สมรรถนะ (Competency)


สมรรถนะคืออะไร

 

สมรรถนะ ( Competency) 

 

Competency  คือ  อะไร

             

                    นักวิชาการที่ศึกษาเรื่อง Competency มักให้คำจำกัดความที่แตกต่างกันเช่น บางท่านแปลว่า ขีดความสามารถ บางท่านแปลว่า สมรรถนะ หรือบางท่านแปลว่า ศักยภาพ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม นักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มักจะอ้างอิงถึงความหมายหรือคำนิยามของ David C. McClelland ที่กล่าวว่า Competency  คือ บุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายใต้ปัจเจกบุคคล ซึ่งสามารถผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้น สร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีหรือตามเกณฑ์ที่กำหนด ในงานที่ตนรับผิดชอบ ความสามารถตามกรอบแนวคิดเรื่องขีดความสามารถ ซึ่งสามารถอธิบายได้ตามแผนภาพโมเดลภูเขาน้ำแข็ง  แสดงเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการของ Competency

(ประจักษ์ ทรัพย์อุดม www.mea.or.th/internet/hdd/4.doc)

                    กีรติ  ยศยิ่งยง.( 2549  :  3)  สรุปตามแนวของธำรงศักดิ์  คงคาสวัสดิ์ ว่า ขีดความสามารถ  หรือ  Competency จะแฝงอยู่ในทุกกิจกรรมของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ  เพียงแต่ไม่ได้วิเคราะห์  จัดหมวดหมู่และนำมาใช้อย่างเป็นระบบเท่านั้นเอง

  ทนง  ทองเต็ม (http://www.hrcenter.co.th/HRKnowView.asp?id=650) กล่าวว่า

    ในช่วงระยะหลังของโลกการบริหารจัดการ จะเห็นได้ว่ามีนักวิชาการ และนักบริหารจำนวนมาก ได้ให้ความสนใจกับเรื่องของ Competency ซึ่ง ถ้อยคำในภาษาไทยนั้น ใช้กันแตกต่าง มากมาย เช่น  ความสามารถ  ขีดความสามารถ  สมรรถนะ  ศักยภาพ  สมรรถวิสัย  ประสบการณ์ความชำนาญ  คุณสมบัติที่เหมาะสม ฯลฯ

                Competency  มีความหมายตามพจนานุกรมว่า  ความสามารถ  หรือสมรรถนะ ในภาษาอังกฤษมีคำที่มีความหมายคล้ายกันอยู่หลายคำ  ได้แก่ capability, ability, proficiency, expertise, skill, fitness, aptitude  โดยสำนักงาน  ก.พ.  ใช้ภาษาไทยว่า สมรรถนะ  แต่ในบางองค์การใช้คำว่า ความสามารถ   ดังนั้น  เพื่อให้เข้าใจตรงกันในบทความนี้จึงขอใช้คำว่า Competency / สมรรถนะ  ( รัชนีวรรณ  วนิชย์ถนอม      http://president.swu.ac.th/

content/e925/e1066/e1068/competency.doc)

                 อานนท์  ศักดิ์วรวิชญ์ (2547 : 61) ได้สรุปคำนิยามของสมรรถนะไว้ว่า  สมรรถนะ คือ  คุณลักษณะของบุคคล  ซึ่งได้แก่  ความรู้  ทักษะ  ความสามารถ  และคุณสมบัติต่าง ๆ   อันได้แก่  ค่านิยม  จริยธรรม  บุคลิกภาพ  คุณลักษณะทางกายภาพ  และอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นและสอดคล้องกับความเหมาะสมกับองค์การ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องสามารถจำแนกได้ว่าผู้ที่จะประสบความสำเร็จ

2

 

ในการทำงานได้ต้องมีคุณลักษณะเด่น ๆ อะไร  หรือลักษณะสำคัญ ๆ อะไรบ้าง  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  สาเหตุที่ทำงานแล้วไม่ประสบความสำเร็จ  เพราะขาดคุณลักษณะบางประการคืออะไร  เป็นต้น

                         จากที่กล่าวมาข้างต้นอาจสรุปได้ว่า  สมรรถนะ  เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลที่มีผลทำให้บุคคลนั้นปฏิบัติงานในความรับผิดชอบของตนได้ดีส่งผลให้องค์การพัฒนาขึ้น

 

ความเป็นมา

 

                แนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะเริ่มจากการนำเสนอบทความทางวิชาการของเดวิด  แมคเคิลแลนด์ (David C. McClelland) นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาววาร์ดเมื่อปี ค.ศ.1960ซึ่งกล่าวถึง  ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะที่ดีของบุคคล(excellent performer) ในองค์การกับระดับทักษะความรู้  ความสามารถ  โดยกล่าวว่า  การวัด IQ  และการทดสอบบุคลิกภาพ  ยังไม่เหมาะสมในการทำนายความสามารถ  หรือสมรรถนะของบุคคลได้  เพราะไม่ได้สะท้อนความสามารถที่แท้จริงออกมาได้

                ในปี ค.ศ.1970  US State Department  ได้ติดต่อบริษัท McBer ซึ่งแมคเคิลแลนด์เป็นผู้บริหารอยู่  เพื่อให้หาเครื่องมือชนิดใหม่ที่สามารถทำนายผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ได้อย่างแม่นยำ  แทนแบบทดสอบเก่า  ซึ่งไม่สัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงาน  เนื่องจากคนได้คะแนนดีแต่ปฏิบัติงานไม่ประสบผลสำเร็จ  จึงต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการใหม่  แมคเคิลแลนด์ได้เขียนบทความ “Testing  for  competence  rather  than  for  intelligence”  ในวารสาร  American  Psychologist  เพื่อเผยแพร่แนวคิดและสร้างแบบประเมินแบบใหม่ที่เรียกว่า  Behavioral  Event  Interview (BEI) เป็นเครื่องมือประเมินที่ค้นหาผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานดี  ซึ่งแมคเคิลแลนด์  เรียกว่า  สมรรถนะ (Competency)

                ในปี ค.ศ.1982  ริชาร์ด  โบยาตซิส (Richard  Boyatzis) ได้เขียนหนังสือชื่อ  The  Competen  Manager  :  A  Model  of  Effective  Performance  และได้นิยามคำว่า  competencies  เป็นความสามารถในงานหรือเป็นคุณลักษณะที่อยู่ภายในบุคคลที่นำไปสู่การปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ

                ปี ค.ศ.1994  แกรีแฮเมลและซีเค.พราฮาราด (Gary Hamel  และ C.K.Prahalad) ได้เขียนหนังสือชื่อ  Competing for The  Future ซึ่งได้นำเสนอแนวคิดที่สำคัญ  คือ  Core  Competencies  เป็นความสามารถหลักของธุรกิจ  ซึ่งถือว่าในการประกอบธุรกิจนั้นจะต้องมีเนื้อหาสาระหลัก 

 

3

 

เช่น  พื้นฐานความรู้  ทักษะ  และความสามารถในการทำงานอะไรได้บ้าง   และอยู่ในระดับใด  จึงทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุดตรงตามความต้องการขององค์การ

                ในปัจจุบันองค์การของเอกชนชั้นนำได้นำแนวคิดสมรรถนะไปใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานมากขึ้น  และยอมรับว่าเป็นเครื่องมือสมัยใหม่ที่องค์การต้องได้รับความพึงพอใจอยู่ในระดับต้น ๆ มีการสำรวจพบว่ามี 708 บริษัททั่วโลก  นำ Core  Competency  เป็น 1 ใน 25 เครื่องมือที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ  3 รองจาก Coporate Code of Ethics  และ  Strategic Planning (พสุ  เดชะรินทร์  2546 : 13)  แสดงว่า Core  competency  จะมีบทบาทสำคัญที่จะเข้าไปช่วยให้งานบริหารประสบความสำเร็จ  จึงมีผู้สนใจศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการนำหลักการของสมรรถนะมาปรับให้เพิ่มมากขึ้น

                หน่วยงานของรัฐและเอกชนของไทยหลายหน่วยงานได้ให้ความสนใจนำมาใช้เช่น  บริษัทปูนซีเมนต์ไทย  ปตท.  และสำนักงานข้าราชการพลเรือน  เป็นต้น (เทื้อน  ทองแก้ว http://dusithost.dusit.ac.th/~ei/tuan/file21122005046.doc)

 

องค์ประกอบของสมรรถนะ

 

                หลักตามแนวคิดของแมคเคิลแลนด์มี 5 ส่วนคือ

                1.  ความรู้ (knowledge) คือ  ความรู้เฉพาะในเรื่องที่ต้องรู้  เป็นความรู้ที่เป็นสาระสำคัญ  เช่น  ความรู้ด้านเครื่องยนต์  เป็นต้น

                2.  ทักษะ (skill) คือ  สิ่งที่ต้องการให้ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เช่น  ทักษะทางคอมพิวเตอร์  ทักษะทางการถ่ายทอดความรู้  เป็นต้น  ทักษะที่เกิดได้นั้นมาจากพื้นฐานทางความรู้ และสามารถปฏิบัติได้อย่างแคล่วคล่องว่องไว

                3.   ความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง (self – concept) คือ  เจตคติ  ค่านิยม  และความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตน  หรือสิ่งที่บุคคลเชื่อว่าตนเองเป็น  เช่น  ความมั่นใจในตนเอง  เป็นต้น

                4.   บุคลิกลักษณะประจำตัวของบุคคล (traits) เป็นสิ่งที่อธิบายถึงบุคคลนั้น  เช่น  คนที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจได้  หรือมีลักษณะเป็นผู้นำ  เป็นต้น

                5.   แรงจูงใจ / เจตคติ (motives / attitude) เป็นแรงจูงใจ หรือแรงขับภายใน   ซึ่งทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมที่มุ่งไปสู่เป้าหมาย  หรือมุ่งสู่ความสำเร็จ  เป็นต้น

               

 

 

4

 

ทั้ง 5 ส่วนดังกล่าวข้างต้นแสดงความสัมพันธ์ในเชิงอธิบายเปรียบเทียบดังภาพ

 

Skill

Knowledge

Self-concept

Trait

Motives /

Attitude

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                           ภาพที่ 1 Iceberg Model ของสมรรถนะ

 

 


จากภาพจะพบว่า  skill  และ knowledge อยู่ส่วนบน  หมายถึงว่า  ทั้ง skill  และ knowledge สามารถพัฒนาขึ้นได้ไม่ยาก  จะโดยวิธีการศึกษาค้นคว้า หรือประสบการณ์ตรง   และมีการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ

                จากแนวคิดของแมคเคิลแลนด์นั้นสกอตด์ บี พารี เห็นควรจะรวมส่วนประกอบที่เป็นความคิดเกี่ยวกับตนเอง  คุณลักษณะและแรงจูงใจเข้าเป็นกลุ่มเรียกว่า  คุณลักษณะ (attributes)

                ดังนั้นบางครั้งเมื่อพูดถึงองค์ประกอบของสมรรถนะจึงมีเพียง 3 ส่วนคือ  ความรู้  ทักษะ  คุณลักษณะ  ซึ่งตามทัศนะของแมคเคิลแลนด์กล่าวว่า (สุกัญญา  รัศมีธรรมโชติ 2004 : 48)  สมรรถนะเป็นส่วนประกอบขึ้นมาจากความรู้  ทักษะ  และเจตคติ / แรงจูงใจ  หรือ  ความรู้  ทักษะ  และเจตคติ  / แรงจูงใจ  ก่อให้เกิดสมรรถนะ  ดังภาพที่ 2

สมรรถนะ

A            B

ความรู้  ทักษะ  เจตคติ

ขั้นพื้นฐาน

ทำให้บุคคลต่างกัน

 

 

 

 

 


ภาพที่ 2  สมรรถนะเป็นส่วนประกอบที่เกิดขึ้นมาจากความรู้  ทักษะ  เจตคติ

5

 

                จากภาพ  ความรู้  ทักษะ  และเจตคติไม่ใช่สมรรถนะแต่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดสมรรถนะ

                ดังนั้นความรู้โดด ๆ จะไม่เป็นสมรรถนะ  แต่ถ้าเป็นความรู้ที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดกิจกรรมจนประสบความสำเร็จถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสมรรถนะ  สมรรถนะในทีนี้จึงหมายถึงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดผลงานสูงสุดนั้น  ตัวอย่างเช่น  ความรู้ในการขับรถ  ถือว่าเป็นความรู้  แต่ถ้านำความรู้มาทำหน้าที่เป็นผู้สอนขับรถ  และมีรายได้จากส่วนนี้  ถือว่าเป็นสมรรถนะ

                ในทำนองเดียวกัน  ความสามารถในการก่อสร้างบ้านถือว่าเป็นทักษะ  แต่ความสามารถในการสร้างบ้านและนำเสนอให้เกิดความแตกต่างจากคู่แข่ง  ได้ถือว่าเป็นสมรรถนะ

                หรือในกรณีเจตคติ / แรงจูงใจก็เช่นเดียวกันก็ไม่ใช่สมรรถนะ  แต่สิ่งจูงใจให้เกิดพลังทำงานสำเร็จตรงตามเวลาหรือเรียกว่ากำหนด หรือดีกว่ามาตรฐานถือว่าเป็นสมรรถนะ 

                สมรรถนะตามนัยดังกล่าวข้างต้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ

                1.  สมรรถนะขั้นพื้นฐาน (Threshold Competencies) 

                     หมายถึง  ความรู้  หรือ  ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นของบุคคลที่ต้องมีเพื่อให้สามารถที่จะทำงานที่สูงกว่า หรือ ซับซ้อนกว่าได้  เช่น  สมรรถนะในการพูด  การเขียน  เป็นต้น 

                2.  สมรรถนะที่ทำให้เกิดความแตกต่าง (Differentiating Competencies)

                     หมายถึง  ปัจจัยที่ทำให้บุคคลมีผลการทำงานที่ดีกว่าหรือสูงกว่ามาตรฐาน  สูงกว่าคนทั่วไปจึงทำให้เกิดผลสำเร็จที่แตกต่างกัน

 

ประเภทของสมรรถนะ

 

                สมรรถนะสามารถจำแนกได้เป็น 5 ประเภทคือ

                1.   สมรรถนะส่วนบุคคล (Personal Competencies)

                      หมายถึง  สมรรถนะที่แต่ละคนมี  เป็นความสามารถเฉพาะตัว  คนอื่นไม่สามารถลอกเลียนแบบได้   เช่น  การต่อสู้ป้องกันตัวของ  จา  พนม  นักแสดงชื่อดังในหนังเรื่อง ต้มยำกุ้ง   ความสามารถของนักดนตรี  นักกายกรรม  และนักกีฬา  เป็นต้น  ลักษณะเหล่านี้ยากที่จะเลียนแบบ  หรือต้องมีความพยายามสูงมาก

                2.   สมรรถนะเฉพาะงาน  (Job  Competencies)

                      หมายถึง  สมรรถนะของบุคคลกับการทำงานในตำแหน่ง  หรือบทบาทเฉพาะตัว  เช่น  อาชีพนักสำรวจ  ก็ต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ตัวเลข  การคิดคำนวณ  ความสามารถในการทำบัญชี  เป็นต้น 

                3.   สมรรถนะองค์การ (Organization  Competencies) 

                     

หมายเลขบันทึก: 275187เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2009 17:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท