ถ้าครู...จะทำงานแบบบูรณาการ


บูรณาการ INTEGRATION

 ผ่านไปแล้ว 2  เดือน ของปี 2549  ผมจำได้ว่าผม  อวยพรปีใหม่ ว่าความวุ่นวายสับสน  ความเหนื่อยยาก สิ่งไม่ดี กำลังผ่านไปกับปีเก่า  สิ่งดีๆ กำลังมากับปีใหม่ แล้วก็มาจริงๆ      (ก็การประเมินวิทยฐานะ   3,500  ไง)  ถึงแม้จะมีความวุ่นวายทางการเมืองมากวนใจบ้างในช่วงนี้     ก็ปล่อยให้เขาวุ่นวายกันไป   สำหรับครูเราก็ติดตาม   ศึกษา วิเคราะห์  อย่างมีสติ  แต่อย่าไปเครียดกับเขาจนลืมภารกิจหลักของเราเสียก็แล้วกัน นี่ก็ใกล้จะสอบปลายปีการศึกษากันแล้ว   เดือนนี้เลยขออนุญาตนำสาระมาฝากให้อ่านกันเล่นๆ  (ไม่รู้จะทำให้เครียดไปใหญ่หรือปล่าก็ไม่รู้)   ลองดู....

 ในช่วงที่ผ่านมาเรามักจะได้ยิน คำว่า บูรณาการ  อยู่เสมอๆ เช่นการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ   ที่จริงคำว่า บูรณาการ  มาจากภาษาอังกฤษว่า INTEGRATIONแปลเป็นภาษาไทย คือ การทำงานแบบมีส่วนร่วม   โดยที่ทุกภาคส่วนทั้งในองค์กร และ นอกองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จะร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันรับกรรม  ร่วมกาย ร่วมใจ ร่วมพัง  ฯลฯ  ทั้งนี้ก็แล้วแต่วิสัยทัศน์ของกิจการในองค์กรนั้นๆ    มีนักคิด กล่าวว่า  องค์ที่จะสามารถทำงานแบบบูรณาการ  ให้สำเร็จได้ด้วยหลักการ 3 R       
            R1  = RESOURCES  (ทรัพยากร)  เป็น  INPUT   
            R2  = RELATIONSHIPS (สัมพันธภาพ) คือ กระบวนการทำงานร่วมกัน
            R3 =  RESULTS (ผลผลิต)
            จากทฤษฎีที่ว่าจะเห็นว่า  หัวใจของความสำเร็จ  คือ R2  หรือกระบวนการทำงานร่วมกัน      นั่นเอง  หากมองเข้าไปในกิจกรรมของแต่ละองค์กร   ก็จะพบว่าการนำ  R1 หรือทรัพยากรบุคคลที่หลากหลายนั้นให้ผ่าน กระบวนการทำงาน หรือ R2 ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้ได้   R3 หรือ ผลงานออกมาเป็นประสิทธิผลที่ทุกคนอยากเห็น

            ในฐานะที่ ครู  ทุกคนก็เป็นเป็นทรัพยากร (R1) ของในหน่วยงาน  สถานศึกษา  หากเราศึกษาทัศนคติ  ค่านิยม  ความเชื่อ และสไตล์การทำงานของเพื่อนร่วมงานในหน่วยงานเราอย่างลึกซึ้ง  เพื่อจะได้ รู้จักนิสัยใจคอของเพื่อนร่วมงานอย่างถูกต้อง ก็จะเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าของหน่วยงานเรา

             ดังนั้น ก็จะเหลือสำหรับของกระบวนการทำงาน (R2) ที่ผู้บริหาร ในฐานะที่เป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (CHANGE  LEADER)  และเพื่อนครูในหน่วยงาน ร่วมกัน สำรวจและตรวจสอบกระบวนการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ  ในเรื่องสำคัญ เช่น วัตถุประสงค์ขององค์กร(CORPORATE  OBJECTIVE)  ทิศทางขององค์กร (CORPORATE  DIRECTION)  ขั้นตอนการทำงาน (CORPORATE  PROCEDURE)  การสื่อข้อความ (CORPORATE  COMMUNICATION)  การตัดสินใจ(CORPORATE  DECISION  MAKING) และความผูกพันร่วมกัน (CORPORATE  COMMITMENT) เพื่อจะได้ปรับปรุงให้เป็นกระบวนการทำงานในฝันที่สามารถผันแปรทรัพยากรบุคคลให้เป็นผลผลิตได้สูงสุด   ซึ่งก็คือ คุณภาพทางการศึกษาของชาติไทย นั่นเอง   เห็นไหม ไม่ยากเลยใช่ไหม  ถ้าครูเรา จะทำงานแบบ บูรณาการ   กับเขาบ้าง    ไม่มีอะไรที่ครูไทย ทำไม่ได้ ....

หมายเลขบันทึก: 275034เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2009 13:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2012 11:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากอ่านอีกค่ะ บทความดีมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท