การบริหารการเปลี่ยนแปลง


change management

ตอนดูงานและฟังบรรยายจากนายกเทศบาลนครขอนแก่นมีการพูดเรื่องการบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงกันบ่อย ใช้คำนี้กันถี่มากจึงขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้

องค์การที่ไม่สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้ทันกับความเจริญก้าวหน้ามักไม่ประสบความสำเร็จ  ผู้นำและผู้บริหารในองค์กรจึงจำเป็นต้องมีสมรรถนะสำคัญในการบริหารการเปลี่ยนแปลง  เข้าใจธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปหรือเฉียบพลันรุนแรงได้  เมื่อจะจัดการบริหารการเปลี่ยนแปลงจึงต้องเข้าใจเหตุผลที่จะทำการเปลี่ยนแปลง  กำหนดเป้าหมาย  กำหนดทางเลือก  วางแผนดำเนินการ  และปฏิบัติตามแผนอย่างมีระบบ  คำนึงถึงความสำคัญของการสื่อสาร  การมีส่วนร่วมของคนในองค์การ และการเสริมแรงให้กับความเปลี่ยนแปลง  นอกจากนี้ยังต้องติดตามประเมินผลและรักษาผลการเปลี่ยนแปลงที่ดีไว้ให้ยั่งยืน  ทั้งนี้ผู้นำและผู้บริหารต้องวิเคราะห์องค์การและเลือกใช้กลยุทธ์ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเองว่า  โดยการบัญชาการหรือโดยการกระจายอำนาจ เป็นต้น  นอกจากนี้ยังต้องเลือกใช้เทคนิคให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่เลือก และทำความเข้าใจกับปัจจัยที่เป็นแรงต้านและแรงเสริมการเปลี่ยนแปลง  รวมทั้งเข้าใจวิธีเผชิญกับแรงต้านนั้นได้

                        อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของการนำและการบริหารการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ต้องมีกาประยุกต์ทั้งศาสตร์และศิลป์ทางการบริหาร  รวมทั้งต้องฝึกฝน  อดทนและประเมินผลตลอดเวลา  หากการเปลี่ยนแปลงไม่ทำให้เกิดประโยชน์หรือเพิ่มประสิทธิภาพผู้นำและผู้บริหารอาจต้องตั้งคำถาม และทบทวนคำตอบอย่างสม่ำเสมอ

 ลักษณะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ต้องมี

1.c=challenge  มีความท้าทาย

2.h=head  ใช้สมอง

3.a=analysis ต้องวิเคราะห์

4.n=network สร้างเครือข่าย

5.g=good governance บริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

6.e=effective มีประสิทธิภาพ

การเปลี่ยนแปลงต้องใช้ 4 d

1.diagnostic สามารถวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ปัญหา สิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลง

2.dream ต้องมีความฝัน มีวิสัยทัศน์

3.drive  ต้องมีแรงขับเคลื่อนฝ่าแรงเสียนทาน

4.deepen ทำให้ความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติให้ทุกคนยอมรับ

อารักษ์ 5/7/52

หมายเลขบันทึก: 273668เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2009 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คุณหมอสมชายได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการออมในฐานะประธานสหกรณ์ออมทรัพย์มหาสารคาม น่าสนใจจึงนำมาขยายผลต่อในประเด็นนี้

ซำบายดี ! สหกรณ์ออมทรัพย์กับการจัดการสุขภาพ

นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา พบ.

ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุข จังหวัดมหาสารคาม

ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับนักคิดคนสำคัญของแพทย์ชนบท คุณหมออารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล นครศรีธรรมราช ซึ่งกล่าวไว้ว่า

“ชีวิตคนเรานั้นเกิดมามีเวลาจำกัด แต่การทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมเป็นสิ่งไม่มีขอบเขตจำกัด ทำดีได้ไม่มีสิ้นสุด ทำชั่วแม้แค่คิดก็ผิดแล้ว และเพียงครั้งเดียวก็เกินพอที่จะไม่ทำต่อไป”

คนเราเวลาทุกข์มักคิดว่าตนเองน่าจะทุกข์มากกว่าคนอื่นเสมอแต่ขาดการเรียนรู้ในความจริงที่เกิดขึ้น พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า การไม่มีหนี้ย่อมเป็นสุข แต่ในแวดวงของสหกรณ์ออมทรัพย์ ของพวกเราเชื่อว่า อยากมีเงินออมมากกว่าต้องกู้ ที่ทุกคนอยากเป็น คงต้องใช้เวลาในการออม แต่ที่สามารถเริ่มได้เลย คือ การสร้างวินัยในตนเอง (Self discipline) ในทางการเงินการคลังผมอยากจะให้พวกเราคิดว่า การเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาส ในระดับตนเองเกิดขึ้นได้มากน้อยขนาดไหน? ?

พวกเราอาจจะอยู่ในหลายช่องของเงินสี่ด้านดังกล่าว แต่จะให้ดี ถ้าดู จะเห็นว่าการเป็นนักลงทุนน่าจะสบายที่สุด (เหมือนนายกทักษิณ !!) ที่ใช้เงินทำงานแทนเรา !

กิจการของสหกรณ์เปรียบเหมือนการเป็น Investor โดยมีการออมในรูปของหุ้นสะสม เห็นไหมครับว่าการที่มีเวลาจำกัดของแต่ละคนยังมีตัวช่วยยกกำลัง (Multiplier) ในเรื่องของรายได้ เช่นกัน การจะเกิดสิ่งดังกล่าวได้คือ ให้เงินทำงานแทนนั้น ต้องอาศัยเวลาตลอดจนการ อด! ครับ คือ อดออม อดทน อดกลั้น ต่อความต้องการที่มีสิ่งเร้าต่างๆ เป็นตัวกระตุ้นการมี Multiplier ต้องอาศัยวินัยการเงิน การคลังในการออมทรัพย์ครับ ซึ่งสวนทางความจริงที่ต้องอยู่ กิน ใช้ ผมขอให้กำลังใจพวกเราที่ร่วมอุดมการณ์ในการเป็นสมาชิกสหกรณ์ทุกคนถ้าจะให้เกิดมรรคผลที่ว่า ต้องอย่า ลด หรืองดการส่งหุ้น อดเปรี้ยวไว้กินหวานแม้ว่าข้อบังคับจะสามารถลดหรืองดส่งหุ้นได้ก็ตาม พลังที่จะทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมก็จะไม่ลดลงเพราะ มีออมไม่มีอด ฝากไว้ครับ !

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท