คุยกับเด็กช่าง (ยนต์) 2009


เป็นเรื่องเกี่ยวกับบรรยากาศ สังคม การใช้ชีวิตทั่วไป ในสถาบันการศึกษา และประสบการณ์ของเด็กช่างทั่วไป

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (27 มิถุนายน 2552) ผมได้ไปทำบุญขึ้นบ้านใหม่ของญาติคนหนึ่ง และได้มีโอกาสรู้จักน้องคนหนึ่ง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเด็กช่างก็ได้ ผมในฐานะอดีตเด็กช่างคนหนึ่ง ได้เข้าไปคุยกับน้องคนนี้ รู้สึกคุยถูกคอกัน ก็เลยนำมาเล่าให้ฟังครับ สอบถามเบื้องต้นได้ข้อมูลว่าเขาเพิ่งจะเข้าศึกษาในระดับ ปวช. 1  ช่างยนต์ ของ ร.ร ดอนบอสโก  ย่าน ถ. เพชรบุรี http://www.donboscobkk.ac.th/#   ซึ่งสถาบันแห่งนี้ในความคิดของผมเป็นสถาบันที่มืชื่อเสียงและมาตรฐานการศึกษาพอสมควร จากการที่ผมมีเพื่อนจบจากที่นี่ด้วย ตอนนี้เป็นใหญ่เป็นโตในหน้าที่การงานระดับ GM แล้ว เรื่องราวที่เราคุยกันในวันนั้นก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับบรรยากาศ สังคม การใช้ชีวิตทั่วไป ในสถาบันการศึกษา และประสบการณ์ของเด็กช่างทั่วไป ที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

 

มีหลายคำตอบที่น้องเขาตอบได้อย่างน่าประทับใจ  ตั้งแต่เรื่องการเริ่มเข้าไปเรียนในสาขานี้  ผมถามว่า .ทำไมมาเรียนช่างยนต์น้องเขาบอกว่า มันเกิดจากความชอบ โดยเริ่มต้นจาการถอดประกอบซ่อมมอเตอร์ไซค์ การได้ขับขี่ ปรับแต่งเครื่อง การได้มีโอกาสไปคลุกคลีกับร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ จึงเกิดแรงบันดาลใจว่าจะต้องเข้าเรียนช่างยนต์ให้ได้  ผมถามต่อถึงเรื่องความคิดเห็นของพ่อแม่ว่าสนับสนุนหรือไม่ เขาบอกว่า พ่อแม่ก็สนับสนุนและให้ความสำคัญ และคุณพ่อก็เป็นช่างด้วย

 

ถามเรื่องการรับน้องในโรงเรียนว่ามีมั้ย และมีความคิดเห็นอย่างไร น้องเขาตอบว่ามี  และสิ่งที่รุ่นพี่ทำกันเขาบอกเขายอมรับได้ ไม่มีอะไรรุนแรง จากข้อมูลที่น้องเล่าให้ฟัง กิจกรรมรับน้องก็เหมือนกับกิจกรรมรับน้องสมัยเมื่อ 20 กว่าปีก่อนที่ผมเคยโดนมา บางอย่าง เบากว่าด้วยซ้ำ ที่น่าประทับใจคือ รุ่นน้องกับรุ่นพี่รักกัน ไม่มีแอลกอฮอล์ รุ่นพี่สอนรุ่นน้อง ให้มีระเบียบวินัย มีใจรัก และทัศนคติที่ดีต่องาน เช่น การเอานำมันเครื่องมาทาตัวแขนขา แต่ต้องรักษาเสื้อผ้าให้สะอาด เป็นการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย และสร้างทัศนคติเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของงานช่าง บางคนอาจจะแพ้น้ำมันเครื่อง ทำให้ไม่เหมาะกับการเรียนในสาขานี้  ลักษณะที่ดีของช่างต้องเป็นคนสะอาด แต่ไม่สำอางค์ เพราะถึงแม้งานจะหนักและสกปรก แต่ผลงานและตัวเราต้องไม่สกปรกไปด้วย  เรื่องนี้จะเห็นจากตัวอย่างพนักงานช่างตามโชว์รูมต่างๆ จะเห็นว่าเครื่องแบบจะเป็นชุดขาวล้วน แต่ทำไมเสื้อผ้าไม่สกปรกเลย รถที่ทำให้ลูกค้าต้องสะอาดสะอ้านสวยงาม

 

ถามเรื่องบรรยากาศการเรียนการสอน น้องเขาบอกว่า เขาชอบและสนุกกับการเรียนรู้วิชาในภาคปฏิบัติ เพราะได้เห็นจริง ทำจริง แต่จะหนักใจบ้างในเรื่องทฤษฎี ผมก็ให้กำลังใจไปว่า ทฤษฎี เป็นแนวทางเบื้องต้น แต่ต้องรู้ไว้ ถ้าเราปฏิบัติอย่างเดียวไม่มีทฤษฎี อาจจะทำให้การเรียนรู้ช้า หรือหลงทางได้  ถามว่าในห้องมีเด็กเรียนมั้ย เขาตอบว่า ก็มีบ้าง ที่เอาแต่เรียนอย่างเดียวไม่สนใจใคร ผมก็เลยให้คำแนะนำว่า อยากให้เขาดึงเด็กเรียนพวกนี้มาเป็นพวกให้ได้ เราจะใช้ประโยชน์จากคนพวกนี้ได้อย่างไร

 

ถามเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน น้องเขาก็บอกตามความเข้าใจในการทำงานทั่วไปที่ครูสอนคือปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด ผมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่า สมัยผมก็มีคนพวกนี้เหมือนกัน ที่พยายามทำตัวให้เป็นจุดเด่น โดยการแหกกฎ หรือสร้างความแตกต่าง โดยดูถูกคนที่ทำตามระเบียบขั้นตอนว่าเป็น ไอ้อ่อน” “ไม่ใจบ้าง ยกตัวอย่างเช่น การต่อไฟ ต้องปิดสวิตช์ ตัดไฟออกเสีย ก่อน แต่พวกที่ไม่ตัดไฟเขาบอกว่าพวกที่ตัดไฟก่อนเป็นพวกที่  .ไม่กล้า” “ไอ้อ่อน” “ไม่ใจ  แต่ผมตอกกลับพวกนี้ว่า พวกที่ไม่ทำคือพวกที่ไม่กล้า หรือ ไอ้อ่อน เองนั่นแหละ ที่ไม่กล้าตัดไฟก่อนอ่อนว่ะ

 

ถามเรื่องยาเสพติดกับการคบเพื่อน เขาบอกว่าให้ห้องก็มีเพื่อนเสพบ้าง แต่เป็นส่วนน้อย  ทำให้คนส่วนใหญ่รู้สึกรังเกียจและไม่อยากคบด้วย น้องเขามีคำพูดกับเพื่อนที่น่าประทับใจอย่างหนึ่งคือ ถ้ามึงจะคบพวกกูเป็นเพื่อนต่อไป มึงอย่าเอายามาเกี่ยวข้องกับพวกกูได้มั้ย จะสังเกตได้ว่าคนที่ไม่เสพยาจะมีกลุ่มใหญ่กว่าการเสพยา และมีอิทธิพลเหนือกว่า

 

ถามถึงเรื่องการทะเลาะเบะแว้งระหว่างสถาบัน  ผมเข้าใจว่าน้องเขาคงเพิ่งเข้าเรียน ยังคงไม่มีเรื่อง มีราวกับใคร อีกทั้งการปลูกฝังของรุ่นพี่ก็ดีที่ไม่สนับสนุนให้มีเรื่องมีราวกับใคร และให้พยายามหลีกเลี่ยง เพราะถามถึงคู่อริของสถาบันก็ไม่มี ผมยกตัวอย่างรุ่นผม ในแต่ละสถาบันจะมีคู่อริประจำ เช่น เทคนิคมีนกับไทยสุริยะ เทคนิคกรุงเทพกับเทคโนโลยีกนก  หรือแม้แต่กับสถาบันเดียวกัน เช่น ช่างก่อสร้างจะไม่ถูกกับช่างยนต์ เป็นต้น น้องเขาก็ยังตามไม่ทัน

 

จากที่คุยมาทั้งหมดผมคิดว่าน้องคนนี้ไม่ธรรมดาครับ  ทัศนคติการเรียนรู้ การใช้ชีวิตดีมาก และยังได้พ่อแม่ที่เข้าใจลูก สถาบันการศึกษาเป็นส่วนสำคัญในการสร้างแนวคิดในการดำเนินชีวิตด้วย ก่อนจากกันผมได้ให้กำลังใจน้องเขาไปว่า ขอให้ภูมิใจในงานช่างและเรียนรู้อย่างมีความสุขต่อไปนะครับ อนาคตของเด็กช่างสดใสแน่นอน

 

ภาพและข้อมูลบางส่วนจาก http://www.donboscobkk.ac.th/album/about_school/default.html

หมายเลขบันทึก: 272517เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2009 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เกิดจากความชอบ และพ่อแม่สนับสนุน น่ายินดี ค้นหาตัวเองเจอค่ะ

คนมีความคิดมีทัศนคติที่ดี ก็สมควรได้อยู่ในสถานศึกษาที่ดีและได้เพื่อนที่ดี ที่สุดแล้วอนาคตก็ไม่พ้นจะได้รับแต่การงานและชีวิตที่ดีด้วยครับ

ถ้าสถาบันไหนคุณภาพไม่ดี พ่อแม่ก็ไม่ควรส่งลูกไปเรียน ก็จะช่วยให้ลูกไม่ต้องเจอกับสภาพแวดล้อมไม่ดีเพื่อนไม่ดี

ขอบคุณ ทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือนครับ

คุณ berger0123 P

คุณ Apicha P

จากงานวิจัยในหนังสือ Good to Great เราจะเห็นว่า การรับคนเข้าทำงานจะรับคนดีก่อน แล้วค่อยคิดให้เขาไปทำอะไรต่อไป นั่นแสดงว่า Attitude น่าจะมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ตามหลักคิด "ดี สุข สามารถ" ครับ

สวัสดีค่ะ

แวะมาเยี่ยมค่ะ ไม่ได้คุยหลายวันเลยเข้ามาทักทายค่ะ

วันนี้ขอปิดท้ายที่ คุณไทเลย ค่ะ

ราตรีสวัสดิ์

จะเข้านอนแล้วค่ะ

หวัดดีนะคับ

ผมเด็กชุมพร

ผมอย่างรู้ว่าเรียนช่างยากมากไหมคับ

ผมยังไม่รู้ทีว่าช่างยนต์มันจะเรียนยากป่าว

แต่นอนนี้ผมเริ่มทำเกี่ยวกับช่วงล่างรถยนต์ได้แล้ว

โดยมีลูกพี่ อ๊อดของผมสอน

อยากรู้ว่าเรียนยากป่าว

เม้นบอกมั่งคับ

555+

เรียนช่างยนต์ได้พื้นฐานทุกช่าง คำนวนเยอะ

ช่างยนต์ก็เป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้สบาย แต่ต้องใช้ความอดทน และค้นคว้าหาความรู้จากการถ่ายทอดประสบการณ์จากครูผู้สอนและการฝึกประสบการณ์ ควรเริ่มเรียนตั่งแต่ ปวช ช่างยนต์ ต่อปวส เทคนิคยานยนต์ ถ้าจบม.6แล้วต่อปวส จะเสียเวลาปรับพื้นฐานทางช่าง 1ปี กลายเป็นเรียน ปวส 3 ปี เสียเวลา แต่ถ้าจะเรียนวิศวกรรม จบปวช แล้วสอบเข้าสถาบันที่เปิดสอนจะดีกว่า ท่าใดที่จะเรียนช่างยนต์แล้วยึดเป็นอาชีพก็ขอให้ประสบผลสำเร็จตามตั้งใจนะครับ +++เรียนช่างไม่ยากอย่างที่คิดถ้ามีความชื่นชอบ จากเด็กช่างยนต์(ทวิภาคี)เทคนิคสุรินทร์2549

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท