ธรรมะคือคุณากร


 

การกระทำมิว่าเป็นทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ ที่มีจุดมุ่งหมายไว้เพื่อทำความดี เพื่อเป็นการเสียสละ การกระทำเหล่านั้นคือ “ธรรมะ”

การกระทำที่เป็น “ธรรมะ” คือ
การกระทำที่ทำแล้ว “ดี” ตั้งแต่เริ่มต้น คือ ดีตั้งแต่คิด
เป็นการกระทำที่ทำแล้ว “ดี” ในท่ามกลาง คือ ดีในระหว่างการกระทำ
และเป็นการกระทำที่ทำแล้ว “ดี” ในเบื้องปลาย คือ ครั้นเมื่อทำเสร็จแล้วความดีนั้นก็ยังมิจางคลาย

ดังนั้นจึงกล่าวได้ในความหมายแห่งคำว่า “ธรรมะคือคุณากร”
“คุณากร” จึงหมายถึง  ที่รวมแห่งการกระทำความดี เป็นแห่ง เป็นแหล่งรวมของผู้ที่ประกอบด้วยความดีทั้งปวง

การกระทำใดที่ “ดี” แล้วจงทำเถิด
การกระทำนั้นย่อมดีเลิศในเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลาย

การกระทำใดที่ “ชั่ว” แล้วจงหยุดเถิด
เพราะการกระทำนั้นย่อมส่งผลชั่วเปรียบระเบิด นับเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลาย

การปฏิบัติธรรมนั้นจึงได้แก่ “การทำความดี” คิดดี พูดดี ทำดี
การปฏิบัติธรรมนั้นจึงสามารถกระทำได้ในทุกที่ ทุกเวลา

การกระทำใดดีแล้วนั้นคือ “ธรรมะ”
การพูดสิ่งใดดีแล้วนั้นคือ “ธรรมะ”
การคิดสิ่งใดที่แล้วนั้นคือ “ธรรมะ”
สิ่งใดที่คิดชอบ พูดชอบ ทำชอบย่อมประกอบไปด้วย “ธรรม...”

อยู่บ้านก็เป็นพ่อที่ดี แม่ที่ดี ลูกที่ดี
อยู่ที่ทำงานก็เป็นหัวหน้าที่ดี ลูกน้องที่ดี เพื่อนร่วมงานที่ดี
อยู่ในสังคมก็เป็นคนดี สมาชิกที่ดี
ทำหน้าที่ใด ณ เวลาใด ก็เป็นคนดีในหน้าที่นั้น ณ เวลานั้น
การคิดดี พูดดี ทำดีย่อมหลอม ย่อมรวม เป็น “พลัง” สามารถสร้างสรรค์ชีวิตนี้ให้สวยงาม...


คำสำคัญ (Tags): #คุณากร
หมายเลขบันทึก: 275317เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2009 07:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การกระทำที่เป็น “ธรรมะ” อีกอย่างที่สำคัญ ที่สังเกตุ คือ การสามารถมองเห็นความงามจากสิ่งที่ไม่งามได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท