วิพากษ์บทความไอทีในชีวิตประจำวัน "ยิ่งได้รับก็ยิ่งต้องการเพิ่ม"


จงพอใจในสิ่งที่ตนมี

วิพากษ์บทความไอทีในชีวิตประจำวัน  ยิ่งได้รับก็ยิ่งต้องการเพิ่ม

ความโลภ  คือ  ความไม่รู้จักพอ  หรือความอยากที่เกินความต้องจำเป็นพื้นฐานของแต่ละบุคคล

ซึ่งความโลภมักเป็นต้นเหตุที่สำคัญในการก่อให้เกิดความทุกข์แก่ตนเอง และคนรอบข้าง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่               ซึ่งมีหน้าที่เลี้ยงดูบุตรหลานของตนให้อยู่ดีกินดี  มีความสุขทั้งกายและใจ  ต้องการอะไรก็หาให้   ซึ่งในปัจจุบันสิ่งที่เห็น      ได้ชัดเจน คือ ความต้องการมีโทรศัพท์  ลูกต้องการมีโทรศัพท์ก็ซื้อให้ตามความต้องการ  เลือกแบบมีกล้องถ่ายรูปฟังเพลงได้   แต่พอใช้ไปปรากฏว่ามีโทรศัพท์รุ่นใหม่  มีรูปลักษณ์สวยงาม  ขนาดเล็กพกพาสะดวก  และมีคุณสมบัติเป็นทั้งกล้องถ่ายรูป  วีดีโอ  สามารถดูหนัง  ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ตได้  ทำให้เกิดความอยากได้โทรศัพท์รุ่นใหม่อีก  เกิดปัญหาความอยากโดย ไม่รู้จักพอ  ดังที่  Maslow  ได้กล่าวไว้ว่า  มนุษย์มีความต้องการมีอยู่เสมอและไม่มีสิ้นสุด แต่สิ่งที่มนุษย์ต้องการนั้นขึ้นอยู่กับว่าเขามีสิ่งนั้นอยู่แล้วหรือยัง ขณะที่ความต้องการใดได้รับการตอบสนองแล้วความต้องการอย่างอื่นจะเข้ามาแทนที่กระบวนการนี้ไม่มีที่สิ้นสุด และจะเริ่มต้นตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย   และเมื่อความต้องการในระดับต่ำ ได้รับการตอบสนองแล้ว

ความต้องการระดับสูงก็จะเรียกร้องให้มีการตอบสนองทันที   

                                ความอยาก ความต้องการดังกล่าวเป็นต้นเหตุให้เกิดความทุกข์แก่ตนเอง โดยไม่คำนึงว่ามีความจำเป็น    หรือไม่  บางรายตอบสนองความต้องการของตนเองโดยทำทุกวิถีทางที่จะได้มาซึ่งความต้องการ  ไม่ว่าจะเป็นการขโมย      เงินพ่อแม่  หรือขโมยของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง   ทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมา

                                จากภาวะสังคมเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน  ข้าวของเครื่องใช้มีราคาสูง  น้ำมันแพง  ค่าของเงินต่ำ   ทุก ๆ คนจะต้องรู้จักคิด  รู้จักใช้  รู้จักพอ  รู้จักหักห้ามใจตนเอง  และให้เตือนตนเองเสมอว่า  จงพอใจในสิ่งที่ตนมี    ทั้งนี้ให้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ  ประพฤติปฏิบัติตนอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท  โดยคำนึงถึง          ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  การสร้างูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม          ประกอบการวางแผนการตัดสินใจและการกระทำต่าง ๆ

-  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง

และผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
                             - ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับ ของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล   โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
จากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
                             - การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ        ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่า

จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

 

หมายเลขบันทึก: 278532เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2009 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท