหนดให้มีบัญชีเพิ่มขึ้นอีก 1 บัญชี  คือ  บัญชียาของสถานพยาบาลแต่ละแห่งที่ผลิตได้เองรวมถึง
ยาสมุนไพรที่โรงพยาบาลซื้อจากสถานพยาบาลอื่นมาประกาศรายการยาได้เองตามความจำเป็น  และสามารถนำมาเบิกค่ารักษาพยาบาลได้  โดยทางโรงพยาบาลจะต้องส่งบัญชียาดังกล่าวให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกพิจารณา เพื่อประชุมร่วมกันและกำหนดเป็นบัญชียาสมุนไพรที่เป็นมาตรฐานร่วมกันต่อไป
 

  “ขณะนี้หนังสือสั่งการดังกล่าว ทางกระทรวงการคลังได้ลงนามแล้ว และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่
15 กรกฎาคม 2552 โดยกำหนดหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ายาสมุนไพร ประกอบด้วยรายการยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติฉบับปัจจุบัน และรายการยาสมุนไพรที่เป็นเภสัชตำรับของโรงพยาบาล คือยาสมุนไพรที่สถานพยาบาลผลิต   ได้เองรวมถึงยาสมุนไพรที่ซื้อจากสถานพยาบาลอื่นด้วย
  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อวงการสมุนไพรไทย และแพทย์แผนไทย ทั้งด้านการวิจัย การผลิต และผู้ใช้ยาสมุนไพร  นายแพทย์พฤฒิชัย ดำรงรัตน์  กล่าวสรุปตอนท้าย

 

หมายเลขบันทึก: 278652เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2009 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทำไมรัฐถึงห้ามการเบิกจ่ายยาที่จำเป็นต่อโรคหลายอย่างเช่น วิตามิน หรือยาเกี่ยวกับกระดูกบาง แต่กลับยอมให้มีการส่งตรวจมวลกระดูกกันเป็นว่าเล่น โดยมีการส่งตรวจได้แม้กระทั่งแพทย์ที่ไม่ใช่แพทย์เฉพาะทาง รมต.สธ. ก็ทราบดีว่าเวลามีการส่งตรวจทางเอกชนจะมีเงินรางวัลส่งกลับมาให้แพทย์ด้วย ซึ่งคิดเป็นค่าใช้จ่ายของรัฐที่ต้องสูญเสียไปเป็นจำนวนมากอยู่ ช่วยพิจารณาให้ถูกต้องก่อนที่จะต้องเสียงบประมาณค่ารักษาพยาบาลไปโดย เปล่าประโยชน์ เพราะการตรวจมวลกระดูกแต่ละครั้ง ไม่มีความจำเป็นมากกว่า

ทำไมกรมบัญชีกลางต้องตัดยาที่เคยเบิกได้ออกด้วยเพราะก่อนผ่าตัดหมอบอกว่ายาที่ใช้กินสามารถเบิกได้ หลังจากผ่าตัดเสร็จแล้ว ยาที่เคยเบิกได้กลับถูกตัดออกจากกรมบัญชีกลางและยาที่กินอยู่นี้ต้องกินตลอดชีวิต ถ้ารู้ว่าจะต้องจ่ายค่ายาจำนวนนี้ไปตลอดชีวิตจะไม่ผ่าตัดเด็ดขาด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท