brochill
วราวรรณ จันทรนุวงศ์(ศิริอุเทน)

Nature of Science


ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์

 ทำไมต้อง Nature of Science_NOS เนื่องจากเป้าหมายของการเรียนวิทยาศาสตร์ คือให้มีคุณสมบัติของผู้รู้วิทยาศาสตร์(Scientific Literacy) คือ มีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติวิทยาศาสตร์ การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูจึงจำเป็นที่จะต้องให้สอดคล้องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนได้เข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ด้วย ในหลักสูตรการศึกษาจึงมีการกำหนดให้มีสาระการเรียนรู้ที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งปกติแล้ว ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์(Nature of Science) มีอยู่ในทุกสาระการเรียนรู้อยู่แล้ว หรือมีอยู่ในทุกเหตุการณ์ในชั้นเรียนด้วยซ้ำ(everyday event in science classroom) ถ้ารู้และเข้าใจเป็นอย่างดีจะช่วยทำให้ผู้เรียนรู้เท่าทันวิทยาศาสตร์ มีภูมิรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เมื่อต้องทำหารตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็จะสามารถนำภูมิรู้นั้นมาช่วยในการตัดสินใจในประเด็นที่เกี่ยวกับวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยี สามารถแยกแยะว่าสิ่งใดเป็นวิทยาศาสตร์แท้หรือวิทยาศาสตร์เทียม (Science or Pseudoscience) โดยลักษณะธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ นั้นมี 3 ลักษณะด้วยกัน ทำอย่างไรครูผู้สอนจึงจะสามารถส่งเสริม ชี้แนะ ให้เด็กเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ได้

        1. การมีโลกทัศน์ทางวิทยาศาสตร์(Scientific world view) คือการที่เข้าใจว่าความรู้ ปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จะยังคงอยู่ ณ เวลาหนึ่ง แต่เมื่อมีเหตุผลที่ดีกว่ามาอธิบายก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่มีความคงทน วิทยาศาสตร์ไม่สามารถตอบได้ทุกคำถาม "Science and the methods can not answer all question"

        2. การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์(Scientific Inquiry) การจะได้มาซึ่งความรู้วิทยาศาสตร์นั้นผู้เรียนจะต้องมีพยานหลักฐาน มีเหตุมีผล สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ เชื่อมโยง สร้างสรรค์ข้อมูลอย่างมีความหมาย เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวและพึงพอใจ มีความสุขที่จะเรียนรู้มัน " the world around me and enquiry"

        3. กิจการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Enterprise) เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ มีการพบปะ พูดคุย อภิปราย โต้แย้งกันเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เพื่อเกิดการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงความรู้ของตน จนบางครั้งอาจเรียนได้ว่า สุนทรียสนทนา เกิดการรักและมีจิตสำนึกด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

       ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ จึงต้องเข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ เข้าใจการรอบรู้เชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน โดยเฉพาะครูวิทยาศาสตร์ ยิ่งต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้อย่างดี. 

คำสำคัญ (Tags): #nature of science
หมายเลขบันทึก: 278181เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2009 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท