ผู้นำการเปลี่ยนแปลง..กับแรงต้านการเปลี่ยนแปลง


ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

    ผมเขียนเรื่องนี้ลงในโอเคเนชั่นไว้เมื่อปีที่แล้ว
    คิดว่าเรื่องยังไม่ล้าสมัยเกินไป  จึงอยากจะนำ
มาถ่ายทอดใน
Go to know บ้าง ถือว่าเป็นการเปิดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมุมที่กว้างขึ้น
ส่วนท่านใดสนใจข้อเขียนที่เป็นต้นฉบับก็สามารถเข้าไปอ่านได้ที่
http://www.oknation.net/blog/krunoppol/2008/06/22/entry-1

    เมื่อผมเข้ารับการอบรมโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงในปีที่ผ่านมา  สิ่งหนึ่งที่วิทยากรมัก
พูดกับเราเสมอคือ..ท่านผู้นำครับ..ไม่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใดที่จะไม่ถูกการต่อต้าน .............
ฟังดูเหมือนกับจะบอกพวกเราว่าต้องอดทนหรือยอมรับกับสภาพการต่อต้านที่จะเกิดขึ้นเมื่อกลับ
ไปทำงานในโรงเรียน  ในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

      ระยะเวลา 1 ปีในการทำงานภายหลังการอบรม  ผมมีข้อสังเกตอยู่หลายประเด็นอยู่ด้วยกัน
คือ การต่อต้านจะไม่เกิดขึ้นถ้า.....
       1.  เราสร้างความเข้าใจร่วมกันถึงวัตถุประสงค์ของการทำงานในรูปแบบใหม่ หรือการ
เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นว่า มีใครได้รับผลประโยชน์บ้าง...โดยเฉพาะคุณค่าที่เกิดกับการศึกษา
      2.  ออกแบบการเปลี่ยนแปลงให้ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน หรือเพิ่มภาระงานกับเพื่อนร่วมงานจน
มากเกินไป
  
       ประเด็นทั้งสองมองอย่างง่าย ๆ ใช้หลักความจริงที่ว่า...ทำให้เขาเห็นประโยชน์และลด
ภาระงาน  ในขณะที่เกิดผลกำไรจนสามารถมองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม 

       คงไม่สนุกนักหรอก...ถ้าจะต้องเปลี่ยนแปลงองค์กรของตนอย่างไม่รู้ทิศทาง  ท่ามกลาง
ความเหนื่อยยากลำบากครับ....

หมายเลขบันทึก: 276662เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2009 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท