เปิดหน้าต่างหัวใจ...


หน้าต่างหัวใจ 4 ห้องของคุณ

ทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี่

          เจ้าของทฤษฎีนี่คือ โจเซฟ ลุฟท์ และแฮรี่ อิงแฮม (Joseph Luft and Harry
Ingham) นักจิตวิทยาทั้งสองได้เสนอทฤษฎีนี้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1955 โดยใช้ชื่อว่าหน้าต่างโจฮารี่ : แบบลายเส้นของการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (The Johari-Window : graphic Model of Awareness in Interpersonal Relation) เพื่อใช้เป็นแบบแผนสังเกตพฤติกรรมของบุคคลเมื่ออยู่ร่วมกันในสังคม และเพื่อให้เข้าใจสัมพันธภาพที่เกิดข้นระหว่างบุคคลในลักษณะที่รู้ตัว (Luft, 1970 : 56) รูปแบบของพฤติกรรมของบุคคล มีดังนี้

รูปหน้าต่าง 4 บาน นั้น ลุฟท์และอิงแฮม สรุปว่าบุคคลทุกคนมีพฤติกรรมอยู่ 4 แบบ ซึ่งอยู่ตามบริเวณหน้าต่างทั้ง 4 บาน บางทีก็เรียกว่า หน้าต่างหัวใจ พฤติกรรมดังกล่าวมีดังนี้ คือ
           1. บริเวณเปิดเผย
หมายถึงบริเวณพฤติกรรมภายนอกที่แสดงออกอย่างเปิดเผย เป็นพฤติกรรมเจตนาที่บุคคลแสดงออกแล้วรู้ว่าตนเองแสดงพฤติกรรมอะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไรให้บุคคลอื่นรับรู้พฤติกรรมและเจตนาของเรา ในขณะเดียวกันเราก็รับรู้พฤติกรรมและเจตนาของผู้อื่นด้วย ถ้าหากบุคคลมีความสนิทสนมกันมากขึ้น บริเวณจะเปิดกว้างขึ้น หมายถึงบุคคลจะมีปฎิกิริยาโต้ตอบต่อกันและมีการเปิดเผยจริงใจต่อกันมากขึ้น
          2. บริเวณจุดบอด หมายถึงบริเวณ บริเวณที่พฤติกรรมที่ตนแสดงออกโดยไม่รู้ตัว
ไม่มีจุดมุ่งหมาย และไม่มีเจตนาที่จะแสดงออกไป แต่บุคคลอื่นสามารถสังเกตเห็นได้ การที่บางคนพุดหรือแสดงการกระทำบางอย่างโดยไม่รู้ตัวจะทำให้เสียบุคลิกภาพ อาจทำให้คนอื่นเบื่อหน่ายและไม่พอใจได้
          3. บริเวณซ่อนเร้น หมายถึงบริเวณที่มีพฤติกรรมลึกลับ
เป็นพฤติกรรมหรือความรู้สึกนึกคิดบางอย่างที่บุคคลเก็บว่อนไว้ในใจเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ ตนเองเท่านั้นที่รู้ เช่น ความรู้สึกไม่ดีต่อคนอื่น พฤติกรรมในส่วนนี้มักจะเป็นพฤติกรรมภายใน ได้แก่ความจำ การรับรู้ ความคิด บุคคลจะไม่แสดงพฤติกรรมดังกล่าวออกมา เพราะต้องการปิดบัง แต่อาจจะแสดงพฤติกรรมอย่างอื่นกลบเกลื่อน
          4. บริเวณมืดมน หมายถึง
เป็นบริเวณที่พฤติกรรมหรือความรู้สึกบางอย่างที่บุคคลแสดงออกโดยไม่รู้ตัว ตนเองไม่เคยรู้ไม่เคยเข้าใจมาก่อน และบุคคลอื่นไม่เคยรุ้ไม่เคยสนใจมาก่อนเช่นกัน พฤติกรรมในส่วนนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์บางอย่างทำให้เกิดพฤติกรรมนี้ขึ้นมาได้ เช่น บุคคลบางคนมีกิริยามารยามเรียบร้อย สุภาพเรียบร้อย สุขุม เยือกเย็น แต่เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์คับขัน พฤติกรรมก้าวร้าวเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้จึงเกิดขึ้น
          การศึกษาตนเองและผู้อื่นโดยใช้ทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี่
ทำให้ได้ข้อคิดว่า
                    1.
ไม่มีใครรู้จักตนเองอย่างถ่องแท้
                    2.
คนเราสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้
                    3. บริเวณเปิดเผยและบริเวณซ่อนเร้นเป็นส่วนที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการสร้างมนุษยสัมพันธ์โดยตรง
ส่วนบริเวณจุดบอดและจุดมืดมนนั้นมีผลต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ทางอ้อม.

 

 

คำสำคัญ (Tags): #หน้าต่างหัวใจ
หมายเลขบันทึก: 274234เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2009 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2013 13:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อันนี่คือคำตอบใช่ไหมค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท