หมู่เลือด


ข้อควรรู้เล็กๆน้อยเกี่ยวกับ หมู่เลือด ครับ

คนเหมือนกันแต่เลือดเราไม่เหมือนกัน เลือดประกอบด้วยเม็ดเลือดน้ำเลือดและเกร็ดเลือด เม็ดเลือดประกอบด้วยเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิดมีหน้าที่ในเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันร่างกาย เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่ในการนำอ็อกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อของร่างกายส่วนต่างๆ ส่วนเกร็ดเลือดทำหน้าที่สำคัญในการหยุดการไหลของเลือดจากหลอดเลือดที่ฉีกขาด
 
เม็ดเลือดแดงเป็นส่วนของเลือดที่ใช้ให้ในผู้ที่สูญเสียเลือด เมื่อเม็ดเลือดแดงมีความแตกต่างกันก็มีวิธีการในการจำแนกออกเป็นกลุ่มหรือหมู่ ระบบหมู่เลือดที่ใช้ประจำและเป็นที่รู้จักกันดีคือ ระบบ ABO   แต่สมาคมนานาชาติทางการถ่ายเลือด (ISBT) กล่าวว่าเลือดสามารถแยกเป็นหมู่ๆโดยใช้ระบบการจัดจำแนกหมู่เลือดซึ่งมีมากถึง 30 ระบบ ทั้งนี้เพราะว่ามีแอนติเจนชนิดอื่นๆอีกมากมายบนผิวเม็ดเลือดแดงนอกเหนือแอนติเจนที่ใช้ในระบบหมู่เลือด ABO และเรซัสแอนติเจน (Rhesus antigen) ดังนั้นการจะบอกกลุ่มเลือดของคนๆหนึ่งอาจจะแจงอย่างละเอียดลงไปในแต่ละแอนติเจนต่างๆเหล่านั้น เช่น ระบบ ABO ตามด้วยระบบ MNS, ระบบ Kell, และระบบ Lewis
(หรือในระบบ ABO ยังบอกชนิดย่อยๆ (subtype) ของแอนติเจนคือมี A1 และ A2, A1B และ A2B ได้อีกด้วย)

ข้อควรรู้บางประการ

  1. แอนติเจนบนผิวเม็ดเลือดแดง อาจเป็นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไกลโคโปรตีน หรือไกลโคไลปิด ก็ได้
  2. แอนติเจนในระบบหมู่เลือด ABO คือ 
    1. เลือดหมู่ เอ มีแอนติเจนเอ (หรือ A oligosaccharide) และมีแอนติบอดีต่อแอนติเจนบี
    2. เลือดหมู่ บี มีแอนติเจนบี (หรือ B oligosaccharide) และมีแอนติบอดีต่อแอนติเจนเอ
    3. เลือดหมู่ เอบี มีแอนติเจนเอ และบี (หรือA and B oligosaccharide) และไม่มีแอนติบอดีต่อแอนติเจนทั้งสองชนิด
    4. เลือดหมู่ โอ ไม่มีแอนติเจนเอหรือบี (หรือมีเพียงโมเลกุลเริ่มต้น (precursor) เรียก H oligosaccharide) และมีแอนติบอดีต่อแอนติเจนทั้งสองชนิด
  3. โดยชื่อของระบบต่างๆจำนวนมากนี้ได้มาจากชื่อของผู้ป่วยที่มีแอนติบอดีต่อแอนติเจนใหม่ๆบนผิวเม็ดเลือดแดงเป็นครั้งแรก


ระบบหมู่เลือดทั้ง 30 ระบบ แสดงดังตารางที่ 1 นี้ (ตารางนี้มาจากอ้างอิง 1  รายละเอียดและลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม ให้ดูจากเอกสารอ้างอิงหมายเลข 1)

ISBT N° Common Name Abbreviation Epitope or carrier, notes Locus
001 ABO ABO Carbohydrate (galactose). A, B and H antigens mainly elicit IgM antibody reactions, although anti-H is very rare, see the Hh antigen system (Bombay phenotype, ISBT #18). 9
002 MNS MNS GPA / GPB (glycophorins A and B). Main antigens M, N, S, s. 4
003 P P1 Glycolipid. 22
004 Rhesus RH Protein. C, c, D, E, e antigens (there is no "d" antigen; lowercase "d" indicates the absence of D). 1
005 Lutheran LU Protein (member of the immunoglobulin superfamily). Set of 21 antigens. 19
006 Kell KEL Glycoprotein. K1 can cause hemolytic disease of the newborn (anti-Kell), which can be severe. 7
007 Lewis LE Carbohydrate (fucose residue). Main antigens Lea and Leb - associated with tissue ABH antigen secretion. 19
008 Duffy FY Protein (chemokine receptor). Main antigens Fya and Fyb. Individuals lacking Duffy antigens altogether are immune to malaria caused by Plasmodium vivax and Plasmodium knowlesi. 1
009 Kidd JK Protein (urea transporter). Main antigens Jka and Jkb. 18
010 Diego DI Glycoprotein (band 3, AE 1, or anion exchange). Positive blood is found only among East Asians and Native Americans. 17
011 Yt or Cartwright YT Protein (AChE, acetylcholinesterase). 7
012 XG XG Glycoprotein. X
013 Scianna SC Glycoprotein. 1
014 Dombrock DO Glycoprotein (fixed to cell membrane by GPI, or glycosyl-phosphatidyl-inositol). 12
015 Colton CO Aquaporin 1. Main antigens Co(a) and Co(b). 7
016 Landsteiner-Wiener LW Protein (member of the immunoglobulin superfamily). 19
017 Chido/Rodgers CH/RG C4A C4B (complement fractions). 6
018 Hh/Bombay H Carbohydrate (fucose residue). 19
019 Kx XK Glycoprotein. X
020 Gerbich GE GPC / GPD (Glycophorins C and D). 2
021 Cromer CROM Glycoprotein (DAF or CD55, regulates complement fractions C3 and C5, attached to the membrane by GPI). 1
022 Knops KN Glycoprotein (CR1 or CD35, immune complex receptor). 1
023 Indian IN Glycoprotein (CD44 adhesion function?). 11
024 Ok OK Glycoprotein (CD147). 19
025 Raph MER2 Transmembrane glycoprotein. 11
026 JMH JMH Protein (fixed to cell membrane by GPI). 6
027 Ii I Branched (I) / unbranched (i) polysaccharide. 6
028 Globoside P Glycolipid. 3
029 GIL GIL Aquaporin 3. 9
030 Rh-associated glycoprotein RHAG Rh-associated glycoprotein 6p21-qter

 

ตารางที่ 2 ความชุกหมู่เลือดในประชากรของประเทศต่างๆตามระบบหมู่เลือด ABO โดยเครื่องหมายลบหมายถึง ไม่มีแอนติเจนอาร์เอช (Rhesus antigen) ส่วนเครื่องหมายบวกแสดงว่ามี

จากตารางจะเห็นว่า ในประชากรของแต่ละประเทศกลุ่มเลือดหมู่โอมีจำนวนมากที่สุดและหมู่เอบีหายากสุด(ซึ่งส่วนใหญ่ทราบกันแล้ว) ถ้าดูเฉพาะกลุ่มบวกกับกลุ่มลบหรือมีแอนติเจนอาร์เอชหรือไม่ จะเห็นว่าประชากรโลกส่วนใหญ่มีแอนติเจนอาร์เอช และถ้าเทียบกลุ่มที่ไม่มีแอนติเจนอาร์เอชในชาวเอเชีย ตัวอย่างเช่น จีน (China) จะไม่ค่อยพบแอนติเจนอาร์เอช หรือมี Rh negative น้อยคือรวมทุกหมู่เลือดแล้วมีน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ (ดังนั้นคนเอเชียน่าจะมีแอนติเจนอาร์เอชมากกว่าชนชาติอื่นๆ หรือกล่าวอีกอย่างคือมี Rh- น้อยกว่าชนชาติอื่นคือไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์---ตัวเลขจากประชากรประเทศจีน)

ความสำคัญของแอนติเจนอาร์เอช

หญิงที่ตั้งครรภ์ที่มีอาร์เอชลบและมีลูกคนแรกมีอาร์เอชบวกนั้นมีความเสี่ยงของการเกิดอันตรายต่อลูกคนที่สองที่มีอาร์เอชบวก เนื่องจากแอนติเจนอาร์เอชจากลูกคนแรกอาจกระตุ้นภูมิคุ้มกันในมารดาให้สร้างแอนติบอดีซึ่งอาจไปจับกับแอนติเจนอาร์เอชบนเม็ดเลือดแดงของลูกคนที่สองที่อยู่ในครรภ์ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันในตัวลูกนำไปสู่การแตกของเม็ดเลือดแดง

 

ตารางที่ 3  การเข้ากันได้ของเม็ดเลือดแดง จากผู้ให้ (Donor) และผู้รับ (Recipient) ทั้งนี้ในกรณีที่ไม่มีแอนติบอดีอื่นที่อาจเป็นสาเหตุของการไม่เข้ากันของเลือดผู้ให้และเลือดผู้รับ

 

ภาพที่ 1 แสดงการให้เม็ดเลือดแดงแก่กันได้ (ความเข้ากันได้ระหว่างเม็ดเลือดกลุ่มต่างๆ)

 

ตารางที่ 4 แสดงการเข้ากันได้ของน้ำเลือด(พลาสมา) เครื่องหมายถูกแสดงว่าสามารถให้น้ำเลือดจากผู้ให้หรือบริจาค (Donor) แก่ผู้รับ (Recipient) ทั้งนี้ในกรณีที่ไม่มีแอนติบอดีแปลกปลอมอื่นในน้ำเลือดผู้บริจาค

 

ภาพที่ 2  การเข้ากันของน้ำเลือด (ข้อมูลเช่นเดียวกับตารางแต่แสดงเป็นภาพ)

 

 

เอกสารอ้างอิง
[1.] http://en.wikipedia.org/wiki/Human_blood_group_systems
[2.] http://en.wikipedia.org/wiki/Blood_type

 

คำสำคัญ (Tags): #หมู่เลือด
หมายเลขบันทึก: 272285เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2009 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท