brochill
วราวรรณ จันทรนุวงศ์(ศิริอุเทน)

การประชุมวิทยาศาสตร์ศึกษา


การร่วมประชุมวิชาการ

     การเปิดโลกทางความคิด ได้รับฟังและพิจารณาความคิดของนักวิทยาศาสตร์ศึกษา นับเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญสำหรับครูวิทยาศาสตร์ ว่าจะต้องทำตัวหรือปรับตัวอย่างไรจึงจะถูกต้องเหมาะเพราะวิทยาศาสตร์ล้วนอยู่รอบๆ ตัวเรา เราจะต้องมีการพัฒนาความรู้ มีการสืบเสาะเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้(The world around me and Enquiry) อนาคตของการศึกษาต้องตระหนักถึงการเป็นสังคมแห่งความรู้และคลื่นแห่งความรู้(The knowledge society and knowledge wave) นักวิทยาศาสตร์ศึกษาที่พบเห็นล้วนเป็นคนยุคใหม่ อายุยังน้อย จากหลากหลายประเทศทั่วโลก มีอุดมการณ์และแนวคิดเดียวกัน ที่จะผลักดันให้การสอนวิทยาศาสตร์เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมโลก วิทยาศาสตร์ต้องเป็นวิทยาศาสตร์เพื่อสังคมและวัฒนธรรม ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ไปทาง สังคมและวัฒนธรรมที่ดีงามไปอีกทาง วิทยาศาสตร์ส่งผลให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลง วิทยาศาสตร์จึงมีอิทธิพลต่อประชาคมโลก  วิธีการและรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ จะต้องเป็นสะพานและเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสิ่งที่รู้และสิ่งที่ไม่รู้  จะทำอย่างไรความรู้ทางวิทยาศาสตร์จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด การร่วมประชุมในระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา จะเป็นพลังผลักดันให้ครูวิทยาศาสตร์ต้องตระหนักถึงความสำคัญของวิธีการสอนเพื่อให้นักเรียนนำความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เกิดการคิดอย่างวิทยาศาสตร์(Science Thinking) การกำหนดวิสัยทัศน์(Vision)ของโรงเรียนด้านความรู้ควรที่จะต้องมาก่อนด้านอื่นๆ การพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในสังคมนักวิทยาศาสตร์ศึกษาเป็นสิ่งที่ควรให้เกิดขึ้นในสังคมไทย จะมีวิธีการอย่างไรให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และคุ้มค่าที่สุด การนำเสนอข้อมูลที่หลากหลาย การคิดและวิธีการสอนคิดให้กับนักเรียนจะต้องทำอย่างไร ต่างชาติสอนอย่างไร เราสอนอย่างไร เช่น งานวิจัยที่ครูทำเกิดจากการที่เด็กพบปัญหานั้นจริงๆ และต้องการคำตอบ ไม่ใช่ครูกำหนดเอง การสอนควรเน้นทั้ง Content และเน้น Practice  

 

Science and the Methods can not answer all questionนี่และคือตัวตน ความงดงามและความเป็นจริงของวิทยาศาสตร์ การเรียนรู้จึงเกิดขึ้นจากปัญหา ความอยากรู้อยากเห็น ความสงสัยในปัญหาที่พบ และต้องการคำอธิบาย ต้องการคำตอบ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถเห็นปรากฏการณ์ต่างๆได้ทุกปรากฏการณ์บนโลก ไม่สามารถเก็บข้อมูลจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนแล้ว และเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีความลำเอียงเกิดขึ้นในการสังเกตปรากฏการณ์ ไม่มีอะไร “Sure” และ “Final”  ทำให้สะท้อนให้เห็นว่าบุคคลก็เช่นเดียวกันกับวิทยาศาสตร์ พยายามทำความเข้าใจในสิ่งนั้น อย่ายึดแน่น ถือแน่นกับอะไรมากมายนัก ทำสิ่งปัจจุบันให้ดีที่สุด ไม่มีอะไรดีที่สุด ถูกที่สุด ผ่อนบ้างตึงบ้าง รับสิ่งใหม่เข้ามาบ้าง สิ่งเดิมที่ดีก็เก็บรักษาไว้ ขาดตกบกพร่องตรงไหนก็ปรับปรุงสร้างสรรค์กันไป โลกนี้ก็จะมีแต่ความสงบสุข....

ครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนของไทย จึงน่าที่จะหาโอกาสเข้าร่วม.....

หมายเลขบันทึก: 278116เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2009 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท