การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง วรรณกรรมท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม


ชื่อเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง วรรณกรรมท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เขตพื้นที่การศึกษา กาฬสินธุ์ เขต 1
ผู้วิจัย นางสาวกัญญารัตน์ นาเสถียร กศ.ม.การวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ.2548
กรรมการควบคุม รศ.ดร.บุญชม ศรีสะอาด , อ.ธัญญลักษณ์ ทองอินทร์

บทคัดย่อ
หลักสูตรท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับวรรณกรรมท้องถิ่น เป็นแหล่งเรียนรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญ ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ภาษาของท้องถิ่นได้ อย่างถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง วรรณกรรมท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ใช้แบบแผนการวิจัยและพัฒนา โดยผู้วิจัยพัฒนาหลักสูตรขึ้น และทำการประเมินหลักสูตรด้วยเทคนิค Puissance Measure (P.M.) เพื่อหาคุณค่าของหลักสูตรก่อนนำไปทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขมิ้นพิทยาสรรพ์ จำนวน 23 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดอนไทรงามวิทยาคม จำนวน 30 คน ในเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ คือ หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง วรรณกรรมท้องถิ่น แผนการจัดการเรียนรู้ แบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน แบบวัดความพึงพอใจ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
หลักสูตรฉบับร่างก่อนนำไปทดลองใช้ซึ่งประเมินโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ด้านผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง มีค่า Puissance Measure (P.M.) เท่ากับ 14.25 โดยเฉลี่ยแล้วมีค่า Puissance Measure (P.M.) เท่ากับ 25.47 แสดงว่า หลักสูตรมีคุณค่าสูง แผนการจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่น ซึ่งประมเนโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.59) เมื่อทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขมิ้นพิทยาสรรพ์ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 ค่าดัชนีประสิทธิผลของหลักสูตรที่ทดลองสอนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้ วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ .6479 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนร้อยละ 64.79 ประสิทธิภาพของหลักสูตรที่ทดลองสอนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ผ็วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 85.74/85.29 ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 และนักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรท้องถิ่นมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนอยู่ ในระดับมาก
เมื่อครูในท้องถิ่นใช้หลักสูตรนี้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดอนไทรงามพิทยาคม นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 ค่าดัชนีประสิทธิผลของหลักสูตรที่ทดลองสอน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเท่ากับ .6446 แสดงว่าหลังจากนักเรียนเรียนกับครูในท้องถิ่น นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนร้อยละ 64.46 ประสิทธิภาพของหลักสูตรที่ทดลองสอน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 83.33/81.67 ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 และนักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรท้องถิ่นที่มีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน ในระดับมาก
โดยสรุป หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง วรรณกรรมท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ มีคุณค่าสูง เป็นหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ และมีประสิทธิผล สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้

หมายเลขบันทึก: 27865เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2006 12:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
นางสาวศิริลักษณ์ ไสยศาสตร์
เป็นเรื่องที่หน้าสนใจมากคะ

ไม่เห็นมีความหมายของคำว่าวรรณกรรมท้องถิ่นเลย

ควรปรับปรุงเป็นอย่างมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท