พระยาอิศราธิชัย


พระยาอิศราธิชัย (หมี ณ ถลาง)เจ้าเมืองนักพัฒนาจังหวัดกระบี่

 

 

พระยาอิศราธิชัย (หมี ณ ถลาง)เจ้าเมืองนักพัฒนาจังหวัดกระบี่

 

           พระยาอิศราธิชัย(หมี ณ ถลาง)  เป็นบุตรคนที่ ๑๐ ของพระพิพิธสมบัติ (แหม้ว ณ ถลาง) กับนางแสง ณ ถลาง เกิดเมือ่วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๔ ณ บ้านเหนือ ตำบลท้ายช้าง จังหวัดพังงา

           ชีวิตในเบื้องต้นได้รับการศึกษาในสำนักของบิดาแล้วบรรพชาเป็นสามเณร ไปศึกษาภาษาไทยต่อที่วัดสระบพิธภิมุข แล้วอุปสมบท ๑ พรรษา ลาสิกขาบทอยู้กับบิดา ได้มีโอกาสติดตามบิดาไปทำธุรกิจทางปีนัง แหลมมลายูหลายครั้ง จนสามารถเรียนรู้ภาษามลายูและภาาาจีนได้คล่องแคล่ว ภาษอังกฤษพูดได้เล็กน้อย เพราะไม่ได้เรียนในระบบโรงเรียน

         เริ่มรับราชการครั้งแรกเป็นเสมียนมหาดไทยที่เมืองภูเก็ต เป็นนายอำเภอทุ่งคา (เมืองภูเก็ต) ย้ายไปรับราชการที่เมืองพัทลุง ในตำแหน่งหลวงคลังอากร นายอำเภอเมืองพัทลุงและตำแหน่งหลวงทัพกำแหงสงครามปลัดเมืองพัทลุง และตำแหน่งพระแก้วโกรพผู้ว่าราชการเมืองท่านเป็นผู้นำนายคลัง (เงาะป่า) ถวายต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เลื่อนยศเป็นอำมาตย์โท ได้รับพระราชทานนาฬิกาพกเรือนทองสายาองคำจารึกพระนามาภิไธยอีกด้วย

          ท่านย้ายมารับราชการเมืองกระบี่ในขณะที่บรรดาศักดิ์เป็น "พระแก้วโกรพ" ระยะนั้นกำลังมีผู้ร้ายชุกชุม เป็นงานเร่งด่วนที่ท่านต้องทำ เพื่อให้พวกโจรสงบราบคาบ โดยการหมั่นออกท้องที่พบปะบรรดากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ดำเนินนโยบายปราบปรามอย่างเด็ดขาด เมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะสงบแล้วจึงเริ่มพัฒนาเมืองอย่างจริงจัง

ผลงานของพระยาอิศราธิชัย(หมี ณ ถลาง)

(๑) การพัฒนาอาชีพของชาวบ้าน ให้บุกเบิกที่รกร้างว่างเปล่าลงเป็นนาและที่ทำกิน เช่นสวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนผลไม้ แม้ต่ท่านเองก็ได้ทำเป็นตัวอย่างโดยปลูกมะพร้าวไว้รอบๆบ้าน และบุกเบิกที่ทำนาเองที่บ้านห้วยยูง

(๒) ปรับปรุงเส้นทางคมนาคม ตัดถนนหนทางเพิ่มขึ้น ทำท่าเรือ เพื่อให้ชาวบ้านไปมาสะดวก และเป็นเส้นทางขนถ่ายสินค้า

(๓) พัฒนางานด้านศึกษา ในขณะนั้นกระทรวงธรรมการ ได้ออกพระราชบัญญติการประถมศึกษาขึ้นใช้ เพื่อให้การจัดการศึกษาแก่ประชาชนเป็นระบบขึ้น ทางราชการสั่งให้กระทรวงมหาดไทยช่วยดำเนินการจัดหาที่เล่าเรียนสำหรับเด็ก ท่านได้ใช้นโยบายให้กำนันทุกตำบลสร้างที่ทำการขึ้น โดยบอกว่าเพื่อความสะดวกในการบริหารงานการปกครอง ปรากฏว่าจังหวัดสามารถสร้างที่ทำการได้ครบทุกตำบลก่อนจังหวัดอื่นในมณฑลภูเก็ต เสร็จแล้วก็ให้ใช้สโมสรกำนันเป็นที่เล่าเรียนของเด็ก จนได้รับคำชมเชยจากพระยารัษฎานุประดิษฐ์(คอมซิมบี้ ณ ระนอง) ซึ่งเป็นเทศาภิบาลมณฑลในขณะนั้น ส่วนกำนันก็ได้รับความชอบเป็นตำแหน่งหมื่นขุน กันถ้วนหน้า คือ

    (๑) กำนันตำบลอ่าวนาง เป็น ขุนชลาลักษณ์พิสัย พวกสกุล กาหลง

    (๒) กำนันตำบลดหนือคลอง เป็น ขุนชลาลัยพิศาล พวกสกุล เจียวก็ก

    (๓) กำนันตำบลกระบี่ใหญ่ เป็น ขุนศักดิ์ศาสตรคม พวกสกุล จูฑามาตย์

    (๔) กำนันตำบลปากน้ำ เป็น ขุนสมุทรเขตบำรุง พวกสกุล ณ ถลาง

    (๕) กำนันตำบลเขาทอง เป็น ขุนเหมคีรินทร์ พวกสกุล พวงนุ่น

    (๖) กำนันตำบลเขาคราม เป็น ขุนศรีครามคีรินทร์ พวกสกุล ถิ่นหนองจิก

    (๗) กำนันตำบลทับปริก เป็น ขุนวิจัยทับปริก

    (๘) กำนันตำบลกระบี่น้อย เป็น ขุนกระบี่น้อยเขตบำรุง พวกสกุล หาญชนะ

    (๙) กำนันตำบลห้วยยูง เป็น ขุนทวีรัตน์มณีพงศ์ พวกสกุล ทวีรัตน์

    (๑๐) กำนันตำบลยวนสวน เป็น ขุนละแวกยวนกัลยา พวกสกุล มรกต

    (๑๑) กำนันตำบลสินปุน เป็น ขุนสรสิทธิ์ปุน พวกสกุล เครือจันทร์

    (๑๒) กำนันตำบลพรุดินนา เป็น ขุนภูมิพรุเกษตร พวกสกุล ชนะกุล

    (๑๓) กำนันตำบลคลองพน เป็น ขุนเชี่ยวชลำบาล พวกสกุล จงรักษ์

    (๑๔) กำนันตำบลปกาไส เป็น ขุนอาทรประชากร พวกสกุล สัสดีเดช

    (๑๕) กำนันตำบลคลองท่อมเหนือ เป็น ขุนสวัสดิ์วาริน

    (๑๖) กำนันตำบลโคกยาง เป็นหมื่นบรรเจิด

             นอกจากนั้นท่านจัดตั้งโรงเรียนมัธยมขึ้นอีก เป็นอาคารไม้ถาวร หลังคาปั้นหยา มุงกระเบื้อง จำนวน ๓ ห้องเรียน โดยมิได้ใช้งบประมาณของทางการ แต่ขอความร่วมมือจากบรรดาพ่อค้า ข้าราชการ สละคนละเล็กน้อยจนสำเร็จ ภายหลังให้ชื่อโรงเรียนนี้ว่า"โรงเรียนอำมาตย์พานิชกูล"

(๔) งานพัฒนาด้านศาสนา เนื่องกระบี่ไม่มีวัดประจำเมือง ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนในการประกอบศาสนากิจ ท่านได้พัฒนาสำนักสงฆ์ที่ตำบลปากน้ำ โดยนิมนต์พระสงฆ์ให้มาจำพรรษา ต่อมาได้พัฒนาเสนาเพิ่มเติมขึ้นจนเป็นวัดถาวร ปจัจุบันคือ "วัดแก้วโกรวาราม"

พระยาอิศราธิชัย (หมี ณ ถลาง) เป็นนักปกครองที่มีความสามารถมาก ได้ปฏิบัติงานตามนโยบายของราชการเป็นผลดี จนได้รับคำชมเชยและได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์สูงขั้น ครั้งสุดท้ายเป็น "อำมาตย์โท พระยาอิศราธิชัย" รับราชการที่เมืองกระบี่จนเกษียณอายุราชการ

 

 

หมายเลขบันทึก: 273229เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2009 16:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)
  • เป็นบันทึกที่น่าอ่านค่ะ
  • จะรออ่านเรื่องราวดี ๆของภาคใต้อีกนะคะ

เพิ่งรู้ว่าเรื่องนี้อยู่ด้วย ยังไงก็ขอบคุณน่ะค่ะที่ให้ความรู้

เด็กหญิงปัทมา ขนานใต้

เรื่องนี้หนูก้ออ่านเเล้วนะคะ

เด็กหญิงณัฎฐณิชา สงบุตร ม.1/6 เลขที่25

เรื่องนี้หนูก้ออ่านเเล้วนะคะ

ด.ญ.ชฎาภรณ์ จิตสวัสดิ์ไพบูลย์ ม.1/6 เลขที่23

อ่านแล้วค่ะ

ขอบคุณคะ

*ขอบคุณสำหรับความรู้

*จะเข้ามาเยี่ยมมาบอย

ด.ญ.รัติภรณ์ เชียงอินทร์ เลขที่36 ม.1/6

อ่านเเล้วค่ะ

เด็กหญิงกิติยา รามอินทร์ ม.1/6 เลขที่ 21

อ่านแล้วค่ะ

เด็กหญิงธัญชนก สังข์เอียด

ขอบคุณสำหรับความรู้จ

กรวิรินทร์ จงรักษ์ 1/6

อ่านแล้วค่ะ

ด.ญ.ปฐมพร ศรีดารากร ม.1/7เลขที่32

อ่านแล้วค่ะ

ด.ญ.นิตติกาญ เกิดสุข

อ่านแล้วค่ะ คุณครูนางฟ้า สุดสวย

ด.ช.สุทธิพงษ์ เชี่ยวชาญ

ขอบคุณนะครับสำหรับข้อมูลดีๆผมอ่านเรียบร้อย

แล้วครับ

วันนี้.20/01/2553..ผมรองเท้าหายด้วย ชาติ..ใครดันเอาไปก็ไม่รู้ ชาติ....ผมเซ็งจริง๐๐๐๐๐๐๐๐

หวัดดีครับ อาจาร์ย ฝากประกาศด้วยครับ...น่าจะดี

เด็กหญิง บุษยรังสี สุดชู ม.1/1 เลขที่ 25

อ่านแล้วค่ะ ขอบคุณมากค่ะ ที่ใส่ไว้ให้หา ขอขอบคุณค่ะ

อาจารย์ทำอย่างนี้ได้ไง ผมอ่านไม่ออก

ด.ญ.วิภวานี สกุลปักษ์ เลที่ 39 ม.1/6

อ่านแล้วคำ

ด.ญ.วิภวานี สกุลปักษ์ เลที่ 39 ม.1/6

อ่านแล้วค่ะ

เป็นปูชนียบุคคลนะขอรับ

ดีใจที่ได้อ่าน มีขุนทวีรัตน์ด้วย จากคนใช้นามสกุล ทวีรัตน์

ผม ด.ช. เตวิช ทองตรี ม2/8

อ่านเเล้วนะคับอาจารย์

ได้ความรู้มากเลยครับ

ขอบคุณมากคับ

เกิดจังหวัดกระบี่ ภูมิใจที่เป็นคนที่นี่ อย่างน้อยก็มีประวัตินามสกุลที่เราใช้อยู่ รู้สึกดีจริงๆ

กดเกดเหกดเหกดเ

สาส่าส่าส่าส่าส่าส่าส่าส่าส

ด.ญ.สาลินี ด้วงเกลี้ยง

พรุ่งนี้สอบแล้ว ข้อสอบยากไหม

สามารถนำความรู้ไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างดียิ่งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท