การดูแลด้านอาหาร


การคัดกรอง

ชุมชนนักปฏิบัติกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีได้ร่วมกิจกรรมการ    

จัดการความรู้ เรื่อง อาหารในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2552 ความสำคัญของประเด็น ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการอืดแน่นท้อง มีสาเหตุมาจากตับสูญเสียหน้าที่ การทำงานในการผลิตอัลบูมิน ลดลง ทำให้น้ำที่อยู่ระหว่างเซลในช่องท้องไม่ได้ถูกดึงเข้ากระแสเลือด และเพิ่มปริมาณมากขึ้น นอกจากนี้ ก้อนเนื้องอกที่อยู่ในช่องท้องที่ไม่มีขอบเขตมาจำกัด ลดปริมาตรในช่องท้อง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการอืดแน่นท้อง การใช้ยาเป็นเพียงการบรรเทาอาการ แต่ไม่สามารถแก้ไขสาเหตุได้ หากแพทย์เจาะน้ำออกจากช่องท้อง ผู้ป่วยจะสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว และร่างกายจะผลิตน้ำเข้ามาแทนที่น้ำที่ถูกดูดออกไป ผู้ป่วยจะเกิดภาวะขาดสารอาหาร การทดแทนด้านอาหารก็ต้องมีวิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับอาหารอย่างพอเพียง ชุมชนนักปฏิบัติจึงได้หารือกันดังนี้

1. การใช้แบบคัดกรองภาวะโภชนาการในผู้ป่วยผู้ใหญ่ จะทำให้เห็นปัญหาชัดเจนขึ้นและใช้กิจกรรมบำบัดทางการพยาบาลที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่ม

2. การให้ข้อมูลด้านอาหารแก่ผู้ป่วย ต้องทบทวนความเข้าใจของผู้ป่วยด้วยทุกครั้ง

3. ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นท้องแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ไม่มีความอยากอาหาร อีกกลุ่มเป็นกลุ่มที่มีความอยากอาหาร แต่กินอาหารไม่ได้

4. กิจกรรมการพยาบาลด้านโภชนาการ

-ประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วย

-แนะนำญาติให้จัดหาอาหารที่ผู้ป่วยชอบมาเพิ่ม

-เสนอทางเลือกอาหารแก่ผู้ป่วยทั้งรายการอาหารและอาหารเสริม

-ให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการเลือกอาหาร

-ให้ญาติ/ผู้ดูแลที่รู้ใจอยู่ร่วมเวลาอาหาร

-ปรับวิธีคิดหรือวิธีกินให้เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย

- ควรสำรองยาขับลมร่วมกับให้คำแนะนำผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน

-ปรึกษาแพทย์ในรายที่ขาดอาหารรุนแรงมาก

 

คำสำคัญ (Tags): #การคัดกรอง
หมายเลขบันทึก: 275267เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2009 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท