67. สวามีของอินเดียคือใคร


"สวามี" มิใช่ "สามี"

 

สวามี (Swami) คืออะไร

 

 

          หลายคนคงไม่คุ้นเคยกับคำว่า สวามี (Swami) โดยอาจคิดว่าเป็นคำที่มีความหมาย

เดียวกับคำว่า สามี หรือเปล่า?

          สวามี เป็นคำมาจากภาษาบาลี หมายถึง ผู้ที่รู้และเป็นนายตน อิสระจากความรู้สึกคำ

ว่าสวามีเป็นคำนำหน้าชื่อสำหรับผู้ที่เป็นครูทางด้านโยคะ ผู้ที่อุทิศตนเพื่อพระเจ้า และอุทิศตนให้

กับครูทางจิตวิญญาณของสวามี

          สวามีแปลว่า ครู อาจารย์ หมายถึงความพยายามที่ต่อสู้เพื่อเป็นนายของตนเอง เพื่อให้

ความเป็นตัวตนภายในเปล่งประกายชั่วนิรันดร์ การเป็นสวามีเป็นการตัดเรื่องทางโลก เป็นการ

สละชีวิตทางโลก สวามีคือพระที่ตัดเรื่องการแสวงหาทางโลกออก แต่อุทิศเวลาเพื่อความ

พยายามทั้งหมดให้กับการแสวงหาประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติเพือให้บรรลุผลเกี่ยวกับจิต

วิญญาณชั้นสูง และให้บริการแก่สังคมในด้านนี้  การสละชีวิตทางโลกมิได้หมายถึงการต่อต้าน

หรือขวางโลก หรือมีความรู้สึกในด้านลบต่อทางโลก ในอดีตการเสียสละชีวิตทางโลกเป็นเรื่อง

เกี่ยวกับขั้นตอนสี่ประการของชีวิต แม้ว่าจะมีหลายคนที่รู้สึกเหมือนมีเสียงเรียกจากภายในให้

สละชีวิตทางโลก และกลายเป็นสวามีเมื่อใดก็ได้           ขั้นตอนชีวิตของชาวอินเดียที่นับถือ

ศาสนาฮินดูในสมัยก่อนกำหนด ด้วยการฝึกปฏิบัติให้เหมาะสมกับแต่ละขั้นตอนของชีวิต โดย

คำนวณว่าช่วงชีวิตคนอาจมีอายุถึง 100 ปี แต่ละช่วงชีวิตจะแบ่งเป็นช่วงละ 25 ปี หรือลดลงมา

ตามอัตราส่วน วัตถุประสงค์ของชีวิตคือการบรรลุถึงประสบการณ์ตรงของการเข้าถึงความจริง

ด้วยตนเองด้วยการทำโยคะ หรือการก่อให้เกิดแสงสว่างทางปัญญา มีรายละเอียด ดังนี้

 0-21/25 ปี     พรหมจารี (Brahmacharya/ student) ช่วงเยาว์วัยเป็นช่วงที่ต้องแสวงหา

ความรู้สำหรับเป็นพื้นฐานของชีวิต จุดมุ่งหมายเพื่อความสมบูรณ์ การเรียนรู้และการมีกฎเกณฑ์

สำหรับการดำเนินชีวิตในช่วงวัยต่อไป เรียนรู้เรื่องจิตใจ ชุมชน และชีวิตครอบครัว

21-42 (25-50) ปี      คฤหัสถ์ (Grahasta/ Householder) ได้แก่วัยผู้ใหญ่ คือการมีชีวิตคู่

สร้างความมั่นคงให้กับตนเองและครอบครัว ทำหน้าที่ทางโลกให้ประสบผลสำเร็จ เป็นช่วงเวลา

ของการให้ การเรียนรู้ และความรักให้กับครอบครัวและชุมชน  การปฏิบัติทางศาสนาและทางจิต

ใจในบริบทของชีวิตทางโลกและให้บริการแก่ผู้อื่น

42-63 (50-75) ปี  วานปรัสถ์ (Vanaprastha/ Hermitage) วัยสูงอายุ ขั้นตอนนี้เป็นเวลาของ

การฝึกปฏิบัติจิตใจด้วยการทำสมาธิ และสวดมนต์ ความสัมพันธ์กับลูกหลานที่โตแล้ว และ

ชุมชนเป็นบทบาทของพี่เลี้ยงต่อผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างเรียบง่าย ตน

และคู่ครองอาจฝึกสมาธิในสถานที่เงียบสงบเพื่อการปฏิบัติที่ลึกซึ้ง

63-84+ (75-100+) ปี สันยาส (Sanyasa/ Renunciate) วัยชรา ผู้สูงวัยปล่อยวางจากการ

ดำเนินชีวิตทางโลกแสวงหาหนทางหลุดพ้นในชีวิตบั้นปลาย บำเพ็ญพรตและจาริกสั่งสอนผู้อื่น

ให้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ          การเป็นสวามีคือการสละความเป็น ฉัน หรือ ของฉัน สวามีคิด

ว่าตนเองเป็นสมาชิกของทุกครอบครัวในโลกด้วยการดูแลทั้งกายและจิตเป็นอันดับแรก ช่วย

เหลือในการฝึกปฏิบัติด้วยความรัก นำไปสู่การลดชีวิตทางโลกลง เป็นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับ

ทุกสิ่ง แต่ไม่ยึดติดกับสิ่งใดเลย สวามีมิได้คาดหวังอะไรจากใคร สวามีเหมือนกับพระอาทิตย์ที่

ส่องแสงคือนุ่งชุดสีส้มหรือเหลืองส้ม สวามีจะเป็นผู้ให้แสงสว่างกับผู้ที่อยู่ในมุมมืด  

          ผู้ที่จะเป็นสวามีต้องเดินไปที่แม่น้ำคงคา ถอดเสื้อผ้าออก ผู้ที่จะเป็นสวามีจะได้รับชุดใหม่

 จากธรรมเนียมปฏิบัติของกูรู ทางด้านจิตใจหญิงหรือชายเหล่านั้นต้องทำตัวไร้เพศ โดยที่ไม่ยึด

ติดในความเป็นตัวตนทางร่างกายของตนอีกต่อไป  เขาเหล่านี้จะไม่เป็นเจ้าของสิ่งใดของตนอีก

เขาจึงได้รับการเรียกว่า สวามี เป็นครูที่อยู่เหนือความต้องการของตนเอง

 อ้างอิงจาก

  1. http://www.swamij.com/what-is-a-swami.htm  
  2. http://en.wikipedia.org/wiki/Swami  

___________________

บอกกล่าว ข่าวแจ้ง

 

1) ฟรี ขอเชิญท่านที่สนใจเรื่องราวของชาวไทที่อยู่นอกประเทศ ขอเรียนเชิญท่านฟังบรรยายเรื่อง

“The Tais in Northeast India and Cultural linkage to Southeast Asia”

โดย Prof. Girin Phukon, Dibrugarh University, Assam, India วั

นอังคารที่ 4 สิงหาคม 2552 เวลา 9.30-12.00 น.

โปรดสำรองที่นั่งที่คุณวาสนา ส้วยเกร็ด โทร. 02-800-2308-14 ต่อ 3209

 

2) ท่านที่สนใจจะศึกษา ค้นคว้าเรื่องราวของอินดียโปรดเตรียมตัวสมัครสอบหลักสูตรวัฒนธรรมและการพัฒนา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดลได้ในเดือนตุลาคม 2552 โปรดเข้าชมใน  www.lc.mahidol.ac.th

 3) ท่านที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ สนใจจะทำ วิจัย และสอนในระดับปริญญาโท และเอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักสูตรอินเดียศึกษา ขอเชิญสอบถามรายละเอียดที่ คุณบุญครอง มงคล โทร. 02-800-2308-14 ต่อ 3206

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 274146เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2009 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะอาจารย์

ขอบคุณเรื่องเล่าของอินเดีย

เป็นความรู้เพิ่มเติมในวิถีชีวิตของคน

ซึ่งไม่ว่าเชื้อชาติไหน ก็นำไปปฏิบัติได้

จุดหมายสูงสุดของแต่ละศาสนา คือความสงบสุขด้วยตัวเองและปล่อยวาง

คิดถึงอินเดียเสมอ คงมีโอกาสได้ไปอีกสักครั้งค่ะ

มาอ่านความรู้ค่ะ ...  เพิ่งทราบนะคะเนี่ย เห็นหลายๆ คนพูดกัน

งั้น พูดว่าอยากมี สวามี เป็นของตนเองบ้าง ก็ได้นะสิคะ J

มีความสุขกับวันดีๆ นะคะ ...  ขอบคุณค่ะ 

 

 

เรียน คุณตันติราพันธ์

    ใช่ค่ะ ปรัชญาชีวิตของอินเดียเป็นปรัชญาพื้นฐานที่ชาวอินเดียจำนวนไม่น้อยยังยึดถือปฏิบัติอยู่ หากเราจะปรับใช้ในวิถีชีวิตเราก็ไม่น่าจะเสียหายอะไรนะคะ เพราะสุดท้ายแล้วความสุข ความสงบ และการทำตัวให้มัคุณค่า มีประโยชน์ต่อผู้อื่นน่าจะเป็นจุดหมายของชีวิตนะคะ

เรียนคุณ Poo

   คำว่า สวามี มีหลายความหมายค่ะ แต่ความหมายหนึ่งที่มีใช้ในภาษาไทย (ยืมมาจากสันสกฤต) แปลว่า "สามี" ค่ะ ไม่ทราบว่าคุณ Poo จะตีความคำว่า สวามีในที่นี้ ว่าเป็น "ผู้รู้และนายของตน" หรือ "สามี"

สวัสดีครับอจ.

ไม่ได้เข้ามาทักทายนาน แต่ก็ตามอ่านอยู่ครับ

จัดสัมมนาไปแล้ว เห็นความสนใจของนักธุรกิจไทยที่ชัดเจนมาก

อินเดียกำลังบานผลิครับ

ซึ้งกับความหมายของสวามีครับ

ดูโทรทัศน์อินเดีย จะพบสถานีที่ถ่ายทอดเรื่องราวของกูรูและสวามีหลายช่องครับ

มีบางวัน ผมเปิดดูช่องเหล่านี้เหมือนกัน พยายามจะเรียนรู้วิธีการเผยแพร่ลัทธิของเขา

เห็นว่ายังใช้ศรัทธานำมากครับ

ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆ

เรียน ท่านทูตพลเดช ที่เคารพ

     ขอบพระคุณค่ะ ดิฉันก็พยายามจะช่วยให้ผู้อ่านเกิดความรู้ความเข้าใจในความเป็น "อินเดีย" ให้มากขึ้นทีละเล็กละน้อย เท่าที่เวลาจะอำนวยค่ะ เรื่องสวามีนี้เขียนขึ้นเพราะเคยจัดสัมมนาเรื่อง       "สวามีวิเวกานันท์" ผู้ฟังหลายคนสงสัยคำว่า "สวามี" และถาม จึงคิดว่าน่าจะหาความรู้มานำเสนอให้ได้ทราบกันมากขึ้น เพราะที่อินเดียสวามีมีมากมาย อย่างที่ท่านทูตว่า ดิฉันก็เคยดูในรายการทีวีที่อินเดีย สวามีบางคนมีลูกศิษย์เต็มโรงยิมเพื่อร่วมฝึกปฏิบัติโยคะ อะไรทำนองนั้นนะคะ

     ยินดีด้วยค่ะกับการจัดสัมมนาของท่าน น่าจะเป็นโอกาสที่ดีของนักธุรกิจไทยนะคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท