ความเรียงหรือเรียงความ


สองคำนี้แท้จริงคือความหมายเดียวกัน

 

ื่อก่อนข้าพเจ้าคือว่าความเรียงกับเรียงความนั้นต่างกัน

        ความจริงแล้ว "ความเรียง" กับ "เรียงความ" คือความหมายเดียวกับ
เพียงแต่ "เรียงความ" จะใช้ในความหมายทางวิชาการในการเขียนเรียงความ
 ส่วน "ความเรียง" จะเป็นภาษาที่เขียนด้วยภาษาพูด

        ศิลปะในการเขียงความเรียงอย่างสร้างสรรค์ อาจจะเริ่มฝึกจากเรื่องราวที่
ใกล้ตัว เรื่องราวที่ประทับใจ ให้แปลกแหวกแนว ใส่ความรู้สึกนึกคิดของเรา
ให้เรื่องราวนั้นประติดประต่อกันอย่างสมเหตุผล และหากเราฝึกฝนจนชำนาญ
เราก็จะสามารถฝึกเขียนเรื่องสั้นให้พัฒนาไปอีกขั้น

       การเขียนที่ดีนั้นเราต้องรู้จักสะสมคำ แบ่งหมวดหมู่ของคำ รู้จักใช้คำ
เน้นสั้น กระชับได้ใจความ รู้จักผูกถ้อยคำให้เป็นเอกลักษณ์ของคน
ที่สำคัญระดับภาษา ต้องใช้ให้ถูกตามโอกาส เสมือนเราแต่งกายไปยังสถานที่ต่าง ๆ
ที่ต้องถูกตามกาละเทศะ

     โวหารที่ใช้ในการเขียนนั้น ต้องเลือกใช้ให้เป็น ไม่ว่าการบรรยาย ใช้ในการอธิบาย
เรื่องราวที่ประจักษ์แก่สายตาอย่างถ้วนถี่ การพรรณนา ใช้อธิบายความรู้สึกของสิ่งที่พบเห็น
เทศนาโวหาร ใช้เพื่อสั่งสอน ชี้แจงเหตุผล และสาธกโวหาร ใช้ยกตัวอย่างประกอบเนื้อเรื่อง
เช่น นิทาน อุทาหรณ์

    ค่ำคืนนี้ขอฝากบทความไว้เพียงนี้ก่อน เนื่องจากพรุ่งนี้ต้องเดินทางไกลเพื่อเชิญ "จั้งซอ"
มาเป็นวิทยากรในการสัมมนาทางวิชาการ ที่ข้าพเจ้าและเพื่อนนักศึกษาร่วมกันจัดในหัวข้อ

"รรณศิลป์สู่วรรณกรรมเพลงซอ ; ความเป็นเอกลักษณ์ของคนเมือง"

ซึ่งข้าพเจ้าจะสรุปเนื้อหาให้ทุกท่านได้อ่าน เมื้อพ้นวันที่ 9 กันยายน 2552
ในราตรีนี้ขอกล่าวคำว่า "ราตรีสวัสดิ์ พบกันอีกวัน"




หมายเลขบันทึก: 277926เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2009 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท