เทคนิคการสอนอ่านกับการคิด


การอ่านกับการคิด

เทคนิคการจัดการเรียนรู้

             ผู้วิจัยได้ออกแบบการเรียนรู้สำหรับสอนซ่อมเสริมโดยใช้แบบฝึกการอ่านจับใจความเพื่อพัฒนาการคิด  สำหรับสอนซ่อมเสริม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖  โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ KWL ( Know – Want – Learn ) เป็นเทคนิคการสอนที่ได้รับการพัฒนา โดย คาร์ และโอเกิล            ( Carr and Ogle.1987 :626-631)  ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนรู้ตัวว่าตนคิดอะไร มีวิธีคิดอย่างไร  สามารถตรวจสอบความคิดของตนเองได้ โดยมีการวางแผน   ตั้งจุดมุ่งหมาย      ตรวจสอบ

ความเข้าใจของตนเอง   และมีการจัดระบบข้อมูลความอย่างมีประสิทธิภาพ    ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนที่มี

ความเหมาะสมสำหรับแก้ปัญหาผู้เรียนที่มีความบกพร่องในเรื่องของการอ่านจับใจความกับการพัฒนา

การคิด   ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการอ่าน และทักษะกระบวนการคิดควบคู่กันไป  โดยผู้เรียนจะได้รับการฝึกให้ตระหนักในกระบวนการเข้าใจตนเอง มีการวางแผน     ตั้งจุดมุ่งหมาย   ตรวจสอบความเข้าใจของตนเอง  และมีการจัดระบบข้อมูลเพื่อดึงมาใช้ได้  ( สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย  มูลคำ.๒๕๔๕: ๘๘ -๙๑ )

              ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้  มีดังนี้

                              ๑.  ขั้น K [ What  you  know ] 

                                               -  เตรียมความรู้พื้นฐาน

                              ๒. ขั้น W  [What  you  want  to know ]

                                               -  ตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่าน

                                               -  คิดหาคำตอบ

                               ๓.  ขั้น  L [ What  you  have  learned ]

                                                - เขียนคำตอบ

                                ๔.  ขั้นสรุป / นำเสนอ

                                              - ทบทวน และสรุป

                                              - นำเสนอ

                ข้อดีและข้อจำกัด   มีดังนี้

                             ข้อดี

                              ๑. เป็นการฝึกนักเรียนให้มีทักษะการอ่านและทักษะการคิดควบคู่ไปกับการเขียนสรุปและการนำเสนอด้วยตนเอง

                              ๒. เป็นวิธีการที่เร้าความสนใจได้ดี  สนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียน                         

               ข้อจำกัด

                ๑. ผู้สอนจะต้องเป็นผู้ที่คอยกระตุ้น  ช่วยเหลือและคอยให้กำลังใจผู้เรียนตลอดเวลา

                             ๒. ผู้สอนจะต้องเตรียมบทเรียน และประเด็นคำถามไว้ล่วงหน้า

                      ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า  การสอนซ่อมเสริมอ่านจับใจความเพื่อพัฒนาการคิด  จะต้องมีการเตรียมตัวในการดำเนินการสอนการอ่านจับใจความด้วยเทคนิคการสอนด้วยวิธี KWL  และแบบฝึกการอ่านจับใจความเพื่อพัฒนาการคิดซึ่งเป็นสื่อที่สำคัญในการใช้ประกอบการสอนให้พร้อม  โดยในแบบฝึกแต่ละฉบับต้องมีการเตรียมคำถามเป็นไปตามขั้นตอนของการอ่านจับใจความเพื่อพัฒนาการคิดตั้งแต่ ระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง   และมีการวัดระดับความยากง่ายให้เหมาะสมกับวัย   จึงจะช่วยให้การสอนซ่อมเสริมการอ่านจับใจความเพื่อพัฒนาการคิดบรรลุตามวัตถุประสงค์

 

 

หมายเลขบันทึก: 273116เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2009 13:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แล้วมีสูตรการเรียนมั้ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท