รายวิชาการใช้ห้องสมุด


เอกสารประกอบการเรียน

    

(อธิบายวิธีการยืม-คืนและลงทะเบียนหนังสือ)

 

ก่อนที่จะลงมือสอนในรายวิชาใดก็ตามสิ่งแรกที่ควรทำคือต้องศึกษาคำอธิบายรายวิชา แต่ที่สำคัญนั้นคำอธิบายรายวิชาไม่ได้ปรากฎอยู่ในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ จึงต้องจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  โดยการจัดทำหน่วยการเรียนรู้ ดังนี้

     ๑. กำหนดชื่อหน่วยการเรียนรู้เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงสาระสำคัญแต่ละหน่วย

     ๒. กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น เพื่อระบุมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่เป็นเป้าหมาย การพัฒนานักเรียนของหน่วยนั้นๆ

     ๓. กำหนดสาระสำคัญของหน่วยการเรียนรู้ (สาระหลัก :ทักษะ/กระบวนการ)  นักเรียนต้องรู้และปฏิบัติอะไรได้

     ๔. กระบวนการเรียนรู้ เป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้นักเรียนเกิดการพัฒนา มีความรู้และทักษะตามมาตรฐานที่กำหนดไว้แต่ละหน่วยรวมทั้งการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม ประกอบด้วย

          ๔.๑  กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน กระตุ้นความสนใจของนักเรียน

          ๔.๒  กิจกรรมการเรียนรู้ ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความร้และทักษะ

          ๔.๓ กิจกรรมรวบยอด เพื่อแสดงว่านักเรียนได้เรียนรู้และพัฒนาตามมาตรฐานที่กำหนดไว้

     ๕.  ชิ้นงาน/ภาระงาน ซึ่งครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดขึ้น แสดงให้ทราบถึงการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน บอกร่องรอยว่ามีความรู้และทักษะตามมาตรฐาน

     ๖. การประเมินผล การกำหนดเกณฑ์การประเมิน  Rubric Assessment  หมายถึงแนวทางในการให้คะแนน ซึ่งสามารถจะแยกแยะระดับต่างๆของความสำเร็จในการเรียน หรือการปฏิบัติของนักเรียนได้อย่างชัดเจนจากดีมาก ไปจนถึงต้องปรับปรุงหรือแก้ไข การกำหนดเกณฑ์การประเมินนั้น ครูและนักเรียนจะกำหนดเกณฑ์การประเมินด้วยกันซึ่งจะทำให้เสร็จก่อนที่นักเรียนจะได้ลงมือปฏิบัติชิ้นงาน

      ๗.  กำหนดเวลาเรียน โดยระบุเวลาที่ใช้ตามจริงในหน่วยนั้นๆ

การออกแบบย้อนกลับจะมี  ๓ ขั้นตอนดังนี้คือ

     ขั้นตอนที่ ๑ การกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์

          * ผู้เรียนควรรู้อะไร  ควรมีความเข้าใจในเรื่องใด

          * ควรทำอะไรได้บ้าง

          * อะไรที่ควรค่าแก่การเรียนรู้

          * ควรมีความเข้าใจที่ยั่งยืนอะไรบ้าง

     ขั้นตอนที่ ๒ การกำหนดหลักฐานของการเรียนรู้ที่เป็นที่ยอมรับได้

          * หลักฐานบ่งชี้ว่า ผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนดไว้

          *ด้วยวิธีการประเมินที่หลากหลายและต่อเนื่อง

     ขั้นตอนที่ ๓ การวางแผนการเรียนการสอน(เป้าหมายการเรียนรู้/หลักฐานที่เป็นรูปธรรม)

การประยุกต์Backward  Design

     * กำหนดหน่วยการเรียนรู้

     * กำหนดความคิดรวบยอด

     * กำหนดความเข้าใจที่คงทน

     * วิเคราะห์ กำหนดความรู้และทักษะ

     * ระบุมาตรฐานการจัดการเรียนรู้

     * ระบุทักษะคร่อมวิชา

     * กำหนดร่องรอยการเรียนรู้

     * ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้

ทั้งหมดที่เขียนมานี้ได้รับความรู้มาจาก ศน.สพท.ปราจีนบุรีเขต๒  แล้วจะมาเขียนต่ออีก  เพื่อมีผู้อ่านที่สนใจ ไว้เรียนต่อในวันหน้า...

 

 

ณ ห้องสมุดโรงเรียนกบินทร์วิทยา  สพท.ปราจีนบุรี  เขต๒

หมายเลขบันทึก: 275099เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2009 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2018 12:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หนูเป็นครูบรรณารักษ์เพิ่งจบใหม่และโรงเรียนให้ทำหลักสูตรเกี่ยวกับวิชาห้องสมุด หนูไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย ถ้าหนูจะรบกวนขอหลักสูตรวิชาห้องสมุดของอาจารย์มาดูเป็นแนวได้ไหมค่ะ ถ้าได้รบกวนอาจารย์ส่งให้ตาม E-Mail ของหนูนะค่ะขอบคุณมากค่ะ

หนูเป็นครูบรรณารักษ์บรรจุใหม่และโรงเรียนให้ทำหลักสูตรเกี่ยวกับวิชาห้องสมุด ถ้าหนูจะรบกวนขอหลักสูตรวิชาห้องสมุดของอาจารย์มาดูเป็นแนวได้ไหมค่ะ ถ้าได้รบกวนอาจารย์ส่งให้ตาม E-Mail ของหนูนะค่ะขอบคุณมากค่ะ

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท