เด็กวัฒฯ
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร คนวัฒนธรรม

“กลิ่นไอทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจ เราอาจยอมให้ไหลบ่าเข้ามา”


ขอเพียงผู้ที่มีเครื่องรางไว้อย่าหลงเชื่อเสียจนเรียกว่าไม่มีเหตุผลเพราะนั่นคือความงมงาย สิ่งที่สำคัญขอให้ตั้งมั่นในคำสอนของพระพุทธองค์ เชื่อมั่นในการทำความดี ดำเนินชีวิตด้วยความถูกต้อง มีคุณธรรมผลบุญกรรมดีก็น่าจะตอบแทนแก่ผู้ปฏิบัติดีด้วย

             เมื่อฉบับที่แล้ว ดิฉันได้นำเรื่องราวของการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ด้วยทุนการฝึกอบรมหลักสูตร (Talentnetwork : policy management for leadership training program) ซึ่งเป็นทุนของรัฐบาล ดำเนินการโดยสำนักงาน ก.พ.  ไปบ้างแล้ว  โดยเรื่องที่เล่าให้ฟังนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นที่เราควรเรียนรู้และนำมาเป็นแนวทางในการอนุรักษ์เผยแพร่วัฒนธรรมของชาติไทยเราบ้าง  นั่นก็คือ วัฒนธรรมการกิน  วัฒนธรรมการใช้ภาษา  การแต่งกาย และวัฒนธรรมการทำงาน  ฉบับนี้ยังมีควันหลงเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นมาเล่าสู่กันฟังอีกหวังว่าจะยังไม่เบื่อนะคะ  

ไหน ๆ ก็มีโอกาส เดินทางไปไกลถึงแดนอาทิตย์อุทัย  ข้ามน้ำข้ามทะเลตั้งหลายชั่วโมง ดิฉันในฐานะที่ทำงานด้านวัฒนธรรมก็ไม่ยอมพลาดที่จะเดินทางไปชม ศาสนสถาน  โบราณสถานต่าง ๆ ซึ่งเราย่อมทราบดีว่าสถานที่เหล่านี้สามารถอธิบายให้ทราบประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิต ความเชื่อ ของผู้คนในประเทศนั้น ได้เป็นอย่างดีผ่านการก่อสร้างอาคาร สถาปัตยกรรม ภาพวาด ศิลปกรรมนานาประเภทมากมาย ซึ่งมีคุณค่าน่าชมยิ่งนัก

ภายในวัดวาอาราม ดิฉันเห็นมุมศาลาด้านหนึ่งมีเหรียญจำนวนมากมายถูกผู้คนพยายามโยนให้เข้าในขันที่ตั้งตรงกลาง ซึ่งก็เป็นกุศโลบายคล้าย ๆ ของไทยเราว่าให้ตั้งใจอธิษฐานก่อนแล้วโยนถ้าสามารถโยนเข้าขันได้จะถือว่าสิ่งที่ตั้งใจไว้จะสำเร็จ แหม ! ดูจากภาพแล้วคนสมหวังจะน้อยกว่าคนผิดหวังนะเนี่ย!!!
ส่วนวิธีการกราบไหว้ขอพรพระนั้นชาวญี่ปุ่นก็คงไม่แตกต่างกับชาวพุทธทั่วไป แต่ที่แปลกคือพวกเขาจะมีกระถางสำหรับปักธูปขนาดใหญ่ตั้งอยู่ตรงลานวัด และพอมีการนำธูปปักรวมกันมาก ๆ ก็จะเกิดควันฟุ้งกระจายเต็มบริเวณ ถ้าเป็นคนไทยก็จะรีบปักและเดินออกมา แต่ชาวญี่ปุ่นจะใช้มือโบกในลักษณะที่ให้ควันเคลื่อนที่เข้าหาตัวเอง จะกวัก 3 รอบ โดยมีความเชื่อว่านำสิ่งดี ๆ เข้าสู่ตนเอง  รวมถึงมีอ่างน้ำใหญ่ ๆ ตั้งให้ผู้คนไปตักน้ำมาดื่ม ลูบหน้า รดศรีษะ เพื่อความเป็นศิริมงคล ( เหมือนน้ำมนต์บ้านเรานั่นแหละ)

                     เรื่องสุดท้ายที่นำมาฝากคือความเชื่อของชาวพุทธ  ถ้าพูดถึงเครื่องรางของขลัง ประเทศไหน ๆ ก็มีแล้วแต่จะทำในรูปแบบใด แต่จุดมุ่งหมายก็ไม่แตกต่างกันคือเพื่อเป็นที่เคารพบูชา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นศิริมงคลแก่ผู้พกพา ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม ขอเพียงผู้ที่มีเครื่องรางไว้อย่าหลงเชื่อเสียจนเรียกว่าไม่มีเหตุผลเพราะนั่นคือความงมงาย  สิ่งที่สำคัญขอให้ตั้งมั่นในคำสอนของพระพุทธองค์ เชื่อมั่นในการทำความดี ดำเนินชีวิตด้วยความถูกต้อง มีคุณธรรมผลบุญกรรมดีก็น่าจะตอบแทนแก่ผู้ปฏิบัติดีด้วย  ก็ถือว่าเป็นเกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับวิถีชีวิตของประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจอีกประเทศหนึ่งทีเดียว

 

โดย  ดร.สุชาดา  ปุญปัน

นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ

หมายเลขบันทึก: 274662เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2009 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท