ตัวอย่างบทความประชาสัมพันธ์


รอบ ๆ ตัวเรานั้นล้วนมีแต่ภัยอันตราย ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น เช่น มลพิษในอากาศ จากอุปกรณ์สำนักงานที่ปล่อยสารเคมีฟุ้งกระจายให้คุณสูดเข้าไปพร้อมกับลมหายใจทุก ๆ วันโดยไม่รู้ตัว เช่น สารพิษจากเครื่องถ่ายเอกสาร แฟกซ์ เลเซอร์พรินเตอร์รวมถึงเครื่องมัลติฟังก์ชั่นและอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ ที่ล้วนทำให้เกิดมลพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ทั้งสิ้น

ตัวอย่างบทความเพื่อการประชาสัมพันธ์ เช่น

 

เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยในครรภ์  และตัวท่านเอง

 

 เป็นที่ทราบกันดีว่า  การพัฒนาร่างกายและสมองของทารกในครรภ์จะเป็นไปได้ดีนั้น จำต้องได้รับสารอาหารที่เพียงพอ  โดยเฉพาะในช่วงที่สมองมีการแบ่งตัวของเซลล์และใยสมอง  หากทารกขาดสารอาหารที่จำเป็นบางชนิดก็อาจทำให้เติบโตได้ไม่เต็มที่หรือเกิดการบกพร่องทางการเรียนรู้  และเช่นเดียวกัน  หากได้รับสิ่งแปลกปลอม  สารเคมีที่เป็นพิษก็อาจมีความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะมีปัญหาด้านพัฒนาการของสมองด้วย  และคงไม่มีใครปฏิเสธว่า  รอบ  ๆ  ตัวเรานั้นล้วนมีแต่ภัยอันตราย         ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น   เช่น  มลพิษในอากาศ   จากอุปกรณ์สำนักงานที่ปล่อยสารเคมีฟุ้งกระจายให้คุณสูดเข้าไปพร้อมกับลมหายใจทุก ๆ วันโดยไม่รู้ตัว  เช่น  สารพิษจากเครื่องถ่ายเอกสาร  แฟกซ์    เลเซอร์พรินเตอร์รวมถึงเครื่องมัลติฟังก์ชั่นและอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ  ที่ล้วนทำให้เกิดมลพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ทั้งสิ้น

สารพิษจากเครื่องใช้สำนักงานใกล้ตัว

ทุกวันนี้คุณอาจได้รับสารพิษจากอุปกรณ์สำนักงานหลายชนิดโดยไม่รู้ตัว  เช่น  ตะกั่ว  ที่เป็นส่วนประกอบในแผงวงจร  สายสัญญาณ  และการบัดกรี  ทราบไหมว่าอันตรายอย่างยิ่งนั้นเกิดขึ้นได้เมื่อคุณรับสารตะกั่วเข้าไปในร่างกาย  เพราะจำทำให้เกิดความผิดปกติที่ร้ายแรงสำหรับแม่ตั้งครรภ์คือทำให้ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อปัญหาด้านพัฒนาการของสมอง  เกิดความผิดปกติในการเรียนรู้และพฤติกรรม  ความผิดปกติในการสรร้างเม็ดเลือดและระบบปัสสาวะ  และอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคทางระบบประสาทได้

ปัจจุบันแคนนอนยกเลิกการใช้ตะกั่ว  (Hazardous Substance Elimination   Initiatives) ในแผงวงจร  สายสัญญาณและในการบัดกรีอย่างที่ใช้ในเครื่องสำนักงานทั่วไป  จึงลดอันตรายจากตะกั่วต่อผู้ใช้

อันตรายที่ไม่คาดคิดอีกประการหนึ่งจากเครื่องถ่ายเอกสาร  ก็คือการที่เครื่องใช้สำนักงานใช้สารโครเมียมเคลือบผิวโลหะที่เป็นส่วนประกอบ  หากคนเราหายใจเอาสารโครเมียมเข้าไปอาจทำให้เป็นมะเร็งในปอด  ตับและไตทำงานผิดปกติเกิดการระคายเคืองตาและผิวหนัง  เป็นมะเร็งโพรงจมูก

แคนนอนอุปกรณ์สำนักงานปลอดโครเมียม  (Chromium - Free Steel  Plates)  โดยใช้แผ่นเหล็กที่ปราศจากโครเมียมเป็นวัสดุพื้นฐานในการผลิตแผ่นโลหะที่ใช้ในเครื่องถ่ายเอกสาร  ช่วยป้องกันและลดอันตรายในการเกิดโรคดังกล่าว

เครื่องเลเซอร์พรินเตอร์  เป็นระบบการพิมพ์ที่ทำให้เกิด  โอโซนที่เป็นพิษ  ฟุ้งกระจายในอากาศอันเป็นผลจากการทำงานด้วยแสงเลเซอร์และทำให้เกิดโรคระบบการหายใจ  และลำคอเกิดการระคายเคือง  มีอาการเจ็บหน้าอก  ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง  ทำให้เนื้อเยื่อปอดเสียหายอย่างถาวร  และในผู้ที่เป็นโรคหอบหือจะทำให้อาการกำเริบมากขึ้น

แคนนอนมีเทคโนโลยีระบบการพิมพ์ด้วยเลเซอร์ที่สามารถป้องกันการก่อตัวของโอโซที่เป็นพิษในอากาศ  (Ozone  - Free  Electrical  Charging)  ให้เหลือเพียง 1 ใน 1,000  ของที่เกิดจากเครื่องพิมพ์เลเซอร์ทั่วไป  โดยที่แคนนอนเริ่มใช้เทคโนโลยีนี้มาตั้งแต่ปี 1989 ช่วยลดอันตรายต่าง ๆ  กับร่างกาย

โดยทั่วไปเรามักจะพบเจอกับสารพิษเหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  แต่เราสามารถ

ป้องกันตัวเองในเบื้องต้นได้ด้วยการ....

     ปรับสภาพแวดล้อมเพื่อช่วยให้ระบบไหลเวียนอากาศดี

 ใช้เครื่องใช้สำนักงานอย่างถูกวิธีถูกประเภทและทำตามคำแนะนำในคู่มืออย่างเคร่งครัด

เพื่อความปลอดภัยควรเลือกใช้อุปกรณ์สำนักงานที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ใช้  ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ห่วงใยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากแคนนอน  แคนนอนพัฒนาและผลิตเครื่องใช้สำนักงานที่ติดตั้งเทคโนโลยีลิขสิทธิ์ที่ไม่เป็นอันตรายสำหรับผู้ใช้โดยเฉพาะด้านสุขภาพและรวมถึงการรักษาทรัพยากรโลก  โดยลดการใช้สารเคมีที่เป็นพิษอย่างต่อเนื่อง  มีการลดปริมาณของเสียให้ต่ำที่สุดในกระบวนการผลิต  จึงช่วยป้องกันมลภาวะที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม  อีกทั้งมีการออกแบบเพื่อการใช้งานที่ง่ายและครอบคลุมทุกความต้องการในการทำงาน

ด้วยปรัชญาการมีชีวิตและทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม  (Kyosei - เคียวเซ)  ที่แคนนอนเริ่มนำมาปรับใช้ให้เข้ากับองค์กรตั้งแต่ปี  ค.ศ. 1988  โดยมุ่งหวังที่จะสร้างสรรค์สังคมที่อยู่  ร่วมกันโดยไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม  ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน  กำจัดการใช้อุปกรณ์ที่มีสารพิษเป็นส่วนประกอบ  คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ  โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก  สนับสนุนให้มีการผลิตชิ้นส่วนที่นำกลับมาใช้ใหม่  เพื่อสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่ให้ความสุขกับทุกคน  ทำให้แคนนอนได้รับรางวัลระดับโลกรับรองความปลอดภัย  ถึง 14 รางวัล  จึงเป็นที่เชื่อมั่นและไว้วางใจในประสิทธิภาพ

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ พร้อมรับรายละเอียดผลิตภัณฑ์ได้ที่ โทร 0-2344-9991-9 9 ต่อ ส่วนออฟฟิศ ซิสเตม โซลูชั่น (รักลูก, 2546, หน้า 12 - 13)

สรุป

บทความเป็นความเรียงที่ประกอบด้วยความรู้และความคิดเห็น ที่นักประชาสัมพันธ์สามารถใช้เขียนเพื่อสื่อสารเชื่อมโยงหน่วยงาน องค์กรและสถาบัน ให้เข้ากันได้ดีกับกลุ่มประชาชนเป้าหมาย

ลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างบทความเพื่อการประชาสัมพันธ์กับข่าวแจก ได้แก่ โครงสร้างของการเขียน ความมุ่งหมายของการเขียน เนื้อเรื่อง และวิธีการเขียน

บทความเพื่อการประชาสัมพันธ์แบ่งออกอย่างกว้าง ๆ ได้ 2 ประเภท คือ บทความประชาสัมพันธ์เชิงสาระ และบทความประชาสัมพันธ์เชิงปกิณกะ ถ้าแบ่งตามลักษณะเนื้อหา อาจแบ่งได้เป็น 11 ประเภท ได้แก่ บทความแสดงความคิดเห็นทั่วไป บทความสัมภาษณ์ บทความวิเคราะห์ บทความวิจารณ์ บทความท่องเที่ยว บทความกึ่งชีวประวัติ บทความรอบปี บทความประเภทแนะนำ บทความเชิงธรรมะ บทความวิชาการ และบทความประเภทให้แง่คิด

การเขียนบทความเพื่อการประชาสัมพันธ์มีขั้นตอนการดำเนินการ 7 ขั้นตอน ได้แก่ การเลือกเรื่องที่จะเขียน กำหนดจุดมุ่งหมายในการเขียน กำหนดแนวคิด ประเด็นสำคัญหรือแก่นเรื่อง ประมวลความรู้ความคิด วางโครงเรื่อง การเขียน และการตรวจทาน

โครงสร้างบทความเพื่อการประชาสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ ชื่อเรื่อง  คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป

วิธีการตั้งชื่อบทความมีหลายแบบ ได้แก่ ตั้งชื่อเรื่องตามเนื้อหาสาระ ตั้งชื่อเรื่องเป็นคำถาม ตั้งชื่อเรื่องโดยใช้คำที่มีความหมายขัดแย้ง ตั้งชื่อเรื่องโดยใช้คำพังเพย สุภาษิต คำคล้องจอง และตั้งชื่อเรื่องทำนองชักชวนให้ปฏิบัติตาม

วิธีการเขียนคำนำมีหลายแบบ ได้แก่ นำด้วยข่าว นำด้วยการอธิบาย นำด้วยการเสนอความคิดเห็น นำด้วยการใช้คำที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจ นำด้วยการบอกความสำคัญ นำด้วยการประชดประชันหรือเสียดสี นำด้วยคำถาม นำด้วยการสรุปใจความสำคัญของเรื่อง และนำด้วยสุภาษิต คำคม บทกวี

การเขียนเนื้อเรื่องควรคำนึงถึงการใช้ถ้อยคำ ตัวสะกดที่ถูกต้อง ใช้สำนวนโวหารให้เหมาะสม และมีข้อมูล เหตุผลอ้างอิง การใช้ภาษาในการเขียนบทความควรพิจารณาใน 3 ส่วน ได้แก่ ระดับภาษา โวหาร และภาพพจน์ บทความเพื่อการประชาสัมพันธ์ที่ดีควรมีลักษณะ 4 ประการ ได้แก่ มีเอกภาพ มีสารัตถภาพ มีสัมพันธภาพ  และมีความสมบูรณ์

การเขียนสรุปมีหลายแบบ ได้แก่ สรุปด้วยคำถามที่ชวนให้ผู้อื่นคิดหาคำตอบ สรุปด้วยการแสดงความประสงค์ของผู้เขียน สรุปด้วยใจความสำคัญ สรุปด้วยการใช้คำกล่าว คำคม บทกวี และสรุปด้วยการเล่นคำ

คำสำคัญ (Tags): #การเขียน
หมายเลขบันทึก: 276417เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2009 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท