ปัญหาขาดแคลนแพทย์ใน รพ.ชุมชน


กำลังคนด้านสุขภาพ

              ปัญหาขาดแคลนกำลังคนในระบบสุขภาพ โดยเฉพาะใน รพช.ที่มีปัญหาขาดแคลนแพทย์เรื้อรังมายาวนานกว่า 25 ปี ที่ประเทศไทยผลิตแพทย์มากว่า4หมื่นคนแต่มีแพทย์ทำงานใน รพ.ชุมชน 728 แห่งเพียง 3200 คนเท่านั้นคิดเป็น ร้อยละ 8 ของประเทศ ซ้ำร้ายไปกว่านั้นแพทย์ส่วนใหญ่ร้อยละ 60 เป็นแพทย์ใช้ทุนอายุราชการเพียง1-3ปีเท่านั้น เท่ากับประชาชนในชนบทได้มีโอกาสใช้แพทย์มือใหม่หัดขับเสียเป็นส่วนใหญ่ ปัญหานี้แก้ไม่ได้ ไม่มีใครคิดจะแก้เพราะระบบทุนนิยม ระบบสุขภาพที่มุ่งตามแพทย์ตะวันตก ตามอย่างอเมริการ มุ่งแพทย์เฉพาะทาง แพทยสภาเองก็มีผู้บริหารที่มีแนวคิดไปในทิศทางดังกล่าวอย่างสุดขั้ว โดยเฉพาะบางคนในกรรมการแพทยสภาถึงกับออกมาพูดบ่อยครั้งให้ยุบ รพช.เสียแล้วส่งมา รพ.จังหวัดให้หมด ได้คนที่มีความคิดแบบนี้มาบริหารแพทยสภาถือว่าอันตรายที่สุดต่อระบบสุขภาพของประเทศ ระบบทุนนิยมที่ให้ ปัจจัยด้านการเงินเป็นตัวแปรสำคัญที่ดูดแพทย์ออกจากชนบท ประกอบกับความขาดแคลนในหลายด้านทั้งการศึกษาต่อ ความก้าวหน้า ค่าตอบแทน ภาระงาน ครอบครัว ความห่างไกลความเจริญ ศักดิ์ศรีแพทย์ชั้นสอง และระบบในกระทรวงสาธารณสุขเองที่สร้างความเหลื่อมล้ำแบ่งแยกปกครอง ทำให้แพทย์ส่วนใหญ่อยู่ใน รพช.ได้ไม่นาน

               ในประเทศอังกฤษและอีกหลายประเทศที่เห็นปัญหาระบบสุขภาพในอเมริการ ค่าใช้จ่ายสูง จึงพัฒนาแพทย์ปฐมภูมิ รักษาใกล้บ้าน และสร้างโฮกาสให้จูงใจต่อการอยู่ชนบท ทำให้มีแพทย์อยู่ในชนบทกว่าร้อยละ 60 ตรงกันข้ามกับประเทศไทยโดยสิ้นเชิง

                ชมรมแพทย์ชนบทต่อสู้ผลักดันเรื่องนี้ สร้างแรงจูงใจด้านความก้าวหน้า ค่าตอบแทนเหมาะสม กว่า15 ปีและพอเห็นแสงสว่างสมัย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ปราชญ์ คนนี้แหละ ทำเรื่องซี 9 และเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายใน รพช.สำเร็จ เพียงไม่ถึง 6 เดือนผลเกิดขึ้นในด้านที่พึงหวังมากมาย แพทย์ขอบรรจุกลับเข้ารับราชการกว่า 36 คน และแพทย์ร้อยละ84 พอใจที่จะอยู่ รพช.นานขึ้น แต่ในด้านลบ กลับมีคนในกระทรวงสาธารณสุขบางกลุ่มมองว่าเขาไม่ได้รับความเป็นธรรมออกมาเรียกร้องให้ทบทวน ยกเลิก หรือให้เขาได้บ้างและได้เท่ากัน หรือน้อยกว่าเพียงเล็กน้อย เขามองว่าเขางานหนัก เขาว่าจะทำให้แพทย์ลาออกจาก รพ.จังหวัด เขาว่า รพช.อยู่สบาย ส่งต่ออย่างเดียว ไม่ผ่าตัด อยู่เวรก็นอน เขาว่า รพช.ได้ ตั้ง7หมื่นทั้งๆที่มีเพียงสามคนเท่านั้น และมีเพียง 200 คนที่อายุงานมากกว่า21ปีขึ้นไป เขาว่า เหมาจ่าย รพช.สร้างปัญหา เขาอยากได้บ้าง ด่าทอกันไปมา สิ่งที่เขาว่าเป็นเพียงข้อมูลที่เขารู้สึก เขาว่า รพช.บางแห่งไม่กันดาร ดีกว่า รพ.จังหวัดแต่ไม่เห็นมีใครขอไปอยู่ เขาว่าบางคนทำเผื่อตัวเอง แต่พอบอกว่าคนที่ผลักดันเรื่องนี้อย่างน้อยสองคนไปอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ได้เงินส่วนนี้ เขาไม่ฟังผลที่เกิดขึ้นในเชิงบวกตามที่คาดหวังอีกมากมาย จนนำมาสู่การประท้วงกดดันผู้บริหารให้จ่ายเงินให้เขา แพทย์ชนบทไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ที่มาประท้วงในลักษณะดังกล่าว เพราะไม่ใช่จริตของแพทย์ชนบท แต่ถ้าจะประท้วงก็คงจะมาไล่คนที่ไม่อยู่บนประโยชน์ประชาชน และถ้ามาก็เพียงไม่ถึง 10 คน เพราะเราเป็นผู้มีการศึกษา เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ที่สังคมให้ความเชื่อถือ จึงต้องระมัดระวังการแสดงออกในลักษณะดังกล่าว เราเข้าใจถึงปรากฎการณ์ดังกล่าว ไม่ได้ปิดกั้น ไม่ได้ขัดขวาง แต่ต้องเป็นไปในทางที่ทำให้สังคมได้ประโยชน์ ประชาชนขะได้อะไร

        การแก้ปัญหานี้เป็นเรื่องยาก ทำเรื่องยากต้องอดทน ทนต่อการถูกวิจารณ์อย่างรุนแรงจากบางคนว่าไม่เป็นธรรมแต่วันหนึ่งจะเข้าใจ  วันนี้ขอแค่นี้ก่อนครับ เรื่องนี้อีกยาว

          อารักษ์

       7/7/2552 

หมายเลขบันทึก: 274266เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2009 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 06:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

แวะมารับทราบและเป็นกำลังใจค่ะ

ขอบคุณครับอ.ต้อย จบ นบส.เข้าเรียนหลักสูตร การจัดการปฐมภูมิ หลักสูตร ป.โท ที่ มข.อยู่ครับ มีอะไรแนะนำที่เกี่ยวข้องเชิญได้ครับ เพื่อเติมเต็ม

อารักษ์

ก.พ. มือไม่พายเอาเท้าราน้ำอีกแล้ว
วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11458มติชนรายวัน ระวัง!มีจำนวนแพทย์เกินฐานะการเงินคอลัมน์ ข้าราษฎร โดย สายสะพาย สำนัก งาน ก.พ. ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาโครงการกำหนดยุทธศาสตร์กำลังคนภาครัฐ ในกลุ่มข้าราชการครู ตำรวจ และบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งมีจำนวนมาก คิดรวมกันร้อยละ 70 ของข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั้งหมด เพื่อให้การกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการกำลังคนมีขนาดและคุณภาพที่เหมาะ สม สอดคล้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลภาครัฐ และทิศทางการพัฒนาประเทศ จากการศึกษากรณีบุคลากรทางการแพทย์ได้แก่ แพทย์และพยาบาล มีข้อสรุปดังนี้ แพทย์ที่สามารถทำเวชปฏิบัติได้ของประเทศไทย มี 31,939 คน โดยสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรคือ 1 : 1,985 คน แบ่งเป็นแพทย์ภาครัฐจำนวน 21,500 คน คิดเป็นสัดส่วน 1 : 2,948 คน แพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 11,025 คน คิดเป็นสัดส่วน 1 : 5,750 คน เมื่อเปรียบเทียบกับสัด ส่วนมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ที่ 1 : 5,000 คน และของประเทศต่างๆ แล้ว แพทย์ไทยยังอยู่ในสัดส่วนที่ดีกว่า ดัง นั้น สัดส่วนของแพทย์ทั้งระบบต่อจำนวนประชากรยังมีการขาดแคลนอยู่แต่ไม่ถึงขั้น วิกฤต แต่การขาดแคลนแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขมีปัญหามากกว่าแพทย์ในสังกัดอื่น ซึ่งมีปัญหามากในโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก และ/หรือพื้นที่ห่างไกล จึงสะท้อนว่าอุปทานไม่เป็นปัญหาแต่กระทรวงสาธารณสุขต้องหาวิธีดึงให้แพทย์ เข้าทำงานและอยู่ต่อไปในระบบ สำหรับแนวโน้มในอนาคต ปัญหาการขาดแคลนแพทย์จะบรรเทาลงไปเนื่องจากกำลังการผลิตแพทย์ที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งยังมีแพทย์กำลังทยอยเติมเข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่องจนอาจส่งผลการมี แพทย์ในระบบมากเกินฐานะทางการเงินของประเทศในอนาคต สำหรับกรณี พยาบาลพบว่า จำนวนพยาบาลที่มีใบประกอบวิชาชีพพยาบาลและผดุงครรภ์ มี 118,087 คน โดยสัดส่วนของพยาบาลต่อจำนวนประชากรคือ 1 : 532 คน อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดมาตรฐานไว้ 1 : 500 คน อย่างไรก็ตาม การขาดแคลนพยาบาลเกิดขึ้นเฉพาะในกรณีของกระทรวงสาธารณสุข ขณะเดียวกัน ภาพอนาคตชี้ว่าปัญหาการขาดแคลนพยาบาลจะบรรเทาลงไป เนื่องจากการไหลของพยาบาลไทยออกไปทำงานต่างประเทศเริ่มลดลง มีทางเลือกในประเทศไทยมากขึ้น กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวโน้มจะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณ สุขเพิ่มมากขึ้น และการหมุนกลับของพยาบาลอายุมากที่ออกจากภาคเอกชนจะเร็วขึ้นและถี่ขึ้น คณะ ผู้ศึกษาเสนอเป้าหมายการบริหารจัดการกำลังคนกลุ่มแพทย์และพยาบาล เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ในการกำกับดูแลกำลังคนกลุ่มแพทย์และพยาบาล ไว้ว่า ในปี พ.ศ.2555 ประเทศไทยจะมีกำลังคนที่เป็นแพทย์ และการกระจายตัวของแพทย์ที่เพียงพอกับความต้องการด้านสาธารณสุขของประเทศ และมีกำลังคนพยาบาลที่มีคุณภาพเพียงพอกับความต้องการด้านการสาธารณสุขของ ประเทศ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท