71. ทำไมจึงชื่อชมพูทวีป(1)


ชมพูทวีปไม่ใช่ทวีปสีชมพู หรือผลชมพู่

www.rigpawiki.orgindex.phptitlez/Jambudvipa

ชมพูทวีป (Jambudvipa)

คำว่า ชมพูทวีป (Jambudvipa) คำว่า ดวิปา (dvipa) แปลว่า ทวีป หมายถึงโลกในระบบจักรวาลวิทยาของศาสนาฮินดู พุทธ และเชนที่ผู้คนอาศัยอยู่ ซึ่งกล่าวถึงในคัมภีร์ปุรานัส[1] ว่าจักรวาลประกอบด้วยเจ็ดทวีปโดยมีมหาสมุทรเจ็ดแห่งที่ล้อมรอบแต่ละทวีปเป็นตัวแบ่งซึ่งขนาดของทวีปจะใหญ่เป็นสองเท่าของทวีปที่อยู่ข้างหน้าออกไปเรื่อยๆ จากวงในไปสู่วงนอก ทวีปทั้ง 7 ที่ปรากฏในปุรานัสได้แก่ Jambudvipa, Plaksadvipa[2], Salmalidvipa, Kushadvipa, Krounchadvipa, Shakdvipa และ Pushkaradvipa มหาสมุทรที่คั่นระหว่างทวีปทั้งเจ็ดได้แก่ น้ำเกลือ น้ำอ้อย เหล้า กี (เนย) นมเปรี้ยว นม และน้ำ 

        ชมพูทวีปรู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า Sudarshanadvipa ชื่อนี้มาจากผล จัมบู (Jambu)  เป็นชื่อหนึ่งของผลอินเดียเบอรีดำ-พลัมสีดำชนิดหนึ่ง ผลเบอรีที่ว่านี้ว่ากันว่ามีผลใหญ่เท่าช้างเมื่อสุกงอมร่วงหล่นไปที่ยอดเขาต่างๆ ก่อให้เกิดแม่น้ำที่มาจากน้ำผลไม้นี้ แม่น้ำที่เกิดขึ้นเรียกว่า จัมบูนาดี (Jambunadi) ไหลไปทั่วทั้งทวีปเพื่อให้ผู้คนดื่มกิน

ชมพูทวีปประกอบด้วย 9 เขต (varsas) และแม่น้ำ 8 สาย

        ทางตอนกลางของชมพูทวีปถูกยกสูงขึ้น แต่ทางใต้และทางเหนือต่ำลง บริเวณที่ถูกดันให้สูงขึ้น เรียกว่า Ila-vrta  หรือ Meruvarsa ตอนกลางของ Ila-vrta เป็นที่ตั้งของเขาพระสุเมรุ (Mouth Meru) บนยอดเขาพระสุเมรุเป็นเมืองที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ของพระพรหม รู้จักกันในชื่อว่า Brahmapuri ล้อมรอบเมืองด้วยเมืองต่างๆ ของพระอินทร์ และเมืองทั้งเจ็ดของเทวดา

        เขต Ramyaka, Hiranmaya, Uttarakuru อยู่ทางทิศเหนือของพระสุเมรุ

        เขต Hari, Kimpurusha และ Bharata อยู่ทางทิศใต้ของพระสุเมรุ

        เขต Ketumala และ Bhadrasva อยู่ทางทิศตะวันและตะวันออกของเขาพระสุเมรุ มีเทือกเขา Nishada, Hemakuta และ Himavan (หิมาลัย) อยู่ทางใต้ เทือกเขา Nila, Sveta และ Sringavan อยู่ทางเหนือเทือกเขา Malayavat อยู่ทางตะวันตก และ Gandhamadana อยู่ทางตะวันออกของเขาพระสุเมรุ

        รายละเอียดทางภูมิศาสตร์ของชมพูทวีปบรรยายไว้อย่างละเอียดในบิชมาปารวะ (Bhishmaparva) ซึ่งเป็นส่วนแรกของการสู้รบที่ยิ่งใหญ่กับบิชมา ผู้บัญชาการรบสำหรับเการะวะ (Kaurava-ลูกหลานของชาวกุรุสมัยพระเวทของอินเดีย) ในมหาภารตะและปุราณะ

        ใน Markandeya Purana และ Brahmanda Purana แบ่งชมพูทวีปออกเป็น 4 เขตใหญ่ๆ คล้ายกับกลีบดอกบัว 4 กลีบโดยมีเขาพระสุเมรุอยู่ตรงกลาง เมืองบราฮมาปุรี (Brahmapuri- ปัจจุบันอยู่ที่อำเภอ Chandrapur, Maharashtra) ล้อมรอบด้วยแม่น้ำ Akash Ganga ซึ่งเชื่อว่าไหลออกมาจากเท้าของพระวิษณุ หลังจากชะล้างพระจันทร์ผ่านท้องฟ้าลงมา และหลังจากไหลล้อมรอบเมือง Brahmapuri แล้วแบ่งออกเป็นสี่สายเขาพระสุเมรุไหลไปยังทิศทางตรงข้ามไปยังดินแดนอันกว้างใหญ่ของชมพูทวีปสี่ทิศทาง ได้แก่

แม่น้ำสิตา (Sita) ไหลผ่านดินแดน Bhadrasva

แม่น้ำ Jambunadi   ไหลผ่าน  Ketumala

แม่น้ำ Alakananda  ไหลผ่าน Bharata

แม่น้ำ  Bhadra ไหลผ่าน Uttara-Kuru     (ยังมีต่อ)

อ้างอิงจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Jambudvipa



[1] เป็นคัมภีร์ของศาสนาฮินดูที่สำคัญ ในคัมภีร์นี้มีการเล่าถึงประวัติของจักรวาลตั้งแต่การสร้างจนถึงการทำลาย ลำดับของกษัตริย์  วีรบุรุษ นักปราชญ์ราชบัณฑิต  ครึ่งคนครึ่งเทพ

[2] เป็นดินแดนที่อยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำอินดูสซึ่งประกอบไปด้วยอิหร่าน อาฟกานิสถานทางตอนกลางและตอนใต้ และส่วนหนึ่งของปากีสถาน

 

----------------------------------------------------------

 

 

หมายเลขบันทึก: 278185เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2009 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ได้สาระดีนะคะ
  • เขียนอีกเรื่อยๆนะคะจรออ่านอีกคะ

เรียน คุณตั้งบรรเจิดสุข

     ขอบคุณมากค่ะ เชิญแวะเข้ามาเยี่ยมกันบ่อยๆ นะคะ

 

สวัสดีค่ะ

มาตามรู้เรื่องชมพูทวีป

น่าสนใจและน่าศึกษา

คนแต่ละยุคสมัย

มักคิดว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นมาแล้ว

เป็นเหมือนนิทานไม่จริง

แต่ก็น่าจะศึกษาไว้

เพราะเหตุว่าเราเกิดไม่ทันต่างหาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท