แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันท้ายชั่วโมง


การลงทุน

ร่วมกันแสดงความคิดเห็นหลังจากการนำเสนอของแต่ละกลุ่มนะค่ะ..

คำสำคัญ (Tags): #การลงทุน
หมายเลขบันทึก: 272143เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2009 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (88)

1. นอกเหนือจากที่กลุ่มรายงานได้Present ไปแล้ว ยังมีความเสี่ยงอะไรอีกบ้าง

       ตอบ   นอกเหนือจากอัตราดอกเบี้ยและราคาแล้ว ยังมี

                     - ความเสี่ยงจากการขายสภาพคล่อง

                     - ความเสี่ยงจากการผิดสัญญา

                     - ความเสี่ยงจากการเรียกไถ่ถอนก่อนกำหนด

                     - อัตราเงินเฟ้อ

                     - ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด

2. เกณฑ์อะไรที่ระบุว่า หุ้นตัวใหม่เป็นหุ้นกู้ที่มีสิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด

      ตอบ   แล้วแต่ผู้ออกหุ้นกู้จะกำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน

คำถามข้อที่ 1 ในการลงทุนในตราสารหนี้ มีข้อควรระวังอย่างไร

คำตอบข้อที่ 1 ควรระวังในเรื่องอัตราดอกเบี้ย ถ้าอัตราดอกเบี้ยในตลาดต่ำ ควรที่จะเลือกลงทุนในตราสารหนี้ แต่ถ้าอัตราดอกเบี้ยในตลาดสูง ควรที่จะนำเงินไปฝากในธนาคาร

 

คำถามข้อที่ 2 ถ้าบริษัทจะจ่ายผลตอบแทน ในกรณีที่บริษัทล้มละลาย ผู้ที่ถือหุ้นชนิดใดที่จะได้รับผลตอบแทนนั้นก่อน ระหว่างผู้ที่ถือหุ้นกู้ หุ้นบุริมสิทธิ และหุ้นสามัญ

คำตอบข้อที่ 2 ผู้ที่ถือหุ้นกู้จะได้รับผลตอบแทนนั้นเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ผู้ที่ถือหุ้นบุริมสิทธิ และผู้ที่ถือหุ้นสามัญ ตามลำดับ

คำถามที่ 1 ปัจจุบันเราควรลงทุนในตราสารหนี้หรือตราสารทุน เพราะอะไร

 ตอบ ได้ทั้งสองอย่างแต่ควรดูสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันว่าควรลงทุนในตราสารชนิดใด

คำถามที่ 2 ในการจ่ายเงินปันผลผู้บริหารต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

ตอบ      1.ดูกำไรในแต่ละปี   2.ดูโครงสร้างในอนาคต 3.ดูภาระการจ่ายหนี้ 4.นโยบายของบริษัท 5.ข้อกำหนดทางกฏหมาย

คำถามที่ 1 ในขณะที่ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลงมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นอย่างไรบ้าง?

ตอบ ถ้าราคาหุ้นตกนักลงทุนมักจะเทขายหุ้นทำให้เกิดตลาด Bearlish

ถ้าราคาหุ้นเพิ่มนักลงทุนมักจะซื้อหุ้นเพิ่มทำให้เกิดตลาด Bullish

คำถามที่ 2 ตราสารหนี้ผู้ขายจะถูกหักภาษีจ่ายหรือไม่ ถ้าต้องจ่ายต้องจ่ายกี่ %?

ตอบ ผู้ขายต้องถูกหักภาษีจ่าย 15%

คำถามข้อที่ 1 การซื้อขายผ่านระบบตลาดที่มีระเบียบ กับ การซื้อขายผ่านตลาดต่อรอง มีความแตกต่างกันอย่างไร

คำตอบข้อที่ 1 การซื้อขายผ่านระบบตลาดที่มีระเบียบ เป็นตลาดมีระเบียบ เป็นตลาดที่มีการซื้อและขายหลักทรัพย์หรือตราสารอนุพันธ์อย่างเปิดเผย มีการกำหนดราคา และช่วงของการขึ้นลงราคาอย่างชัดเจน ข้อมูลข่าวสารของผู้ลงทุนจะได้รับอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน มีการเปิดเผยราคาหลักทรัพย์และราคาอนุพันธ์ให้ประชาชนผู้ลงทุนทราบ ส่วนการซื้อขายผ่านตลาดต่อรอง เป็นการซื้อขายตราสารอนุพันธ์โดยการตกลงกันเองระหว่างผู้ลงทุน โดยที่การซื้อขายตราสารอนุพันธ์นั้นจะทำการชำระราคาและส่งมอบกันนอกระบบตลาด คือ ไม่มีการซื้อขายผ่านตลาดแบบมีระเบียบ

คำถามข้อที่ 2 ในปัจจุบัน ตราสารอนุพันธ์ที่มีการซื้อขายมากที่สุดของตลาด TFEX คืออะไร แล้วทำไมถึงคิดว่าเป็นตราสารชนิดนี้

คำตอบข้อที่ 2 SET 50 INDEX FUTURE เพราะมีการซื้อขายที่สามารถเปลี่ยนมือกันได้ง่าย และมีสภาพคล่องสูง

1. ถ้าเป็นนักลงทุนมือใหม่ควรลงทุนในกองทุนปิดหรือกองทุนเปิดเพราะเหตุใด

ตอบ เลือกซื้อขายในกองทุนเปิดเพราะสามารถซื้อขายได้ตลอดเวลาและมีความคล่องตัว

2. ถ้าไม่ชอบความเสี่ยงแต่อยากได้ผลตอบแทนสูงจะลงทุนในกองทุนใด

ตอบ ควรเลือกกองทุนผสม

 1. ช่วยยกตัวอย่างกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ ที่มีอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ มา 3 ตัวอย่าง

ตอบ 1. กลุ่มพลังงาน ได้แก่ PTT ,BANPU ,THAIOIL

       2. กลุ่มธนาคาร ได้แก่ KBANK ,LAND & HOUSE

       3. กลุ่มอาหาร ได้แก่ CP ,OISHI

            (ขึ้นอยู่กับอรรถประโยชน์ของแต่ละบุคคล)

1. สินทรัพย์อ้างอิงคืออะไร

ตอบ ตราสารอนุพันธ์ที่ถูกสร้างและออกแบบมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารทางการเงินที่เกี่ยวข้องกัน หรือสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Assets)

2. swop คืออะไร มีกี่ประเภท

ตอบ   การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ/ชุมชน (SWOT) เพื่อศึกษาแนวโน้มพัฒนาการขององค์การหรือชุมชน การสำรวจ เพื่อศึกษาความต้องการของชุมชน และความต้องการของชาวบ้านในชุมชน และนำมาสรุปเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้ตรงและตอบสนองความต้องการของชุมชน การวิเคราะห์สภาพขององค์การเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาจะต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย ซึ่งการวิเคราะห์ SWOT เป็นกาารจัดทำแผนกลยุทธ์วิธีหนึ่งซึ่งจะช่วยให้องค์การ หรือชุมชนได้ทราบถึงสถานภาพของตัวเอง อันจะทำให้สามารถกำหนดเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและประสบความสำเร็จ โดยวิเคราะห์จากสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกขององค์การหรือชุมชนนั้น ๆ

1. นอกจากทฤษฏี มาร์โควิค ยังมีทฤษฏีใดที่ใช้ในการวิเคราะห์หลักทรัพย์

 ตอบ ทฤฎีดาวส์  คือ การให้ทฤษฎีแบบคลื่นเปรียบกับคลื่นที่อยู่ในทะเล ซึ่งจะเคลื่อนไหวไปตามแนวโน้ม

การเลือกกลุ่มหลักทรัพย์ต้องเลือกหลักทรัพย์ประเภทใดจึงทำให้เกิดความเสี่ยงที่น้อยแต่มีอัตราผลตอบแทนที่สูง

ตอบ ไม่มีทฤษฎีที่ตายตัวแล้วแต่ว่าผู้ลงทุนจะสามารถยอมรับความเสี่ยงได้มากแค่ไหน ตามคำที่ว่า เมื่อมีความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนก็จะสูง แต่ถ้าความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนก็จะต่ำไปด้วย

น.ส.ดวงฤทัย แสงสุวรรณ์ รหัส49473120003

คำถาม :การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

ตอบ :ในความคิดเห็นของข้าพเจ้าในเรื่องการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมนั้นมีผลดีต่อนักลงทุนอย่างมากเพราะจะทำให้นักลงทุนมีทางเลือกมากขึ้นและสามารถที่จะเลือกลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์ที่คิดค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าได้ เนื่องจากบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆก็ต้องมีการแข่งขันกันในเรื่องของของการคิดราคาค่าธรรมเนียมเพื่อที่จะดึงดูดให้มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนกับบริษัทในจำนวนมากๆเป็นการแข่งขันกันในเรื่องส่วนแบ่งทางการตลาด  ดังนั้นผลดีย่อมส่งผลต่อนักลงทุนแน่นอนซึ่งจะช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนในหลักทรัพย์นั่นก็คือค่าธรรมเนียมที่ไม่ต้องเสียในราคาแพงเนื่องจากสามารถเลือกลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์ที่คิดค่าธรรมเนียมถูกกว่าก็ได้

นายทักษ์ดนัย ธนหิรัญพัฒน์ 473120029

คำถาม :การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร          

ตอบในความคิดของผมก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียครับ ข้อดีคงเป็นการที่นักลงทุนได้มีตัวเลือกในการตัดสินใจในการลงทุนเพราะการที่มีการปรับค่าทำเนียมแบบเปิดเสรีทำให้มีการแข่งขันกันด้านราคาซึ่งเป็นตัวหนึ่งในการตัดสินใจว่าควรที่จะลงทุนกับใครที่ทำให้เสียค่าใช้จ่ายด้านนี้น้อยที่สุด ส่วนข้อเสียคือถ้าเกิดบริษัทหลักทรัพย์มีการรวมตัวกันแล้วตั้งค่าธรรมเนียมให้สูงขึ้นกว่าเดิมสมมุติโดยที่อาจจะมีข้อตกลงที่ว่าไม่ให้ต่ำกว่า0.4%ซึ่งจากเดิม0.25%โดยอาจมีการแข่งขันกันลดราคาแต่ราคาค่าธรรมเนียมนั้นจะต้องไม่ต่ำกว่า0.4%โดยยึดราคา0.4%เป็นฐานของค่าธรรมเนียมหรือไม่ก็บริษัทหลักทรัพย์ใช้ค่าธรรมเนียมเดียวกันหมดแต่ราคาค่าธรรมเนียมนั้นอาจจะสูงกว่า0.25%ในปัจจุบันก็ได้

นางสาว ศิรัญญ ยอดแก้ว

คำถาม  การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

ตอบ      ดิฉันคิดว่าการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมเป็นผลดีกับนักลงทุนโดยตรง เหตุผลเพราะว่านักลงทุนจะได้มีสิทธิในการเลือกบริษัทหลักทรัพย์ที่เข้ามาทำการซื้อขายหลักทรัพย์ได้มากขึ้นได้มีการเปรียบเทียบราคาค่าธรรมเนียมก่อนที่จะตัดสินใจเลือกและเลือกบริษัทที่เก็บค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าเพื่อผลประโยชน์ของนักลงทุนเอง เนื่องจากว่าเงินส่วนหนึ่งที่จะต้องจ่ายให้กับตลาดหลักทรัพย์นั้น จะได้นำมาเป็นส่วนเพิ่มให้กับเงินที่จะนำไปใช้จ่ายหรือลงทุนต่อไป

จิราวรรณ ใจประสิทธิ์ รหัส 49473120004

ในความคิดเห็นของดิฉันนะค่ะ การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมนั้นมีผลดีต่อนักลงทุนค่ะเพราะจะทำให้นักลงทุนสามารถที่จะตัดสินใจเลือกลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์ที่คิดค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าได้ น่าจะเป็นผลให้บริษัทหลักทรัพย์ต่างๆต้องมีการปรับกลยุทธ์ในแข่งขันซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะดึงดูดให้มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนกับบริษัทตน

ดังนั้นก็เป็นผลดีต่อนักลงทุนแน่นอน นั่นก็คือค่าธรรมเนียมที่ต่ำลง เนื่องจากสามารถเลือกลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์ที่คิดค่าธรรมเนียมถูกกว่า

น.ส.พรระวี แซ่อั้ง รหัส 49473120043

คำถาม การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

คำตอบ ในความคิดเห็นของดิฉันในเรื่องนี้ ดิฉันคิดว่าการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนค่ะ เพราะว่าเมื่อค่าธรรมเนียมลดลง นักลงทุนก็จะหันมาซื้อหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์มากขึ้น เพราะค่าธรรมเนียมเป็นตัวแปรหนึ่งในการจูงใจให้นักลงทุนเข้ามาในตลาดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นสำหรับการแข่งขัน และเป็นเหตุให้บริษัทต่าง ๆ ปรับกลยุทธ์ต่าง ๆ ในการแข่งขัน เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด ทั้งนี้เมื่อบริษัทหลักทรัพย์ใดที่คิดค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า ก็มีโอกาสสูงที่จะได้ส่วนแบ่งทางการตลาดที่มากกว่า ซึ่งก็เป็นผลพลอยได้ของนักลงทุนที่จะได้ค่าธรรมเนียมที่ต่ำ และเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนในหลักทรัพย์อีกด้วย

น.ส.ภูริดา เลาฉัตติกุล รหัส 49473120078

คำถาม    การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่  อย่างไร

ตอบ         ในความคิดเห็นของดิฉันเกี่ยวกัยเรื่องนี้ ดิฉันคิดว่านโยบายเปิดเสรีการคิดอัตราค่าธรรมเนียมซื้อ ขายหลักทรัพย์นั้นมีผลดีต่อนักลงทุนมากค่ะ เพราะนักลงทุนจะได้เสียค่าธรรมเนียมอย่างเป็นธรรมเพราะมีโอกาสที่จะต่อรองราคาได้ นอกจากนั้นนักลงทุนยังมีโอกาสเลือกที่จะลงทุนตามความต้องการของตนเองได้มากที่สุด เพราะbrokerในตลาดย่อมแข่งขันกันเพื่อเสนอบริการให้ตรงกับความต้องการของนักลงทุน จะเห็นได้ว่าการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมทำให้นักลงทุนได้รับความเป็นธรรมในการเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อ ขายหลักทรัพย์ และนักลงทุนยังได้รับผลประโยชน์ตอบแทนที่เต็มเม็ดเต็มหน่อยในระยะยาวและอีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งนั้นจะทำให้กลไกของตลาดทุนคล่องตัวสูงขึ้นอีกด้วย

น.ส.สุภาวรรณ จิแอ รหัส 49473120020

คำถาม การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

ตอบ ในความคิดเห็นของดิฉัน การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุน เนื่องจากนักลงทุนมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้นในการเลือกซื้อหลักทรัพย์จากหน่วยธุรกิจต่าง ๆ ทำให้ธุรกิจเกิดการแข่งขันทางด้านราคาค่าธรรมเนียม ผลดีก็จะตกอยู่ที่นักลงทุนเอง แต่การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมจะเกิดผลกระทบต่อหน่วยธุรกิจ เนื่องจากหน่วยธุรกิจจะต้องแข่งกันลดค่าธรรมเนียม เพื่อจะได้ดึงลูกค้าให้มาใช้บริการตน ทำให้รายได้ของหน่วยธุรกิจลดลง

นางสาวมลิศา ธนบัตร รหัส 49473120034

คำถาม การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

คำตอบ ในความคิดของดิฉัน คิดว่าการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมจะส่งผลดีต่อนักลงทุนค่ะ เพราะว่า เมื่อมีการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมก็จะทำให้มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนในหลักทรัพย์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากจะทำให้การลงทุนในหลักทรัพย์นั้นมีค่าใช้จ่ายที่น้อยลงจากการลดลงของค่าธรรมเนียม ส่งผลให้มีกำไรมากขึ้น ดังนั้น บริษัทหลักทรัพย์ก็จะมีการแข่งขันกันมากขึ้น เพราะหากบริษัทหลักทรัพย์ใดมีการคิดค่าธรรมเนียมที่ต่ำก็จะส่งผลให้มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนด้วยมากขึ้น จึงถือว่าส่งผลดีต่อนักลงทุนเป็นอย่างมาก

คำถาม สมมติถ้าคุณเป็นบริษัทโบรกเกอร์ จะมีคำแนะนำอย่างไรบ้างกับนักลงทุนมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ ณ เศรษฐกิจปัจจุบันนี้

คำตอบ การวิเคราะห์การยอมรับความเสี่ยงของลูกค้า

           - ถ้าลูกค้ายอมรับความเสี่ยงสูง ก็ควรลงทุนในหุ้นสามัญ

           - ถ้าลูกค้ายอมรับความเสี่ยงต่ำ ก็ให้ลงทุนในหุ้นกู้

การเปิดบัญชี มี 2 แบบ

           - บัญชีเงินสด จ่ายเป็นเงินสดทั้งหมด

           - บัญชี Magin ไม่ต้องจ่ายเป็นเงินสดทั้งหมด

การซื้อขายหลักทรัพย์

        เริ่มจาก เมื่อนักลงทุนต้องการซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ นักลงทุนจะต้องส่งคำสั่งซื้อ หรือขาย ผ่านบริษัทสมาชิก (หรือโบรกเกอร์) ที่นักลงทุนผู้นั้นเป็นลูกค้า(เปิดบัญชี)อยู่ จากนั้นโบรกเกอร์จะนำคำสั่งซื้อหรือขายนั้นส่งเข้ามายังระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเมื่อคำสั่งต่างๆ เข้าสู่ระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบบจะจัดเรียงลำดับ และจับคู่การซื้อขายตามหลักเกณฑ์ ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดไว้ เมื่อมีการจับคู่การซื้อขายได้แล้วระบบจะยืนยันคำสั่งดังกล่าวกลับมาที่โบรกเกอร์ เพื่อให้โบรกเกอร์แจ้งกับนักลงทุนอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ระบบจะมีการรายงานการซื้อขายไปยัง บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการชำระราคา และส่งมอบหลักทรัพย์ ตามวันเวลา ที่กำหนด  

 

 

 

 

น.ส.ทัศนีย์ ภูศรีฤทธิ์ รหัส 49473120015

คำถาม การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

คำตอบ ดิฉันคิดว่าการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุน

เพราะไม่มีข้อจำกัด กฎเกณฑืที่แน่นอน ตายตัว โดยที่นักลงทุนสามารถ

มีสิทธิต่อรองคุยราคากันได้อย่างเสรี นักลงทุนยังสามารถที่จะเลือกลงทุนกับโบรคเกอร์

ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดได้ซึ่งเป็นประโยชน์แก่นักลงทุน

น.ส. ศิริทิพย์ ร่มโพธิ์ภักดิ์ รหัส 49473120040

คำถาม การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

คำตอบ ดิฉันคิดว่าการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุน เพราะ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว สามารถตกลงต่อรองกันได้อย่างเสรีภาพ ซึ่งจะได้รับความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย

จึงทำให้นักลงทุนได้รับประโยชน์ที่ได้มีสิทธิเลือสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผู้ลงทุน

น.ส. นิภาวรรณ บุญวงศ์ รหัส 49473120018

คำถาม การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

คำตอบ ในความคิดเห็นของดิฉัน ดิฉันคิดว่าในการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนเพราะทำให้นักลงทุนนั้นมีโอกาสและมีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้นเพราะไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว นักลงทุนจึงสามารถที่จะทำการต่อรองได้อย่างเสรี และการที่มีการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมยังทำให้เกิดความพึงพอใจกับทั้งสองฝ่ายอีกด้วย

น.ส. สุพรรษา มานุช รหัส 4947312079

1. คำถาม : การเปิดเสรีการค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักทุนหรือไม่ อย่างไร

คำตอบ : ในความคิดของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่าการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อ นักลงทุน เพราะจะทำให้นักลงทุนมีสิทธิที่จะเลือกลงทุนมากยิ่งขึ้น โดยขึ้นอยู่กับว่า บริษัทหลักทรัพย์ใดที่เปิดเสรีค่าธรรมเนียมน้อยที่สุด นักลงทุนก็จะเลือกไปลงทุนกับ บริษัทหลักทรัพย์นั้น จึงทำให้มีการเสียค่าธรรมเนียมน้อยที่สุด และในการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมนั้นจึงทำให้เกิดความพึงพอใจกับนักลงทุน

น.ส. นิษา สังข์สำราญ รหัส 49473120017

1. คำถาม : การเปิดเสรีการค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักทุนหรือไม่ อย่างไร

คำตอบ ดิฉันคิดว่า การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุน เพราะ ทำให้นักลงทุนได้มีโอกาสที่จะยื่นข้อเสนอต่อรองกับโบรคเกอร์ได้อย่างเสรี และมีสิทธิที่จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับนักลงทุน โดยสามารถเลือกที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดได้ซึ่งทำให้นักลงทุนเกิดความพึงพอใจสูงสุด

นางสาวสุปราณี แสนทวีสุข

คำถาม  การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

คำตอบ  ในความคิดเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่าการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุน เพราะ  จะส่งผลให้นักลงทุนหันมาสนใจที่จะลงทุนในหลักทรัพย์มากขึ้น เพราะไม่มีการกำหนดค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย นักลงทุนเลยไม่ต้องมากังวลกับการเสียค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์  และสามารถนำเงินที่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเก็บมาไว้ลงทุนในหลักทรัพย์นั้นได้มากขึ้น การเปิดเสรีค่าธรรมเนียม จะทำให้นักลงทุนมีโอกาสที่จะเลือกลงทุนได้มากขึ้นจึงส่งผลดีต่อบริษัทหลักทรัพย์ที่จะดึงดูดให้มีนักลงทุนเข้ามาสนใจในการซื้อขายหลักทรัพย์และเลือกลงทุนในหลักทรัพย์เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

นางสาวสุปราณี แสนทวีสุข รหัส 49473120014

คำถาม การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

 คำตอบ ในความคิดเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่าการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุน เพราะ จะส่งผลให้นักลงทุนหันมาสนใจที่จะลงทุนในหลักทรัพย์มากขึ้น เพราะไม่มีการกำหนดค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย นักลงทุนเลยไม่ต้องมากังวลกับการเสียค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ และสามารถนำเงินที่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเก็บมาไว้ลงทุนในหลักทรัพย์นั้นได้มากขึ้น การเปิดเสรีค่าธรรมเนียม จะทำให้นักลงทุนมีโอกาสที่จะเลือกลงทุนได้มากขึ้นจึงส่งผลดีต่อบริษัทหลักทรัพย์ที่จะดึงดูดให้มีนักลงทุนเข้ามาสนใจในการซื้อขายหลักทรัพย์และเลือกลงทุนในหลักทรัพย์เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

น.ส.ศิริรัตน์ บุญเจริญรุ่งเรือง รหัส 49473120071

คำถาม การเปิดเสรีการค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักทุนหรือไม่ อย่างไร

ตอบ     ดิฉันคิดว่ามีผลดีต่อนักลงทุน คือ นักลงทุนสามารถใช้สิทธิในการเลือกที่จะลงทุนมากขึ้น เพราะไม่มีข้อยึดติด หรือข้อผูกมัดใดๆ ทำให้นักลงทุนสามารถต่อรองราคาได้ตามต้องการ เเละยังส่งผลให้เกิดความพึงพอใจจะที่ลงทุนอีกด้วย

น.ส.วิกานต์ดา ศรีเพ็ชร

คำถาม การเปิดเสรีการค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักทุนหรือไม่ อย่างไร ตอบ    ในความคิดของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่าการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อ นักลงทุน เพราะจะทำให้นักลงทุนมีสิทธิที่จะเลือกลงทุนมากยิ่งขึ้น โดยขึ้นอยู่กับว่า บริษัทหลักทรัพย์ใดที่เปิดเสรีค่าธรรมเนียมน้อยที่สุด นักลงทุนก็จะเลือกไปลงทุนกับ บริษัทหลักทรัพย์นั้น จึงทำให้มีการเสียค่าธรรมเนียมน้อยที่สุด และในการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมนั้นจึงทำให้เกิดความพึงพอใจกับนักลงทุนอีกด้วย

นางสาวจิตติมา ดีขุนทด รหัส 49473120022

คำถาม การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

คำตอบ ดิฉันคิดว่าการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุน เพราะ จะทำให้นักลงทุนมีทางเลือกมากขึ้น ได้มีสิทธ์เลือกบริษัทหลักทรัพย์ที่เข้ามาทำการซื้อขายหลักทรัพย์ ทำให้มีการเปรียบเทียบราคาและค่าธรรมเนียม ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกลงทุน เนื่องจากบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆที่เข้ามาจะมีการแข่งขันกันในเรื่องของราคาและค่าธรรมเนียมอยู่แล้วดังนั้นจึงเป็นผลดีต่อนักลงทุนอย่างแน่นอน ซึ่งก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายอีกด้วย

นางสาว เนตรนภา เอิบอิ่ม รหัส 49473120076

คำถาม การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

คำตอบ ในความคิดเห็นของดิฉันดิฉันคิดว่าการเปดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุน เพราะทำให้นักลงทุนมีทางเลือกมากขึ้น และมีสิทธิที่จะเปรียบเทียบราคาค่าธรรมเนียมก่อนตัดสินใจเลือก เพราะแต่ละบริษัทต่างๆมีการตั้งราคาที่ต่างกัน ทำให้เกิดความพึงพอใจของนักลงทุนและทำให้นักลงทุนเสียค่าใช้จ่ายน้อยลงด้วย

นายสัญชัย สุวรรณวงค์ รหัส 49473120072

ในความคิดของกระผมการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลง เพราะทำให้นักลงมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้นที่จะลงทุนในบริษัทต่างๆ เพราะบริษัทต่างๆจะต้องมีการแข่งขันลดค่าธรรมเนียมกันเพื่อที่จะดึงดูดลูกค้า ทำให้นักลงทุนสามารถพิจารณาเลือกบริษัทที่มีค่าธรรมเนียมต่ำๆได้เพื่อที่จะได้นำเงินมาลงทุนได้เพิ่มมากขึ้นไม่ต้องไปกังวลกับค่าธรรมเนียมมากนัก

นายสัญชัย สุวรรณวงค์ รหัส 49473120072

ในความคิดของกระผมการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุน เพราะทำให้นักลงทุนมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้นที่จะลงทุนในบริษัทต่างๆ เพราะบริษัทต่างๆจะต้องมีการแข่งขันลดค่าธรรมเนียมกันเพื่อที่จะดึงดูดลูกค้า ทำให้นักลงทุนสามารถพิจารณาเลือกบริษัทที่มีค่าธรรมเนียมต่ำๆได้เพื่อที่จะได้นำเงินมาลงทุนได้เพิ่มมากขึ้นไม่ต้องไปกังวลกับค่าธรรมเนียมมากนัก

นางสาวสุขศิริ อาสา รหัส 49473120074

ในความคิดเห็นของดิฉันการเปิดเสรืค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนในแง่ของการให้อิสระแก่นักลงทุนในการเลือกลงทุนได้อย่างคุ้มค่าแก่ผลตอบแทนมากที่สุดเนื่องจากได้เลือกลงทุนได้กำไรสูงแต่จ่ายค่าธรรมเนียมต่ำ

คำถามจากกลุ่มที่ 5

   Q : ภาวะการณืในปัจจุบันของประเทศไทย เราควรเลือกลงทุในธุรกิจหลักทรัพย์ใดที่มีความมั่นคงและจะให้ผลตอบแทนสูง

   A : ควรเลือกลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับพวกยาและเวชภัณฑ์ เพราะจากสถานการณ์ในปัจจุบันทั้งในประเทศไทยเองและต่างประเทศกำลังมีโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่2009 ระบาดอยู่อย่างแพร่หลาย ยาและเวชภัณฑ์ต่างๆก็กำลังเป็นที่ต้องการของประชาชน ดังนั้นจึงควรเลือกลงทุนในธุรกิจยาและเวชภัณฑ์นี้

สุทิศา เนกขัมม์ 49473120032

ในความคิดเห็นของข้าพเจ้า ข้อดีของการเปิดเสรีฯ นั้น จะทำให้เห็นผลสะท้อนของสินทรัพย์ของ บล. ที่แท้จริง เพราะปัจจุบัน บล. แต่ละแห่งได้ให้ส่วนลดกับลูกค้าอย่างไม่ถูกต้อง รวมถึงการทำธุรกิจที่ให้ลูกค้าไปกระจุกตัวอยู่กับเจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เก็ตติง) เป็นหลัก ซึ่งหาก บล.รู้จักปรับตัวและเตรียมกระบวนการน่าจะทำให้ บล. อยู่รอดได้

นางสาวศรีสุภางค์ แก้วผ่อง รหัส 49473120037

     Q : การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

      A : ในความคิดเห็นของดิฉันคิดว่า "การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมนั้นมีผลดีต่อนักลงทุนแน่นอน เพราะว่านักลงทุนก็จะมีโอกาสในการเลือกลงทุนที่หลากหลายในบริษัทที่มีค่าธรรมเนียมที่ต่างๆกัน นักลงทุนก็สามารถเปรียบเทียบและต่อรองราคาได้ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน

          แต่การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมนั้นในแง่ของทางหน่วยธุรกิจนั้นก็จะไม่ค่อยเป็นผลดีกับหน่วยธุรกิจสักเท่าไหร่ เพราะว่าจะทำให้เกิดการแข่งขันกันขึ้น เช่น เรื่องการลดค่าธรรมเนียม เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้นักลงทุนเกิดความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจของตน จึงทำให้ธุรกิจนั้นๆอาจมีรายได้ที่ลดลงก็เป็นได้"

นางสาวอัจฉรา อินทนนท์49473120091

  การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

 ดิฉันมีความคิดเห็นว่า การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมจะส่งผลผลดีต่อนักลงทุนเพราะจะทำให้นักลงทุนมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้นและสามารถเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมของบริษัทต่างๆ ได้ นักลงทุนสามารถต่อรองราคาค่าค่าธรรมเนียมและเลือกบริษัทที่มีค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมได้

นางสาวอรัญญา นันทพรสิริพงศ์ รหัส 49473120038

ในความคิดเห็นของดิฉัน ในการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนค่ะ เพราะเมื่อมีการเปิดเสรีค่าธรรมเนียม ก็จะเกิดการแข่งขันกันในบริษัทหลักทรัพย์แต่ละแห่งเพื่อดึงดูดนักลงทุนเพราะแต่ละบริษัทก็จะมีการตั้งค่าธรรมเนียมที่ต่างกัน ทำให้นักลงทุนได้รับผลประโยชน์จากการแข่งขันของบริษัทหลักทรัพย์โดยนักลงทุนมีสิทธิ์ที่จะได้เลือกซื้อหลักทรัพย์ได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าธรรมเนียมที่สูง สามารถเปรียบเทียบราคาได้ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนค่ะ

คำถาม

ผู้บริหารควรมีนโยบายอย่างไรในการดูแลบริษัทหลักทรัพย์ให้เกิดความมั่นคงในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ไม่มีความแน่นอนในขณะนี้?

คำตอบ

- นโยบายในการควบคุมค่าใช้จ่าย

- นโยบายในการพัฒนาและขยายกลุ่มลูกค้า สร้างภาพลักษณ์ให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อบริษัทหลักทรัพย์

- นโยบายในการบริหารความเสี่ยง เช่น การให้พันธมิตรทางธุรกิจมาร่วมลงทุน

นางสาว สมจิตร ประมาพงค์

    ในความคิดเห็นของดิฉัน  ในการเปิดเสรีค่าธรรมมีผลดีนักลงทุนค่ะ เพราะถ้าเกิดมีการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมจะทำให้บริษัทหลักทรัพย์มีการแข่งขันกันในการคิดค่าธรรมและทำให้นักลงทุนมีทางเลือกมากในการใช้บริการขอคำปรึกษาที่บริษัทหลักทรัพย์นั้นซึ่งทำให้นักลงทุนสามารถต่อรองราคาค่าธรรมเนียมและเลือกบริษัทที่มีค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมและสามารถเปรียบเทียบราคาได้ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนค่ะ

นางสาวสุดาทิพย์ พลับลับโพธิ์

ในความคิดเห็นของดิฉันคิดว่า การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมส่งผลดีต่อนักลงทุนคือทำให้นักลงทุนได้มีโอกาสและตัวเลือกทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น และนักลงทุนสามารถเปรียบเทียบและต่อรองราคาได้ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน

นางสาวหทัยภัทร อินทร์ปัญญา รหัส 49473120059

Q : การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร?

A : ในความคิดเห็นของดิฉัน การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงที่ภาวะตลาดยังไม่ฟื้นตัว อาจมีผลกระทบต่อความอยู่รอดของบริษัทหลักทรัพย์และนักลงทุน แต่อีกแง่หนึ่งก็คือทำให้นักลงทุนและบริษัทหลักทรัพย์มีทางเลือกเพิ่มมากขึ้นในการต่อรองค่าธรรมเนียม และสามารถเปรียบเทียบราคาได้ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนทำให้มีการแข่งขันลดค่าธรรมเนียม ในสภาพแวดล้อมการแข่งขันในตลาดทุนโลกและการเชื่อมโยงระหว่างประเทศที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจส่งผลให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องปรับตัว หาวิธีเพิ่มธุรกิจและแหล่งที่มาของรายได้นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งแข่งขันกันในด้านพัฒนาสินค้าและบริการให้มากขึ้นค่ะ

นางสาวพนิดา ศรีสกุล 49473120002

ในความคิดเห็นของดิฉันคิดว่าการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมนั้นจะส่งผลดีต่อนักลงทุนเพราะทำให้นักลงทุนมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้นสามารถเปรียบเทียบราคาค่าธรรมเนียมของแต่ละบริษัทได้ซึ่งทำให้นักลงทุนลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงทำให้มีกำไรเพิ่มมากขึ้น

นายอภิวันทน์ บุบผา 49473120073

ในความคิดของผมคิดว่าจะส่งผลดีต่อนักลงทุนเพราะทำให้นักลงทุนเสียค่าธรรมเนียมน้อยลงเเละสามารถเลือกบริษัทที่จะลงทุนได้ทำให้เห็นผลขอกำไรเพิ่มขึ้น

นางสาวอัญชลี อำพันพงษ์ รหัส 49473120089

คำถาม : การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร?

คำตอบ : ในความคิดเห็นของข้าพเจ้า  ข้าพเจ้าคิดว่าการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุน   เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนหันมาลงทุนในหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น  เนื่องจากการเปิดเสรีค่าธรรมเนียม ทำให้ค่าธรรมเนียมมีราคาลดลง ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักลงทุนหันมาลงทุนในหลักทรัพย์จำนวนที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม  นักลงทุนได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมคือ นักลงทุนสามารถทำกำไรได้มากขึ้นจากราคาหุ้น  ซึ่งปกติกำไรจากราคาหุ้นต้องนำมาหักค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหุ้นด้วย จึงทำให้นักลงทุนมีกำไรที่แท้จริงจากราคาหุ้นลดลง  ดังนั้นการเปิดเสรีราคาจึงมีส่วนช่วยให้นักลงทุนหันมาลงทุนเพิ่มมากขึ้น  เนื่องจากนักลงทุนได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น

 ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม :        

    นโยบายเปิดเสรีการคิดอัตราค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์   เพื่อประโยชน์แก่นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ   ซึ่งจะทำให้บริษัทหลักทรัพย์  และผู้เกี่ยวข้องในวงการนี้ได้รับความเป็นธรรมในการเสียค่าใช้จ่ายซื้อขายหลักทรัพย์  และได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเต็มเม็ดเต็มหน่วยในระยะยาว   ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ    ทำให้กลไกตลาดทุนคล่องตัวขึ้น และช่วยส่งเสริมขบวนการออมเงินทุนระยะยาวของประเทศได้ดีขึ้นในระดับหนึ่ง   แต่การเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่น  ทำให้มีการแข่งขันที่รุนแรงในเรื่องราคาโดยจะทำให้บล.ได้รับความเสียหาย  และไม่สามารถอยู่รอดได้ เหมือนกับการเปิดเสรีค่าคอมฯในอดีตที่ผ่านมา  ซึ่งเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นได้ไม่นาน จากการสำรวจต้นทุนการซื้อขายหุ้นในแถบภูมิภาคเอเซียที่มี 10 ประเทศนั้นนั้น  ประเทศไทย  ถือว่าการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆในการซื้อขายที่ต่ำอยู่ในอันดับ3 ที่คิด 0.267% โดยประเทศที่มีการเก็บที่ต่ำกว่าไทยมี 2 ประเทศ คือ ตลาดหุ้นฮ่องกง ที่มีการคิด0.25% และ ตลาดหุ้นใต้หวันที่มีการเก็บ 0.24% ขณะที่ ตลาดหุ้นสิงคโปร์ มีการเปิดเสรีค่าคอมฯแล้ว ยังมีการคิดค่าธรรมเนียมต่างๆซื้อขายถึง 0.31% โดยประเทศที่มีการเก็บค่าคอมฯสูงสุดคืออินเดียถึง 1.72% รองมาอินโดนีเซีย กับจีนที่คิดในอัตรา 0.45%

ที่มา  :  ASTVผู้จัดการออนไลน์  ลงวันที่  30 เมษายน 2552

ตอบ....

ดิฉันคิดว่าตอนแรกการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมในประเทศไทยจะมีแนวโน้มที่ดีแต่จริงแล้ว การที่ประเทศไทยเปิดเสรีค่าธรรมเนียมทำให้ เกิดแรงกดดันจากการแข่งขันที่รุนแรง ซึ่งในพวกหุ้นกลุ่มหลักทรัพย์ตกอยู่ในสถานะการณ์ที่แย่ ก็คือมีแรงขายออกมาอย่างต่อเนื่อง เพราะกาีรปล่อยเสรีค่าธรรมเนียมนั้น ทำให้รายได้ของบริษัทลดลงอย่างมาก บางรายถึงกับต้องใช้ค่าธรรมเนียมที่ 0% เพื่อจูงใจลูกค้าไว้ ถือว่าผิดไปจากจุดประสงค์ที่ได้คิดไว้สำหรับการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมาก.......

1. ถ้าบริษัทต้องการจะจำหน่ายตราสารหนี้ที่ออกใหม่ บริษัทควรให้ใครเป็นตัวแทนจำหน่ายตราสารหนี้

 ตอบ Underwriting คือ การจัดจำหน่ายในตลาดแรก ทั้งในส่วนของตลาดตราสารหนี้และตราสารทุน 

น.ส.อนุสรา เอี๋ยวประเสริฐ รหัส 49473120033

ในความคิดของฉันคิดว่าเป็นผลดี ถ้าจะเปิดค่าธรรมเนียมเสรี เพราะจะเป็นผลดีต่อนักลงทุน ทำให้มีการลงทุนมากขึ้น เพราะค่าธรรมเนียมลดลง และการที่เปิดค่าธรรมเนียมเสรีนั้น ก็จะทำให้นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในบริษัทต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย

น.ส. พิมศิริ ลาภโสภา รหัส 49473120024

ในความคิดของฉัน คิดว่ามีผลดีต่อนักลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนมีโอกาสในการเลือกที่จะลงทุนมากขึ้น เพราะในการเปิดค่าธรรมเนียมแบบเสรีนั้น จะทำให้ค่าธรรมเนียมลดลงเป็นที่น่าสนใจแก่นักลงทุนทั้งหลาย

นางสาวพรรษสิริ นามมัน รหัส 49473120060

คำถาม การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

         ตอบ ข้าพเจ้าคิดว่าการเปิดเสรีสำหรับค่าธรรมเนียมนั้น มีผลดีกับนักลงทุนแน่นอน เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสที่ดีให้กับนักลงทุนที่จะได้ชำระค่าธรรมเนียมในราคาที่น่าพึงพอใจ ซึ่งเกิดจากการที่หน่วยธุรกิจมีการแข่งขันกันในการเสนอค่าธรรมเนียมที่จะเป็นสิ่งดึงดูดผู้ลงทุน หน่วยธุรกิจใดมีการเสนอค่าธรรมเนียมที่น่าพอใจก็จะดึงดูดผู้ลงทุนได้มาก ผู้ลงทุนก็สามารถเปรียบเทียบราคาและเข้าไปลงทุนกับหน่วยธุรกิจที่มีการเสนอค่าธรรมเนียมที่น้อยที่สุด นี้ที่เป็นส่วนการได้เปรียบของผู้ลงทุน ผู้ลงทุนก็จะหันมาลงทุนกันมากขึ้นซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจไปอีกทางหนึ่งด้วย

      

ประภาพรรณ เรืองทอง 49473120027

         ในความคิดเห็นของดิฉันดิฉันคิดว่าการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อผู้ลงทุน เพราะนักลงทุนมีโอกาสที่จะต่อรองราคาได้ ทำให้นักลงทุนสามารถมีโอกาสที่จะเลือกลงทุน แถมยังไม่ต้องกังวลในเรื่องของค่าธรรมเนียม  และ สามารถนำเงินที่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเก็บมาไว้ลงทุนในหลักทรัพย์นั้นได้เพิ่มขึ้น

นางสาวประภา เลิศพัฒนวรกุล 49473120026

             ในความคิดของดิฉัน ดิฉันคิดว่าการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนเพราะเป็นการเปิดโอกาสที่ดีให้กับนักลงทุนให้ทางเลือกในการลงทุนเพิ่มมากขึ้นทำให้นักลงทุนได้รับความเป็นธรรมในการเสียค่าใช้จ่ายซึ่งจะช่วยส่งเสริมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้นักลงทุนสามารถต่อรองราคาค่าธรรมเนียมและเลือกบริษัทที่มีค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม

นางสาวชุธิมา เหมือนงิ้ว 49473120025

การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่อย่างไร

ในความคิดเห็นของดิฉันคิดว่า การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมจะมีผลดีต่อนักลงทุน เนื่องจากทำให้นักลงทุนได้มีโอกาสเลือกและสามารถต่อรองราคาค่าธรรมเนียมที่นักลงทุนพึงพอใจได้และยังทำให้นักลงทุนมีค่าใช้จ่ายลงซึ่งเป็นการส่งเสริมให้มีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น

            กลุ่ม 4 ถามคำถามกลุ่ม 2 ว่า

1.ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันเราควรลงทุนในตราสารอนุพันธ์หรือไม่ เพราะอะไร

     ตอบ ถ้าจะลงทุนก็ลงทุนได้ แต่ควรพิจารณาในเรื่องของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพราะตอนนี้เศรษฐกิจการเมืองของไทยไม่ค่อยดีนักเท่าที่ควร และก็ควรพิจารณาในหลายๆด้านก่อนที่จะลงทุนค่ะ

2.กองทุนปิดกับกองทุนเปิดมีความแตกต่างกันอย่างไร

     ตอบ กองทุนปิดจะมีอายุโครงการที่แน่นอนและจะเปิดจองเพียงครั้งเดียว ส่วน กองทุนเปิด จะมีอายุโครงการที่ไม่แน่นอน มีสภาพคล่องสูง เปิดขายตลอดเวลาไม่ต้องรอการกำหนดเวลา สามารถขายได้เลยค่ะ

            กลุ่ม 4 ถามกลุ่ม 3 ว่า

1.ทฤษฎี Markowitz สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างไรได้บ้าง     

     ตอบ สามารถนำมาใช้วิเคราะห์ในการซื้อหุ้นได้ ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร และให้ยอมรับความเสี่ยงว่า ถ้าความเสี่ยงสูงผลตอบแทนก็จะสูงและถ้าความเสี่ยงต่ำผลตอบแทนที่ได้ก็จะต่ำเช่นเดียวกัน ( hight rick hight return )ค่ะ

นายชัยวัฒน์ จันทสนธิ์ 49473120077

การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่

    ตอบ  ในความคิดของกระผม กระผมคิดว่ามีผลดีต่อนักลงทุน เพราะเป็นการเปิดโอกาสที่ดีให้กับนักลงทุนเพราะนักลงทุนสามารถเลือกและต่อรองค่าธรรมเนียมได้อย่างเสรีทำให้นักลงทุนสามารถพิจารณาเลือกบริษัทที่มีค่าธรรมเนียมต่ำได้

ศิรินภา สุขแก้ว 49473120088

การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่

     ตอบ  ในความคิดของดิฉัน ดิฉันคิดว่าการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุน เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนมาลงทุนในหลักทรัพย์เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมทำให้ค่าธรรมเนียมลดลงและเป็นตัวแปรหนึ่งในการจูงใจให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น

นางสาวจิราพร วงศ์วุฒิ รหัส 49473120085

คำถาม : การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

คำตอบ : ในความคิดเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่าการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุน เพราะนักลงทุนมีโอกาสตัดสินใจในการลงทุนได้ว่าจะลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์ใดที่มีค่าธรรมเนียมต่ำต่ำ เกิดการเปรียบเทียบกันขึ้นระหว่างบริษัทหลักทรัพย์ด้วยกันเอง จึงมีการแข่งขันในบริษัทหลักทรัพย์อีกว่าต้องมีค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมต่อผู้ลงทุนที่จะเลือกลงทุนกับบริษัทนั้นๆ ดังนั้น จึงทำให้เป็นการกระตุ้นให้นักลงทุนหันมาลงทุนในหลักทรัพย์จำนวนในจำนวนที่เพิ่มขึ้นและนักลงทุนก็ได้รับประโยชน์โดยตรง

นางสาวเจษฎาภรณ์ วงศ์วุฒิ 49473120083

การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

ตอบ ในความคิดของดิฉันคือ เป็นการเปิดโอกาสให้แก่นักลงทุนได้มีทางเลือกที่จะลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีค่าธรรมเนียมต่ำและเป็นผลดีของนักลงทุนที่และจะได้ส่งเสริมการลงทุนให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

วรรณพร ภู่สุวรรณ์ 49473120042

Q : การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมนั้นมีผลดีต่อนักลงทุน เพราะว่านักลงทุนก็จะมีโอกาสในการเลือกลงทุนในบริษัทที่มีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน นักลงทุนก็สามารถเปรียบเทียบและต่อรองราคาได้ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน และก็จะเกิดการแข่งขันกันในบริษัทหลักทรัพย์แต่ละแห่งเพื่อดึงดูดนักลงทุนเพราะแต่ละบริษัทก็จะมีการตั้งค่าธรรมเนียมที่ต่างกัน สามารถเปรียบเทียบราคาได้ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนค่ะ

นางสาว พวงเพ็ชร กะการดี 49473120084

การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

ในความคิดของข้าพเจ้า ข้าพคิดว่ามีผลดีต่อนักลงทุน เพราะว่านักลงทุนมีโอกาสที่จะเลือกลงทุนและสามารถต่อรองราคาได้ก่อนที่จะตัดสินลงทุน นักลงทุนสามารถที่จะเลือกลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์ใดก็ได้ที่มีค่าธรรมเนียต่ำ

น.ส. นพรัตน์ เสมอตระกูล 49473120041

การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

ในความคิดของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่าการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุน เพราะผู้ลงทุนสามารถที่จะต่อรองราคากับโบรเกอร์ได้ เนื่องจากไม่มีข้อกำหนด กฏเกณฑ์ ระเบียบ ในการซื้อขายจึงทำให้ผู้ลงทุนมีช่วงทางหลากหลายมากขึ้นในการเลือกโบรคเกอร์ที่ดีและเหมาะสมให้แก่ตนเองมากที่สุด

สราพร สิงหพงษ์ 49473120039

การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนหรือไม่ อย่างไร

นักลงทุนมีตัวเลือกในการตัดสินใจในการลงทุนเพราะการปรับค่าทำเนียมแบบเปิดเสรีทำให้มีการแข่งขันกันด้านราคา ให้นักลงทุนมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้นว่าที่ไหนจะให้ราคาที่ถูกกว่า แต่เป็นผลเสียของโบรกเกอร์ในตลาดที่จะมีการแข่งขันกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินของตนเองออกมามากขึ้น และมีกลยุทธ์ในการบริการในรูปแบบใหม่ๆ ให้ตรงใจผู้ลงทุน ในราคาที่สอดคล้องกับบริการ

ดิฉัน คิดว่า การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อนักลงทุนคือ ช่วยให้นักลงทุนสามารถลดต้นทุนที่จะนำมาทำการค้าได้มีทางเลือกที่ดีกว่า และสามารถเลือกแหล่งสินค้าที่ดีและถูกกว่าเพิ่มมากขึ้น สามารถจะทำการค้ากับโบรกเกอร์ที่เราสนใจได้หลายทางเลือก

นาย วสันต์ พิหูสูตร 49473120006

-การเปิดเสรีค่าธรรมเนียมมีผลดีต่อผู้ลงทุนหรือไม่อย่างไร

-ในการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมนั้น ในความคิดของข้าพเจ้าแล้วคิดว่ามีผลดีต่อผู้ลงทุน เพราะทำให้เมื่อมีการไปลงทุนในบริษัทหลักทรัพย์ จะมีการเสียค่าธรรมเนียมในราคาที่ต่ำที่สุด จึงส่งผลต่อผู้ลงทุนเป็นอย่างมาก

จากคำถามที่ว่า ปัจจุปัน (ปี 2009) สมาชิกกลุ่มผู้ค้าน้ำมันในกลุ่ม OPEC มีกี่ประเทศ และประเทศอะไรบ้าง

คำตอบ

กลุ่มโอเปค (อังกฤษ: Organization of Petroleum Exporting Countries-OPEC) ได้ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2503 มีสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศอันประกอบด้วย ประเทศซาอุดีอาระเบีย ประเทศอิรัก ประเทศอิหร่าน ประเทศคูเวต และ ประเทศเวเนซุเอลา โดยมีสำนักงานใหญ่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปัจจุบัน กลุ่มโอเปคมีสมาชิกเพิ่มเติมอีก 6 ประเทศ คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประเทศกาตาร์ ประเทศไนจีเรีย ประเทศแอลจีเรีย ประเทศลิเบียประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเอกวาดอร์ และล่าสุดประเทศแองโกลารวมเป็น 13 ประเทศและได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่เวียนนา ประเทศออสเตรีย ในปี พ.ศ. 2508

วัตถุประสงค์

เพื่อแสวงหาและรักษาผลประโยชน์ของสมาชิก ของประเทศผู้ผลิตน้ำมันปิโตรเลียมรายใหญ่ฯของโลกและตั้งราคาน้ำมัน ด้วยจุดประสงค์หลักเพื่อสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งของกลุ่มจากการค้าขายน้ำมัน หน้าที่ ประสานนโยบายการผลิต และให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจทางเทคนิคแก่กันและกันในกลุ่มผู้ค้าน้ำมันในกลุ่ม OPEC เอง ผลงานขององค์กร ผลสำเร็จขององค์กรสำเร็จบ้างในตอนตั้งใหม่ต่อมาในระยะหลัง เมื่อเกิดสงครามระหว่างพวกตะวันออกกลางด้วยกันเช่น อิรักโจมตีอิหร่าน ลิเบีย อิรักถูกสหรัฐฯโจมตี คูเวตถูกอิรักบุกยึดประเทศ ซาอุดิอาระเบียถูกพวกก่อการร้ายวางระเบิด เป็นต้น ซึ่งดูแล้วพวกที่อยู่ในกลุ่ม OPEC ต่างไม่ไว้วางใจกัน จึงหันมาต่างฝ่ายต่างแอบขายน้ำมันเพื่อซื้ออาวุธมาสะสมและป้องกันตนเอง ทำให้ราคาน้ำมันที่ตั้งไว้ไม่ประสบความสำเร็จ และบางประเทศก็แยกตัวออกมา ส่วนในปัจจุบันกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันเห็นว่าอิรักซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันและเป็นมุสลิมด้วยกันถูกสหรัฐฯรังแก ก็เลยหันมารวมตัวกันได้อีกและเริ่มขึ้นราคาน้ำมันเพื่อบีบชาวโลกกันอีกดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งการกระทำเช่นนี้ก็เหมือนกันกับเมื่อก่อนในตอนที่กลุ่มประเทศนี้รวมตัวกันในเวลาแรกๆ

คำถาม อยากทราบว่าทำไมนักลงทุนส่วนหนึ่งถึงให้ความสำคัญและชอบลงทุนในกลุ่มพลังงาน

คำตอบ เนื่องจากการลงทุนในหุ้นหมวดพลังงาน ให้ผลตอบแทนสูง มีความน่าเชื่อถือ ธุรกิจมีขนาดใหญ่ คนทั่วโลกจำเป็นต้องใช้ มีความมั่นคงและราคาที่สูง

กลุ่ม 4 ถามกลุ่ม 5 ว่า

 คำถาม : นอกจากน้ำมันการลงทุนในหลักทรัพย์กลุ่มพลังงานควรวิเคราะห์อะไรบ้างก่อนการลงทุน

 คำตอบ : ก่อนการลงทุนเราควรดูสถานการณ์ปัจจุบันก่อน ดูราคาน้ำมันโลก ดูเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ก่อนที่ตัดสินใจลงทุน เพื่อจะได้วิเคราะห์การลงทุนได้ว่าเราควรลงทุนหรือไม่ในสถานการณ์เช่นนี้

ก๊าซ LPG และ ก๊าซ NGV แตกต่างกันอย่างไร

ตอบ  ก๊าซ LPG เป็นก๊าซที่มีส่วนผสมของโพรเทน เป็นส่วนใหญ่เหมาะสำหรับการใช้งานในรูปแบบ ก๊าซหุงต้มใช้ในครัวเรือน

        ก๊าซ NGV คือก๊าซธรรมชาติที่มีส่วนผสมของก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่เหมาะสำหรับ การใช้งานกับเครื่องจักร หรือรถ

คำถามหลัง  Present ของกลุ่มที่ 1

ถามว่า : ดูอย่างไรจึงจะรู้ว่าบริษัทนั้นๆ เป็นบริษัทที่มีความเสียงแบบ Industry risk

ตอบ : ดูจากการที่บริษัทนั้นๆ มีสินค้าเพรียงอย่างเดียวไม่มีการ support ของ Product

         ตัวอื่นร่วมด้วยเลย ทำให้ลูกค้าที่มาใช้บริการมีแต่กลุ่มที่ใช้บริการนั้นๆ

         อยู่กลุ่มเดียว ถ้าลูกค้าไม่มาใช้บริการ บริษัทก็จะไม่มีรายได้

 

คำถามหลัง  Present ของกลุ่มที่ 2

ถามว่า : ถ้าผู้ออกตราสารหนี้ ออกตราสารแล้วไม่มีเงินที่จะชำระแก่ผู้ซื้อตราสาร

           จนถูกฟ้องล้มละราย ผู้ออกตราสารข้ออำนาจศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์

           เราจะยังสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้หรือไม่ แล้วจะชำระหนี้อย่างไร

ตอบ : ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ส่วนการชำระหนี้ก็จะเป็นไปตามอำนาจศาล

         ที่สั่งพิทักษ์ทรัพย์ และนำทรัพย์นั้นทำการขายเพื่อนำไปชำระตามกฎหมายต่อไป   

คำถาม ทำไมกองทุนรวมถึงน่าสนใจ

คำตอบ -มีเงินน้อยก็สามมารถลงทุนใหญ่ได้ -มีการกระจายความเสี่ยง -ลงทุนได้แม้ไม่มีเวลาหรือไม่มีความชำนาญ -มีทางเลือกหลากหลาย ซึ่งสำนักงานกลต.มีการจัดทำ rist spectoum ไว้รองรับการตัดสินใจ

 

คำถาม ประโยชน์ของผู้ออกตราสารหนี้ คืออะไร

คำตอบ ผู้ออกตราสารหนี้สามารถที่จะกำหนดกระแสเงินสดจ่าย ทั้งสำหรับดอกเบี้ยและมูลค่าไถ่ถอนค่อนข้างแน่นอน ตั้งแต่วันออกตราสารหนี้

คำถาม ประโยชน์ของผู้ออกตราสารหนี้

คำตอบ ในด้านภาพรวมและผู้ออกตราสารหนี้

•ลดการพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ

•เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเงิน เนื่องจากผู้ออกตราสารสามารถกำหนดต้นทุนและระยะเวลาได้แน่นอน

•เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน เพื่อดูแลสภาพคล่อง และอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อสภาวะเศรษฐกิจ เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ

กลุ่มที่4 การเงินปี4ค่ะ

คำถามหลัง Present ของกลุ่มที่ 1

คำถาม: นาย ก. เป็นนักลงทุนหน้าใหม่ ต้องการลงทุนในกองทุนรวม ควรเลือกลงทุนในกองทุนประเภทใด

ตอบ : ต้องดูความต้องการของนาย ก. ว่าต้องการหรือชอบลงทุนแบบไหน

มี 2 ประเภท 1.กองทุนปิด มีอายุเวลา ไม่สามารถรับชื้อหรือไถ่ถอน ก่อนอายุครบกำหนดได้

2.กองทุนเปิด

สองประเภทนี้ต่างกันทึ่ สภาพคล่อง กองทุนเปิดมีสภาพคล่องมากกว่ากองทุนปิด

คำถามหลัง Present ของกลุ่มที่ 2

คำถาม: ในกรณีที่ผู้ออกตราสารสามารถชื้อคืนหุ้นได้ก่อนกำหนด มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร

ตอบ : ดูที่ว่าอัตราดอกเบี้ยลอยตัวสูง ต้องทำการชื้อคืนจากผู้ลงทุนตามราคาที่ได้ตราไว้

กลุ่ม 5 ถามคำถามกลุ่ม 1

คำถาม : ในภาวะปัจจุบันควรลงทุนในตราสารทุนประเภทใด

คำตอบ : ควรลงทุนในหุ้นบุริมสิทธิ เพราะสภาพเศรษฐกิจไม่ดี ไม่คงที่ สามารถชำระเงินทุนคืนได้

กลุ่ม 5 ถามคำถามกลุ่ม 2

คำถาม : ผู้ลงทุนจะทราบได้อย่างไรว่าถ้าลงทุนในตราสารหนี้แล้วจะได้ผลตอบแทนที่แน่นอน

คำตอบ : การลงทุนในตราสารหนี้มีผลตอบแทนที่แน่นอนเพราะในหนังสือชี้ชวนบอกรายละเอียดในการจ่ายดอกเบี้ยที่แน่นอน

กลุ่ม 5 ตอบคำถามกลุ่ม 1

คำถาม : กองทุนรวมทำไมถึงน่าสนใจ

คำตอบ : มีนโยบายที่หลากหลายให้เลือกลงทุน ตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุนได้ทุกกลุ่ม มีมืออาชีพคือ บลจ.บริหารเงินให้เรา มีการนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารที่หลากหลาย มีเงินทุนน้อยก็ลงทุนได้ รวมถึงมีช่องทางการซื้อขายที่หลากหลาย

กลุ่ม 5 ตอบคำถามกลุ่ม 2

คำถาม : ประโยชน์ของผู้ออกตราสารหนี้คืออะไร

คำตอบ : ผู้ออกตราสารหนี้จะได้ประโยชน์คือมีแหล่งเงินทุนที่จะนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ เมื่อลงทุนแล้วจะได้รับผลตอบแทน(ดอกเบี้ย) ตามที่ระบุไว้ในหน้าตั๋วตลอดทุกงวดสม่ำเสมอ สามารถออมเงินทั้งระยะสั้นและระยะยาวได้ มีผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝาก สามารถขายตราสารหนี้ก่อนครบกำหนดได้ที่ตลาดBEX และนักลงทุนอาจได้กำไรจากการขาย

กลุ่ม 5 ถามคำถามกลุ่ม 1

คำถาม : ในภาวะปัจจุบันควรลงทุนในตราสารทุนประเภทใด

คำตอบ : ควรลงทุนในหุ้นบุริมสิทธิ เพราะสภาพเศรษฐกิจไม่ดี ไม่คงที่ สามารถชำระเงินทุนคืนได้

กลุ่ม 5 ถามคำถามกลุ่ม 2

คำถาม : ผู้ลงทุนจะทราบได้อย่างไรว่าถ้าลงทุนในตราสารหนี้แล้วจะได้ผลตอบแทนที่แน่นอน

คำตอบ : การลงทุนในตราสารหนี้มีผลตอบแทนที่แน่นอนเพราะในหนังสือชี้ชวนบอกรายละเอียดในการจ่ายดอกเบี้ยที่แน่นอน

กลุ่ม 5 ตอบคำถามกลุ่ม 1

คำถาม : กองทุนรวมทำไมถึงน่าสนใจ

คำตอบ : มีนโยบายที่หลากหลายให้เลือกลงทุน ตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุนได้ทุกกลุ่ม มีมืออาชีพคือ บลจ.บริหารเงินให้เรา มีการนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารที่หลากหลาย มีเงินทุนน้อยก็ลงทุนได้ รวมถึงมีช่องทางการซื้อขายที่หลากหลาย

กลุ่ม 5 ตอบคำถามกลุ่ม 2

คำถาม : ประโยชน์ของผู้ออกตราสารหนี้คืออะไร

คำตอบ : ผู้ออกตราสารหนี้จะได้ประโยชน์คือมีแหล่งเงินทุนที่จะนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ เมื่อลงทุนแล้วจะได้รับผลตอบแทน(ดอกเบี้ย) ตามที่ระบุไว้ในหน้าตั๋วตลอดทุกงวดสม่ำเสมอ สามารถออมเงินทั้งระยะสั้นและระยะยาวได้ มีผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝาก สามารถขายตราสารหนี้ก่อนครบกำหนดได้ที่ตลาดBEX และนักลงทุนอาจได้กำไรจากการขาย

คำถามหลัง Present ของกลุ่มที่ 1

ถามว่า : กองทุนรวมดีอย่างไร

ตอบ : 1.มีเงินเล็กก็สามารถลงทุนใหญ่ได้

2.ลงทุนได้แม้ไม่มีความชำนาญหรือไม่มีเวลาเพราะมีมืออาชีพมาเป็นตัวช่วย

3.มีการกระจายความเสี่ยง

4.มีทางเลือกมากมายสามารถเลือกได้ให้เหมาะกับตัวเอง

5.ลงทุนตามสบาย ซื้อขายได้เมื่อต้องการ

6.มีกลไกปกป้องผู้ลงทุน

คำถาม : ในปัจจุบันนี้ ถ้าเราต้องการซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาด TFEX จะซื้อสินค้าตัวไหนดี เพราะอะไร

ตอบ : ลงทุนในสินค้าประเภท ทอง เพราะตอนนี้น้ำมันมีการประสบปัญหาน้ำมันรั่วทำให้ราคาตกลง ทำไมน้ำมันจึงตก ก็เพราะว่าน้ำมันนั้นมีสินค้าตัวอื่นที่สามารถทดแทนกันได้นั่นเอง

 

คำถามจากกลุ่มผู้รายงาน

คำถามจากกลุ่มที่ 1 : กองทุนรวมทำไมจึงน่าสนใจ

ตอบ : 1. เพิ่มโอกาสโดยไม่ต้องใช้เงินมาก
สร้างและเพิ่มโอกาสการลงทุนด้วยเงินจำนวนใม่มาก เช่น ผู้ที่มีเงิน 10,000 บาทก็สามารถนำมาลงทุนเพื่อเพิ่มผลตอบแทนได้เช่นเดียวกับนักลงทุนรายใหญ่หรือ นักลงทุนสถาบันที่มีเงินลงทุนหลายล้านบาท

2. ประหยัดเวลาโดยไม่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการลงทุนมาก
ประหยัดเวลาของผู้ลงทุน โดยมอบหมายให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเป็นผู้มีความรู้ ความ
ชำนาญและมีประสบการณ์ในการลงทุนสูง เป็นผู้ที่คลุกคลีอยู่กับการลงทุนตลอดเวลาทำให้มีข้อมูลเป็นจำนวนมาก และสามารถวิเคราะห์ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และตัดสินใจได้ทันต่อสถานการณ์ เป็นผู้รับผิดชอบจัดการเงินลงทุน

3. กระจายความเสี่ยงโดยไม่ต้องมีเงินก้อนใหญ่
กระจายความเสี่ยงในการลงทุนไปยังหลักทรัพย์หลายประเภท ซึ่งหากลงทุนเองจะต้องใช้เงินลงทุน
ก้อนใหญ่ และจะต้องอาศัยการวิเคราะห์วิจัยเพื่อจัดสัดส่วนการลงทุน

4. เลือกระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนได้หลายระดับ
การลงทุนในตราสารที่ต่างประเภทกัน ก็ย่อมให้ความเสี่ยงที่แตกต่างกัน เช่น การลงทุนในตราสาร
ทุน ก็ย่อมมีความเสี่ยงมากกว่าตราสารหนี้ แต่โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนในการลงทุนตราสารทุน ก็สูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้เช่นกัน ดังนั้นก่อนที่เราจะตัดสินใจลงทุน ในกองทุนประเภทใด นอกจากจะดูถึงโอกาสที่จะได้รับกำไรแล้ว ก็ควรจะต้องดูถึงนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้น รวมถึงต้องศึกษารายละเอียด ของแต่ละกองทุนให้ถ้วนถี่ด้วย เพราะนั่นหมายถึงความเสี่ยงในการลงทุน ที่เราจะต้องยอมรับตลอดไป ที่เราถือหน่วยลงทุนในกองทุนนั้นๆ เราจึงควรจะชั่งน้ำหนักให้ดีว่า ความเสี่ยงระดับไหนที่เรายอมรับได้ ในระดับอัตราผลตอบแทนที่เราพอใจ

5. มีการควบคุมดูแลที่รัดกุมจากทางราชการ
มีกลไกป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากการการลงทุน และความเสี่ยงเรื่องการฉ้อโกงที่ดี เพราะมีหน่วยงานต่างๆคอยควบคุมดูแลให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ลงทุนดังนี้
1. สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีหน้าที่ดูแลให้การดำเนินธุรกิจของกองทุนรวมเป็นไปอย่างชอบธรรม โดยกำกับดูแลทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องทั้งบริษัทจัดการ ผู้ดูแลผลประโยชน์ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน และผู้ถือหน่วยลงทุน
2. ผู้ดูแลผลประโยชน์ มีหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบการบริหาร กองทุนรวมของบริษัทจัดการให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในรายละเอียดโครงการ โดยทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ถือหน่วยลงทุน เพื่อคอยสอดส่องการทำงานของบริษัทจัดการอีกชั้นหนึ่ง อีกทั้งเป็นผู้เก็บรักษาทรัพย์สินของกองทุนรวมและที่สำคัญ ผู้ดูแลผลประโยชน์ห้ามเป็นบริษัทในเครือเดียวกับ บลจ.
3. สมาคมบริษัทจัดการลงทุน บริษัทจัดการต้องเป็นสมาชิกสมาคม ซึ่งสมาคมจะเป็นผู้กำหนดหลักจรรยาบรรณ และมาตรฐานการประกอบวิชาชีพให้ผู้บริหาร ผู้จัดการกองทุนรวม และพนักงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตาม รวมทั้งเป็นแหล่งรวมข้อมูลของธุรกิจการจัดการลงทุนสำหรับผู้สนใจอีกทางหนึ่ง

6. สิทธิประโยชน์ด้านภาษี
กองทุนรวมไม่ถือเป็นหน่วยภาษี คือไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้ทุกประเภทที่กองทุนได้รับจาก การลงทุน ในขณะเดียวกัน เมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับผลตอบแทนจากกองทุนรวมไม่ว่าจะเป็นในรูปของเงิน ปันผล หรือกำไรส่วนเกินทุน

คำถามจากกลุ่มที่ 2 : ประโยชน์ของผู้ออกตราสารหนี้คือ?

ตอบ : ผู้ออกตราสารหนี้คือผู้กู้เงินจากผู้ที่ซื้อตราสารหนี้ ดังนั้น ผู้ออกจึงเป็น “ลูกหนี้” ในขณะที่ผู้ซื้อ คือ “ผู้ให้กู้” หรือ “ เจ้าหนี้” นั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากตราสารทุนหรือหุ้นสามัญที่ผู้ถือตราสารทุนนั้นจะลงทุนในส่วน ของผู้ถือหุ้น และมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการนั้นๆ ไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้

คำถามจากกลุ่มที่ 3 : สภาวะของออฟชั่น แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

ตอบ : การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน เงินเฟ้อมาตรการควบคุม/วิธีการจัดการลดความเสี่ยงคือ มีแผนรองรับ สำรองวัสดุ อุปกรณ์ใช้งานที่จำเป็น ทำสัญญาซื้อขายระยะยาวสำหรับสินค้า และวัตถุดิบที่จำเป็นที่ราคาคงที่ใช้บริการเฉลี่ยจากผู้ขายมากรายใช้เครื่อง มือทางการเงินทำ hedging สำหรับความเสี่ยงทางราคาซื้อออฟชั่นกำหนดราคาล่วงหน้าประเมินอัตราดอกเบี้ย คาดการณ์ไว้รองรับความเสี่ยง

กลุ่ม 5 ถามคำถามกลุ่ม 3

คำถาม : ฟิวเจอร์ต่างจากหุ้นอย่างไร

คำตอบ : ฟิวเจอร์เป็นสัญญาที่ตกลงไว้ล่วงหน้าแล้วส่งมอบสินค้าในอนาคต สำหรับหุ้นนั้นเป็นการตกลงซื้อขายหุ้นกันโดยทันที

กลุ่ม 5 ตอบคำถามกลุ่ม 3

คำถาม : สภาวะของออปชั่นแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อธิบาย

คำตอบ : สภาวะของออปชั่นมี 3 สถานะ

1. ออปชั่นจะมีสถานะเป็น in-the-money ก็ต่อเมื่อผู้ถือออปชั่นนั้นได้รับประโยชน์หากมีการใช้สิทธิในขณะนั้น ดังนี้

คอลออปชั่น จะมีสถานะเป็น in-the-money ก็ต่อเมื่อ ราคาตลาดของหุ้นแม่สูงกว่าราคาใช้สิทธิ

พุทออปชั่น จะมีสถานะเป็น เป็น in-the-money ก็ต่อเมื่อ ราคาใช้สิทธิสูงกว่าราคาตลาดของหุ้นแม่

2. เมื่อออปชั่นมีสถานะเป็น at-the money ผู้ลงทุนจะไม่เกิดประโยชน์จากการใช้สิทธิเนื่องจากราคาตลาดของหุ้นแม่ในขณะนั้นจะเท่ากับราคาใช้สิทธิของออปชั่น กล่าวคือ

คอลและพุทออปชั่น จะมีสถานะเป็น at-the-money ก็ต่อเมื่อราคาตลาดของหุ้นแม่เท่ากับราคาใช้สิทธิของออปชั่น

3. เช่นเดียวกับกรณีของออปชั่นที่มีสถานะเป็น at-the-money ผู้ถือออปชั่นจะไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้สิทธิตามออปชั่น โดยออปชั่นจะมีสถานะเป็น out-of-the-money ตามเงื่อนไขดังนี้

คอลออปชั่น จะมีสถานะเป็น out-of-the-money ก็ต่อเมื่อราคาตลาดของหุ้นแม่ต่ำกว่าราคาใช้สิทธิ

พุทออปชั่น จะมีสถานะเป็น out-of-the-money ก็ต่อเมื่อราคาใช้สิทธิต่ำกว่าราคาตลาดของหุ้นแม่

กลุ่มที่4 การเงินปี4

คำถาม : ในเมื่อสัญาฟิวเจอร์ มีคุณสมบัติที่ดีกว่าสัญญาฟอร์เวิร์ดเกือบทุกข้อ ช่วยยกตัวอย่างกลุ่มลูกค้าที่เลือกชื้อสัญญาฟอร์เวิร์ด พร้อมบอกเหตุผลว่าเพราะเหตุใด

คำตอบ : ไม่จำกัดธุรกิจ เพราะมีความสะดวกในการตกลงทำสัญญารวดเร็วกว่าสัญญาฟิวเจอร์ เช่น การไปชื้อสัญญาฟอร์เวิร์ด พันธบัตรซึ่งมีสินทรัพย์อ้างอิง

คำถาม : การวัดความเสี่ยงของหลักทรัพย์กลุ่ม ถ้าค่าความแปลปวน และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกิดเท่ากันหรือใกล้เคียงกันมาก เราจะมีเครื่องมือใดนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อทำการเลือกซื้อหลักทรัพย์นั้นๆ

ตอ: 1. Risk.

         2. Return

         3. CV

         4. เบต้า

กลุ่ม 5 ถามคำถามกลุ่ม 4

คำถาม : การคำนวณการวัดความเสี่ยงของหลักทรัพย์สามารถนำไปใช้ในการลงทุนได้ทันทีหรือไม่

คำตอบ : ในการลงทุนนั้นจะดูจากการความเสี่ยงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูความเสี่ยงด้านอื่นๆ ด้วยทั้งในเรื่องของปัจจัยพื้นฐาน ดูที่ตัวบุคคลว่ายอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน การเมือง การปกครอง ฯลฯ

กลุ่ม 5 ตอบคำถามกลุ่ม 4

คำถาม : ประเภทของความเสี่ยงในการลงทุนมีอะไรบ้าง

คำตอบ : ความเสี่ยงในการลงทุนสามารถจำแนกได้ดังนี้

1. ความเสี่ยงจากลักษณะการดำเนินธุรกิจของผู้ออกตราสาร (Business risk)

ลักษณะธุรกิจมีผลต่อความแน่นอนของรายได้ของผู้ออกตราสาร หากผู้ออกตราสารมีความไม่แน่นอนของรายได้สูงความเสี่ยง

ในการลงทุน ในหลักทรัพย์และทรัพย์สินของผู้ออกตราสารย่อมสูงตามไปด้วย

2. ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ (Capital risk)

แม้ว่าในระยะยาว ตราสารทุนจะมีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้ แต่ในระยะสั้นมูลค่าของตราสารทุนอาจขึ้นๆ

ลงๆ ตามสภาวะผันผวนของตลาดหุ้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง การลงทุนในตราสารทุนระยะสั้นจึงอาจจะประสบผลขาดทุนได้

3. ความเสี่ยงจากการที่ไม่สามารถขายตราสารได้ทันทีในราคาที่เป็นธรรมและเหมาะสม (Liquidity risk)

บริษัทจัดการอาจไม่สามารถซื้อขายตราสารในจังหวะเวลาที่เหมาะสมได้ หรือหากต้องการจะซื้อจะขายก็ต้องมีการเพิ่มหรือลด

ราคาเพื่อดึงดูดให้มีการตกลงซื้อขายเกิดขึ้น

4. ความเสี่ยงจากการที่ผู้ออกตราสารไม่ชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย (Credit risk หรือ Default risk)

การลงทุนในตราสารหนี้เปรียบเสมือนการปล่อยกู้ หากผู้ออกตราสารหนี้หมดความสามารถในการชำระดอกเบี้ยหรือใช้คืนเงินต้น

ภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วมูลค่าของตราสารนั้นก็อาจกลายเป็นศูนย์

5. ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (Interest-rate risk)

อัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงในท้องตลาดสามารถก่อให้เกิดความผันผวนของราคาตราสารหนี้ที่สัญญาจะชำระดอกเบี้ยในอัตรา

คงที่ตลอดอายุของตราสาร หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง ราคาตราสารหนี้ก็จะสูงขึ้นแต่หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้น

ราคาตราสารหนี้ก็จะตํ่าลง เพื่อชดเชยให้กับส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยนั้น

6. ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการที่ผลตอบแทนที่ได้รับต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ (Inflation risk)

เช่น หากการลงทุนในตราสารหนี้ให้ผลตอบแทน 5% ต่อปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อสูงถึง 8% ต่อปีนั้นหมายถึงอำนาจซื้อ

ของดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนในตราสารหนี้ลดลง

กลุ่ม 3 ตอบคำถามกลุ่ม 4

คำถาม : ประเภทของความเสี่ยงในการลงทุนมีอะไรบ้าง

คำตอบ : ความเสี่ยงในการลงทุนสามารถจำแนกได้ดังนี้

ประเภทของความเสี่ยง

เราสามารถแบ่งความเสี่ยงออกได้เป็น 4 ประเภท คือ

1.ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถในทำกำไรของบริษัท อันเป็นเหตุให้ผู้ลงทุนต้องสูญเสียรายได้ หรือเงินลงทุน ประกอบด้วย ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ และความเสี่ยงในระดับอุตสาหกรรม

2.ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) คือ การสูญเสียเงินลงทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์ และอุปทานของตลาด

3.ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยในตลาด

4.ความเสี่ยงจากอำนาจซื้อ (Purchasing Power Risk) คือ ความเสี่ยงทีเกิดจากอำนาจซื้อของเงินที่ลดลง ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่ออำนาจซื้อ คือ ภาวะเงินเฟ้อ

ตราสารอนุพันธ์ เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรอย่างไร

ผู้ที่ใช้ตราสารอนุพันธ์ในการป้องกันความเสี่ยง (Hedger) เป็นผู้ที่เข้ามาซื้อขายตราสารอนุพันธ์ เพื่อการป้องกันความเสี่ยงของตนเอง เช่น บริษัทนำเข้าหรือส่งออกทำการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยการซื้อสัญญาซื้อหรือขายล่วงหน้าเงินตราต่างประเทศ

เช่น บริษัท ก. เป็นบริษัทผู้นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ได้สั่งซื้อวัตถุดิบจากประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ หากบริษัทคู่ค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้เครดิตทางการค้าแก่บริษัท ก. จำนวน 60 วัน บริษัท ก. จะได้รับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทันที

ถ้า อัตราแลกเปลี่ยนในวันนี้มีอัตราแลกเปลี่ยนที่ 35 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ บริษัท ก. จะรับทราบและรับรู้ถึงต้นทุนของวัตถุดิบดังกล่าวว่ามีมูลค่าถึง 3,500,000 บาท แต่หากเวลาเปลี่ยนไป อัตราแลกเปลี่ยนจะเกิดการผันผวน ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนในอีก 60 วันข้างหน้า เป็น 30 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ บริษัทจะได้รับกำไรเพิ่มขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนทันที ดอลลาร์ละ 5 บาท เพราะบริษัทจะจ่ายชำระค่าวัตถุดิบในการผลิตเพียง 3,000,000 บาทเท่านั้น

แต่ ในทางกลับกัน หากอัตราแลกเปลี่ยนในอีก 60 วันข้างหน้าเป็น 40 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ บริษัท ก. จะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทันที ดอลลาร์ละ 5 บาท คือจะขาดทุนเป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท เพราะบริษัท ก. จะต้องจ่ายค่าวัตถุดิบจำนวน 4,000,000 บาท

การใช้ตราสารอนุพันธ์ในการ ป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวสามารถทำได้โดย การซื้อดอลลาร์สหรัฐล่วงหน้าจากธนาคาร โดยบริษัท ก. จะต้องทำการซื้อดอลาร์ล่วงหน้า กับธนาคาร โดยบริษัท ก. และธนาคาร อาจตกลงกันว่า บริษัท ก. จะมาขอซื้อเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ จากธนาคารในอีก 60 วันข้างหน้า ซึ่งธนาคารจะเป็นผู้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคตอีก 60 วันข้างหน้าให้แก่ บริษัท ก. สมมติว่า ธนาคารกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนให้แก่บริษัท ก. เท่ากับ 36 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐในอีก 60 วันข้างหน้า

บริษัท ก. จะทราบต้นทุนของตนเองทันที คือ บริษัท ก. จะทราบว่าต้นทุนของวัตถุดิบของตนเองนั้น มีมูลค่า 3,600,000 บาท ไม่ใช่ 3,500,000 บาทอีกต่อไป เพราะบริษัท ก. จะต้องชำระค่าสินค้าแก่บริษัทคู่ค้าในประเทศสหรัฐอเมริกาในอีก 60 วันข้างหน้าตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารกำหนด วิธีการนี้จะทำให้บริษัท ก. สามารถลดความเสี่ยงลงได้ และที่สำคัญคือ บริษัท ก. จะทราบต้นทุนที่แท้จริงในกระบวนการผลิตหรือการดำเนินงานได้

วิธีการ ดังกล่าวข้างต้น เป็นหนึ่งในกระบวนการป้องกันความเสี่ยง ด้วยการใช้ตราสารอนุพันธ์ สำหรับในประเทศไทยวิธีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนยังคงทำได้ วิธีเดียว คือวิธีการข้างต้น แต่ในอนาคต เมื่อตลาดตราสารอนุพันธ์ในประเทศไทยมีสินค้าหรือตราสารอนุพันธ์ที่มีความ หลากหลายมากขึ้น การซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าอาจถูกนำไปกำหนดในตลาดอนุพันธ์ เพื่อเพิ่มช่องทางในการป้องกันความเสี่ยงให้แก่ผู้ป้องกันความเสี่ยงมากขึ้น

คำถาม : ตราสารอนุพันธ์เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรได้อย่างไร

คำตอบ : ตราสารอนุพันธ์เป็นทางเลือกของการลงทุนที่น่าสนใจทางหนึ่ง โดยเฉพาะประเภทที่ซื้อขายในตลาดล่วงหน้าที่เป็นทางการ และมีสภาพคล่องสูง นักลงทุนสามารถสร้างรายได้จากการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ได้ 2 วิธีหลักๆ ดังต่อไปนี้

การเก็งกำไร (Speculation) เป็นการทำกำไรจากส่วนต่างจากความผันผวนของราคาในอนาคต โดยหากนักลงทุนสามารถเก็งราคาได้ถูกต้องก็จะมีกำไร แต่หากเก็งผิดพลาดก็จะขาดทุนนั่นเอง ในที่นี้ขอยกตัวอย่างกรณีของฟิวเจอร์สซึ่งซื้อขายในตลาดที่เป็นทางการ และมีสภาพคล่องสูง สมมติว่า นักลงทุนรายหนึ่งคาดการณ์ว่า ราคาข้าวเปลือกมีแนวโน้มจะสูงขึ้นในอนาคต จึงเข้ามาซื้อฟิวเจอร์สซึ่งจะมีอายุครบกำหนดอีก 3 เดือนข้างหน้าที่ราคาล่วงหน้า 100 บาทต่อถุง หากราคาตลาดในอีก 1 เดือนข้างหน้าสูงขึ้นเป็น 120 บาทต่อถุง นักลงทุนอาจเลือกที่ถือครองฟิวเจอร์สต่อไปจนครบกำหนด หรือจะทำการปิดฐานะ (Offset) ของตนเองลงโดยการขายฟิวเจอร์สที่เหมือนกัน และเก็บกินกำไรส่วนต่างที่ 20 บาทต่อถุงได้ ทั้งนี้ก็เพราะโดยหลักการแล้ว การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับเจ้าของสินทรัพย์อ้างอิงนั้นแต่อย่างใด กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ นักลงทุนรายนี้จะไม่มีส่วนในการเป็นเจ้าของข้าวเปลือกที่นำมาใช้เป็นสินทรัพย์อ้างอิงนั้นจนกว่าจะครบกำหนดสัญญา และได้รับมอบสินค้า หากนักลงทุนเลือกที่จะรอจนครบกำหนดสัญญา โดยสมมติว่าราคาตลาดยังคงอยู่ที่ 120 บาทต่อถุง นักลงทุนไม่เพียงแต่มีหน้าที่ต้องชำระราคา และรับมอบข้าวเปลือกจากทางเกษตรกร หากยังมีต้นทุนในการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ ถ้าจำนวนข้าวเปลือกที่รับมอบเพียงแค่ถุงสองถุงก็พอไหว แต่ตามมาตรฐานของฟิวเจอร์สส่วนใหญ่แล้วสินทรัพย์อ้างอิงจะมีจำนวนหน่วยที่ส่งมอบขนาดใหญ่มาก หากนักลงทุนไม่มีคลังสินค้าที่มีพื้นที่เก็บเพียงพอก็จะประสบกับปัญหา กรณีที่ราคาตลาดในอนาคตของข้าวเปลือกไม่ได้สูงขึ้นแต่กลับลดลงเหลือ 80 บาทต่อถุงแทน นักลงทุนย่อมที่จะทำการปิดฐานะของตนเองลง และแบกรับกับผลขาดทุนที่เกิดขึ้นเนื่องจากไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หากเก็งราคาผิด ก็รับความเสี่ยงไปเต็มๆ อย่างไรก็ตามไม่ได้มีเพียงแต่นักลงทุนที่สามารถใช้ตราสารอนุพันธ์ในการเก็งกำไรได้เท่านั้น ตัวเจ้าของสินทรัพย์อ้างอิง หรือเกษตรกรเองก็สามารถนำตราสารอนุพันธ์มาใช้ในการล็อคราคาเพื่อเก็งกำไรได้ด้วยเช่นกัน

กลุ่ม 3 ถามกลุ่ม 5

ถามว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จได้มาจากไหนและต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในปัจจุบันใหม

ตอบ อ้างอิงมาจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บางส่วนสามารถนำมาใช้ได้จริงแต่เป็นเพียงปัจจัยพื้นฐานจึงไม่ลงลึกในแต่ ละตัว สามารถใช้ได้จริง

คำถามกลุ่ม 5

ให้หารายชื่อบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

กลุ่ม 3 ตอบ

หลักทรัพย์ บริษัท

2S บริษัท 2 เอส เมทัล จำกัด (มหาชน)

A บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)

A-PAO บริษัท อั่งเปา แอสเสท จำกัด (มหาชน)

ABICO บริษัท เอบิโก้ โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

ACAP บริษัท เอแคป แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัด (มหาชน)

ADAM บริษัท อาดามัส อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ADVANC บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

AEONTS บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)

AFC บริษัท เอเซียไฟเบอร์ จำกัด (มหาชน)

AGE บริษัท เอเชีย กรีน เอนเนอจี จำกัด (มหาชน)

AH บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน)

AHC บริษัท โรงพยาบาลเอกชล จำกัด (มหาชน)

AI บริษัท เอเชียน อินซูเลเตอร์ จำกัด (มหาชน)

AIM บริษัท แอปโซลูท อิมแพค จำกัด (มหาชน)

AIT บริษัท แอ็ดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)

AJ บริษัท เอ.เจ.พลาสท์ จำกัด (มหาชน)

AKR บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน)

ALUCON บริษัท อลูคอน จำกัด (มหาชน)

AMATA บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน)

AMC บริษัท เอเซีย เมทัล จำกัด (มหาชน)

AOT บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

AP บริษัทเอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

APC บริษัทแอ็ดว้านซ์เพ้นท์ แอนด์ เคมิเคิล (ไทยแลนด์)จำกัด(มหาชน)

APRINT บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

APURE บริษัท อกริเพียว โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

APX บริษัท เอเพ็กซ์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

AS บริษัท เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ASCON บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

ASIA บริษัท เอเชียโฮเต็ล จำกัด (มหาชน)

ASIAN บริษัท ห้องเย็นเอเชี่ยน ซีฟู้ด จำกัด (มหาชน)

ASIMAR บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน)

ASK บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)

ASP บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน)

AYUD บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน)

BAFS บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

BANPU บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)

BAT-3K บริษัท ไทยสโตเรจ แบตเตอรี่ จำกัด (มหาชน)

BATA บริษัท รองเท้าบาจาแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน)

BAY ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

BBL ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

BCP บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

BEC บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

BECL บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

BFIT บริษัทเงินทุน กรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน)

BGH บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน)

BGT บริษัท บีจีที คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

BH บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

BIGC บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)

BJC บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

BKI บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

BKKCP กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์บางกอก

BLA บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

BLAND บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน)

BLISS บริษัท บลิส-เทล จำกัด (มหาชน)

BLS บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)

BMCL บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

BNC บริษัท บางกอกไนล่อน จำกัด (มหาชน)

BOL บริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน)

BRC บริษัท บางกอกรับเบอร์ จำกัด (มหาชน)

BROCK บริษัท บ้านร็อคการ์เด้น จำกัด (มหาชน)

BROOK บริษัท บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

BSBM บริษัท บางสะพานบาร์มิล จำกัด (มหาชน)

BSEC บริษัทหลักทรัพย์ บีฟิท จำกัด (มหาชน)

BSM บริษัท บิวเดอสมาร์ท จำกัด (มหาชน)

BTC บริษัท บางปะกง เทอร์มินอล จำกัด (มหาชน)

BTNC บริษัท บูติคนิวซิตี้ จำกัด (มหาชน)

BTS บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

BUI บริษัท บางกอกสหประกันภัย จำกัด (มหาชน)

BWG บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน)

CAWOW บริษัท แคลิฟอร์เนีย ว้าว เอ็กซ์พีเรียนซ์ จำกัด (มหาชน)

CCET บริษัท แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

CCP บริษัท ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี จำกัด (มหาชน)

CEI บริษัท คอมพาสส์ อีสต์ อินดัสตรี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

CEN บริษัท แคปปิทอล เอ็นจิเนียริ่ง เน็ตเวิร์ค จำกัด (มหาชน)

CENTEL บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)

CFRESH บริษัท ซีเฟรชอินดัสตรี จำกัด (มหาชน)

CGD บริษัท คันทรี่ กรุ๊ป ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

CGS บริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

CHARAN บริษัท จรัญประกันภัย จำกัด (มหาชน)

CHOTI บริษัท ห้องเย็นโชติวัฒน์หาดใหญ่ จำกัด (มหาชน)

CHUO บริษัท ชูโอ เซ็นโก (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

CI บริษัท ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

CIG บริษัท ซี.ไอ.กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

CIMBT ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

CIRKIT บริษัท เซอร์คิทอีเลคโทรนิคส์อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน)

CITY บริษัท ซิตี้ สตีล จำกัด (มหาชน)

CK บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)

CM บริษัท เชียงใหม่โฟรเซ่นฟู้ดส์ จำกัด(มหาชน)

CMO บริษัท ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ จำกัด (มหาชน)

CMR บริษัท เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน)

CNS บริษัทหลักทรัพย์ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน)

CNT บริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน)

CPALL บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

CPF บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

CPH บริษัท คาสเซ่อร์พีคโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

CPI บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)

CPICO บริษัท เซ็นทรัลอุตสาหกรรมกระดาษ จำกัด (มหาชน)

CPL บริษัท ซี.พี.แอล.กรุ๊พ จำกัด (มหาชน)

CPN บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)

CPNRF กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรท

CPR บริษัท ซีพีอาร์ โกมุ อินดัสเตรียล จำกัด (มหาชน)

CRANE บริษัท ชูไก จำกัด (มหาชน)

CSC บริษัท ฝาจีบ จำกัด (มหาชน)

CSL บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน)

CSP บริษัท ซีเอสพี สตีลเซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)

CSR บริษัท เทพธานีกรีฑา จำกัด (มหาชน)

CTARAF กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โรงแรมและรีสอร์ทในเครือฯ

CTW บริษัท จรุงไทยไวร์แอนด์เคเบิ้ล จำกัด (มหาชน)

CWT บริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

CYBER บริษัท ไซเบอร์แพลนเน็ต อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด (มหาชน)

D-MARK บริษัท พันธุ์สุกรไทย-เดนมาร์ค จำกัด (มหาชน)

DAIDO บริษัท ไดโดมอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

DCC บริษัท ไดนาสตี้เซรามิค จำกัด (มหาชน)

DCON บริษัท ดีคอนโปรดักส์ จำกัด (มหาชน)

DELTA บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

DEMCO บริษัท เด็มโก้ จำกัด (มหาชน)

DIMET บริษัท ไดเมท (สยาม) จำกัด (มหาชน)

DISTAR บริษัทไดสตาร์ อิเลคทริก คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

DM บริษัท ธนมิตร แฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน)

DRACO บริษัท ดราโก้ พีซีบี จำกัด (มหาชน)

DRT บริษัท กระเบื้องหลังคาตราเพชร จำกัด (มหาชน)

DSGT บริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

DTAC บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)

DTC บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน)

DTCI บริษัท ดี.ที.ซี.อินดัสตรี่ส์ จำกัด (มหาชน)

DTM บริษัท ดาต้าแมท จำกัด (มหาชน)

E บริษัท เอฟโวลูชั่น แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)

EASON บริษัท อีซึ่น เพ้นท์ จำกัด (มหาชน)

EASTW บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน)

ECL บริษัท ตะวันออกพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)

EE บริษัท อีเทอเนิล เอนเนอยี จำกัด (มหาชน)

EGCO บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)

EIC บริษัท อุตสาหกรรม อีเล็คโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน)

EMC บริษัท อีเอ็มซี จำกัด (มหาชน)

EPCO บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน)

ERAWAN บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

ESSO บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

ESTAR บริษัท อีสเทอร์น สตาร์ เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน)

ETG บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน)

EVER บริษัท เอเวอร์แลนด์ จำกัด (มหาชน)

F&D บริษัท ฟู้ดแอนด์ดริ๊งส์ จำกัด (มหาชน)

FANCY บริษัท แฟนซีวู๊ด อินดัสตรีส จำกัด (มหาชน)

FE บริษัท ฟาร์อีสท์ ดีดีบี จำกัด (มหาชน)

FMT บริษัท ฟูรูกาวา เม็ททัล (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)

FNS บริษัท ฟินันซ่า จำกัด (มหาชน)

FOCUS บริษัท โฟคัส ดีเวลลอปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

FORTH บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

FSS บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)

FUTUREPF กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ฟิวเจอร์พาร์ค

GBX บริษัท โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

GC บริษัท โกลบอล คอนเน็คชั่นส์ จำกัด (มหาชน)

GEN บริษัท เจนเนอรัล เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)

GENCO บริษัทบริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด(มหาชน)

GFM บริษัท โกลด์ไฟน์ แมนูแฟคเจอเรอส์ จำกัด (มหาชน)

GFPT บริษัท จีเอฟพีที จำกัด (มหาชน)

GJS บริษัท จี เจ สตีล จำกัด (มหาชน)

GL บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน)

GLAND บริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด (มหาชน)

GLOBAL บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

GLOW บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน)

GOLD บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

GOLDPF กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์

GRAMMY บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)

GRAND บริษัท แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด(มหาชน)

GSTEEL บริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน)

GYT บริษัท กู๊ดเยียร์(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

HANA บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน)

HEMRAJ บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน)

HFT บริษัท ฮั้วฟง รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)

HMPRO บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)

HTC บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน)

HTECH บริษัท แฮลเซี่ยน เทคโนโลยี่ จำกัด (มหาชน)

ICBCT ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)

ICC บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)

IEC บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน)

IFEC บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ วิศวการ จำกัด (มหาชน)

IHL บริษัท อินเตอร์ไฮด์ จำกัด (มหาชน)

ILINK บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)

INET บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน)

INOX บริษัท ไทยน๊อคซ์ สเตนเลส จำกัด (มหาชน)

INSURE บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)

IRC บริษัท อิโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

IRCP บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล รีเสริช คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

IRPC บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)

IT บริษัท ไอที ซิตี้ จำกัด (มหาชน)

ITD บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

ITV บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)

IVL บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)

JAS บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)

JCP กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เจซี

JCT บริษัท แจ๊กเจียอุตสาหกรรม (ไทย) จำกัด (มหาชน)

JMART บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน)

JTS บริษัท จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์ จำกัด (มหาชน)

JUBILE บริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)

JUTHA บริษัท จุฑานาวี จำกัด (มหาชน)

KASET บริษัท ไทยฮา จำกัด (มหาชน)

KBANK ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

KC บริษัท เค.ซี. พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)

KCAR บริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ ลีส จำกัด (มหาชน)

KCE บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน)

KDH บริษัท โรงพยาบาลกรุงธน จำกัด (มหาชน)

KEST บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

KGI บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

KH บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน)

KIAT บริษัท เกียรติธนา ขนส่ง จำกัด (มหาชน)

KK ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)

KKC บริษัท กุลธรเคอร์บี้ จำกัด (มหาชน)

KMC บริษัทกฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน)

KSL บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน)

KTB ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

KTC บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

KTECH บริษัท เค-เทค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

KTP บริษัท เคปเปล ไทย พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)

KWC บริษัท กรุงเทพโสภณ จำกัด (มหาชน)

KWH บริษัทวิค แอนด์ ฮุคลันด์ จำกัด (มหาชน)

KYE บริษัท กันยงอีเลคทริก จำกัด (มหาชน)

L&E บริษัท ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

LALIN บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)

LANNA บริษัท ลานนารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน)

LEE บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)

LH บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

LHK บริษัท โลหะกิจ เม็ททอล จำกัด (มหาชน)

LIVE บริษัท ไลฟ์ อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

LL บริษัท ลิฟวิ่งแลนด์ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)

LOXLEY บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)

LPN บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

LRH บริษัท ลากูน่า รีสอร์ท แอนด์ โฮเท็ล จำกัด (มหาชน)

LST บริษัท ล่ำสูง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

LTX บริษัท ลัคกี้เท็คซ์ (ไทย) จำกัด (มหาชน)

LUXF กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ลักซ์ชัวรี่

LVT บริษัท แอล.วี.เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)

M-CHAI บริษัท โรงพยาบาลมหาชัย จำกัด (มหาชน)

M-STOR กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เอ็มเอฟซี-สแตรทิจิกสโตเรจฟันด์

MACO บริษัท มาสเตอร์ แอด จำกัด (มหาชน)

MAJOR บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน)

MAKRO บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)

MALEE บริษัท มาลีสามพราน จำกัด (มหาชน)

MANRIN บริษัท แมนดารินโฮเต็ล จำกัด (มหาชน)

MATCH บริษัท แม็ทชิ่ง แม็กซิไมซ์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน)

MATI บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)

MAX บริษัท แมกซ์ เมทัล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

MBAX บริษัท มัลติแบกซ์ จำกัด (มหาชน)

MBK บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน)

MCOT บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

MCS บริษัท เอ็ม.ซี.เอส.สตีล จำกัด (มหาชน)

MDX บริษัท เอ็ม ดี เอ็กซ์ จำกัด (มหาชน)

METCO บริษัทมูราโมโต้ อีเล็คตรอน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

METRO บริษัท เมโทรสตาร์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)

MFC บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด(มหาชน)

MFEC บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน)

MGR บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

MIDA บริษัท ไมด้า แอสเซ็ท จำกัด (มหาชน)

MILL บริษัท มิลล์คอนสตีลอินดัสทรีส์ จำกัด (มหาชน)

MINT บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)

MIPF กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มิลเลียนแนร์

MJD บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

MJLF กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ไลฟ์

MK บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน)

ML บริษัท ไมด้า ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)

MLINK บริษัท เอ็ม ลิ้งค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

MME บริษัท ไมด้า-เมดดาลิสท์ เอ็นเธอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)

MNIT กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เอ็มเอฟซี-นิชดาธานี

MNIT2 กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นิชดาธานี 2

MNRF กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มัลติเนชั่นแนลเรสซิเดนซ์ฟันด์

MODERN บริษัท โมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

MONTRI กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์แบบมีกรรมสิทธิ์ 101 มนตรี สโตร์เรจ

MOONG บริษัท มุ่งพัฒนา อินเตอร์แนชชั่นแนล จำกัด (มหาชน)

MPIC บริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

MSC บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

MTI บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

N-PARK บริษัท แนเชอรัล พาร์ค จำกัด(มหาชน)

NBC บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

NC บริษัท นิวซิตี้ (กรุงเทพฯ) จำกัด (มหาชน)

NCH บริษัท เอ็น. ซี. เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด (มหาชน)

NEP บริษัท เอ็นอีพี อสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)

NEW บริษัท วัฒนาการแพทย์ จำกัด (มหาชน)

NFC บริษัท ปุ๋ยเอ็นเอฟซี จำกัด (มหาชน)

NIPPON บริษัท นิปปอน แพ็ค(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

NKI บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)

NMG บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

NNCL บริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน)

NOBLE บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

NPK บริษัท นิวพลัสนิตติ้ง จำกัด (มหาชน)

NSI บริษัทนำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน)

NTV บริษัท โรงพยาบาลนนทเวช จำกัด (มหาชน)

NVL บริษัท นวลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)

NWR บริษัทเนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน)

OCC บริษัท โอ ซี ซี จำกัด (มหาชน)

OGC บริษัท โอเชียนกลาส จำกัด (มหาชน)

OHTL บริษัท โอเอชทีแอล จำกัด (มหาชน)

OISHI บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

P-FCB บริษัท ประกิต โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

PA บริษัท แปซิฟิค แอสเซ็ทส์ จำกัด (มหาชน)

PAE บริษัท พีเออี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

PAF บริษัท แพนเอเซียฟุตแวร์ จำกัด (มหาชน)

PAP บริษัท แปซิฟิกไพพ์ จำกัด (มหาชน)

PATKL บริษัท พัฒน์กล จำกัด (มหาชน)

PATO บริษัท พาโตเคมีอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)

PB บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน)

PDI บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)

PE บริษัท พรีเมียร์เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน)

PERM บริษัท เพิ่มสินสตีลเวิคส์ จำกัด (มหาชน)

PF บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

PFFUND กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค

PG บริษัท ประชาอาภรณ์ จำกัด (มหาชน)

PHATRA บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน)

PICNI บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

PICO บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)

PL บริษัท ภัทรลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)

PLE บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)

PM บริษัท พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)

POMPUI บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน)

POST บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน)

POWER บริษัท เพาเวอร์-พี จำกัด (มหาชน)

PPC บริษัท แพ็คฟู้ด จำกัด (มหาชน)

PPM บริษัท พรพรหมเม็ททอล จำกัด (มหาชน)

PR บริษัท เพรซิเดนท์ไรซ์โปรดักส์ จำกัด (มหาชน)

PRANDA บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน)

PREB บริษัท พรีบิลท์ จำกัด (มหาชน)

PRECHA บริษัท ปรีชากรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

PRG บริษัท ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี จำกัด (มหาชน)

PRIN บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน)

PRO บริษัท โปรเฟสชั่นแนล เวสต์ เทคโนโลยี (1999) จำกัด (มหาชน)

PS บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)

PSAAP บริษัท ป่องทรัพย์ จำกัด (มหาชน)

PSL บริษัท พรีเชียส ชิพปิ้ง จำกัด (มหาชน)

PT บริษัท พรีเมียร์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)

PTL บริษัท โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

PTT บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

PTTAR บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)

PTTCH บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

PTTEP บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)

PYLON บริษัท ไพลอน จำกัด (มหาชน)

PYT บริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด (มหาชน)

Q-CON บริษัท ควอลิตี้คอนสตรัคชั่นโปรดัคส์ จำกัด (มหาชน)

QH บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

QHOP กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ควอลิตี้ ฮอสพิทอลลิตี้

QHPF กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ควอลิตี้ เฮ้าส์

QLT บริษัท ควอลลีเทค จำกัด (มหาชน)

RAIMON บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน)

RAM บริษัท โรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน)

RASA บริษัท รสา พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

RATCH บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

RCI บริษัท โรแยล ซีรามิค อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)

RCL บริษัท อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน)

RICH บริษัท ริช เอเชีย สตีล จำกัด (มหาชน)

ROBINS บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ROCK บริษัท ร้อกเวิธ จำกัด (มหาชน)

ROH บริษัท โรงแรมรอยัล ออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

ROJNA บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน)

RPC บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน)

RS บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)

S & J บ.เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)

S&P บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)

SABINA บริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน)

SAFARI บริษัท ซาฟารีเวิลด์ จำกัด (มหาชน)

SALEE บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)

SAM บริษัท สามชัย สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน)

SAMART บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

SAMCO บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน)

SAMTEL บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน)

SAT บริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)

SAUCE บริษัท ไทยเทพรสผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

SAWANG บริษัท สว่างเอ็กซ์ปอร์ต จำกัด (มหาชน)

SC บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

SCAN บริษัท สแกนโกลบอล จำกัด (มหาชน)

SCB ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

SCC บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน)

SCCC บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน)

SCG บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน)

SCIB ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)

SCNYL บริษัทไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

SCP บริษัท ทักษิณคอนกรีต จำกัด (มหาชน)

SCSMG บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน)

SE-ED บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)

SEAFCO บริษัท ซีฟโก้ จำกัด (มหาชน)

SECC บริษัท เอส.อี.ซี. ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

SENA บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

SF บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

SFP บริษัท อาหารสยาม จำกัด(มหาชน)

SGF บริษัท สยามเจเนอรัลแฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน)

SGP บริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน)

SHANG บริษัท แชงกรี-ลา โฮเต็ล จำกัด (มหาชน)

SHIN บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

SIAM บริษัท สยามสตีลอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)

SICCO บริษัทเงินทุน สินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)

SIM บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน)

SIMAT บริษัท ไซแมท เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)

SINGER บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)

SINGHA บริษัท สิงห์ พาราเทค จำกัด (มหาชน)

SIRI บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)

SIRIPF กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์บ้านแสนสิริ

SIS บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

SITHAI บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)

SKR บริษัท ศิครินทร์ จำกัด (มหาชน)

SLC บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน)

SMC บริษัท เอสเอ็มซี พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน)

SMIT บริษัท สหมิตรเครื่องกล จำกัด (มหาชน)

SMK บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

SMM บริษัท สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย จำกัด (มหาชน)

SMPC บริษัท สหมิตรถังแก๊ส จำกัด (มหาชน)

SMT บริษัท สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

SNC บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน)

SOLAR บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน)

SORKON บริษัท ส. ขอนแก่นฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน)

SPACK บริษัท เอส. แพ็ค แอนด์ พริ้นท์ จำกัด (มหาชน)

SPALI บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)

SPC บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)

SPF กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย

SPG บริษัท สยามภัณฑ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

SPI บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

SPORT บริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)

SPPT บริษัท ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

SPSU บริษัท เอส.พี.ซูซูกิ จำกัด (มหาชน)

SSC บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน)

SSE บริษัท ซันไชน์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

SSEC บริษัทหลักทรัพย์ ซิกโก้ จำกัด (มหาชน)

SSF บริษัท สุรพลฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน)

SSI บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน)

SSPF กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ศาลาแอทสาทร

SSSC บริษัท ศูนย์บริการเหล็กสยาม จำกัด (มหาชน)

SST บริษัท ทรัพย์ศรีไทย จำกัด (มหาชน)

STA บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)

STANLY บริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)

STAR บริษัท สตาร์ ซานิทารีแวร์ จำกัด (มหาชน)

STEC บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน)

STEEL บริษัท สตีล อินเตอร์เทค จำกัด (มหาชน)

STHAI บริษัท ซันไทยอุตสาหกรรมถุงมือยาง จำกัด (มหาชน)

STPI บริษัท เอสทีพี แอนด์ ไอ จำกัด (มหาชน)

STRD บริษัท ซิโน-ไทย รีซอร์เซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

SUC บริษัท สหยูเนี่ยน จำกัด (มหาชน)

SUN บริษัท ซันวู้ดอินดัสทรีส์ จำกัด (มหาชน)

SUPER บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด (มหาชน)

SUSCO บริษัท สยามสหบริการ จำกัด (มหาชน)

SVH บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน)

SVI บริษัท เอสวีไอ จำกัด (มหาชน)

SVOA บริษัท เอสวีโอเอ จำกัด (มหาชน)

SWC บริษัท เชอร์วู้ด เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

SYNEX บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

SYNTEC บริษัท ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

TAPAC บริษัท ทาพาโก้ จำกัด (มหาชน)

TASCO บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มหาชน)

TBSP บริษัท ไทยบริติช ซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง จำกัด (มหาชน)

TC บริษัท ทรอปิคอลแคนนิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

TCAP บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน)

TCB บริษัท ไทยคาร์บอนแบล็ค จำกัด (มหาชน)

TCC บริษัท ไทย แคปปิตอล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

TCCC บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน)

TCIF กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทยคอมเมอร์เชียลอินเวสเม้นต์

TCJ บริษัท ที.ซี.เจ.เอเซีย จำกัด (มหาชน)

TCMC บริษัท อุตสาหกรรมพรมไทย จำกัด (มหาชน)

TCOAT บริษัท อุตสาหกรรมผ้าเคลือบพลาสติกไทย จำกัด (มหาชน)

TCP บริษัท ไทยเคนเปเปอร์ จำกัด (มหาชน)

TEAM บริษัท ทีมพรีซิชั่น จำกัด (มหาชน)

TF บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน)

TFD บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)

TFI บริษัท ไทยฟิล์มอินดัสตรี่ จำกัด (มหาชน)

TFUND กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทคอน

TGCI บริษัท ไทย-เยอรมัน เซรามิค อินดัสทรี่ จำกัด (มหาชน)

TGPRO บริษัท ไทย-เยอรมัน โปรดักส์ จำกัด (มหาชน)

THAI บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

THANA บริษัท ธนาสิริ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

THANI บริษัท ราชธานีลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)

THCOM บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)

THIP บริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)

THL บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน)

THRE บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)

TIC บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

TICON บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน)

TIES บริษัท ไทยบริการอุตสาหกรรมและวิศวกรรม จำกัด (มหาชน)

TIF1 กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทยอินดัสเตรียล 1

TIP บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

TIPCO บริษัท ทิปโก้ฟูดส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

TISCO บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

TIW บริษัท ไทยแลนด์ไอออนเวิคส์ จำกัด (มหาชน)

TK บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน)

TKS บริษัท ที.เค.เอส. เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)

TKT บริษัท ที.กรุงไทยอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)

TLOGIS กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ทีพาร์คโลจิสติคส์

TLUXE บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)

TMB ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

TMD บริษัท อุตสาหกรรมถังโลหะไทย จำกัด (มหาชน)

TMI บริษัท ธีระมงคล อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)

TMT บริษัท ค้าเหล็กไทย จำกัด (มหาชน)

TMW บริษัท ไทยมิตซูวา จำกัด (มหาชน)

TNDT บริษัท ไทย เอ็น ดี ที จำกัด (มหาชน)

TNH บริษัท โรงพยาบาลไทยนครินทร์ จำกัด (มหาชน)

TNITY บริษัท ทรีนีตี้ วัฒนา จำกัด (มหาชน)

TNL บริษัท ธนูลักษณ์ จำกัด (มหาชน)

TNPC บริษัท ไทยนามพลาสติกส์ จำกัด (มหาชน)

TOG บริษัท ไทยออพติคอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

TONHUA บริษัท ตงฮั้ว คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน)

TOP บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

TOPP บริษัท ไทย โอ.พี.พี. จำกัด (มหาชน)

TPA บริษัท ไทยโพลีอะคริลิค จำกัด (มหาชน)

TPAC บริษัท พลาสติค และหีบห่อไทย จำกัด (มหาชน)

TPC บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)

TPCORP บริษัท เท็กซ์ไทล์เพรสทีจ จำกัด (มหาชน)

TPIPL บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)

TPOLY บริษัท ไทยโพลีคอนส์ จำกัด (มหาชน)

TPP บริษัท ไทยบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จำกัด (มหาชน)

TPROP บริษัท ไทย พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)

TR บริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน)

TRC บริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

TRS บริษัท ตรังผลิตภัณฑ์อาหารทะเล จำกัด (มหาชน)

TRT บริษัท ถิรไทย จำกัด (มหาชน)

TRU บริษัท ไทยรุ่งยูเนียนคาร์ จำกัด (มหาชน)

TRUBB บ.ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์คอร์ปอเรชั่น(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

TRUE บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

TSC บริษัท ไทยสตีลเคเบิล จำกัด (มหาชน)

TSF บริษัท ทรีซิกตี้ไฟว์ จำกัด (มหาชน)

TSI บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน)

TSTE บริษัท ไทยชูการ์ เทอร์มิเนิ้ล จำกัด (มหาชน)

TSTH บริษัท ทาทา สตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

TT&T บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)

TTA บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)

TTCL บริษัท โตโย-ไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

TTI บริษัท โรงงานผ้าไทย จำกัด (มหาชน)

TTL บริษัท ทีทีแอล อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)

TTTM บริษัท ไทยโทเรเท็กซ์ไทล์มิลลส์ จำกัด (มหาชน)

TTW บริษัท น้ำประปาไทย จำกัด (มหาชน)

TU-PF กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ที ยู โดม เรสซิเดนท์เชียลคอมเพล็กซ์

TUCC บริษัท ไทยยูนีคคอยล์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)

TUF บริษัท ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน)

TVI บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน)

TVO บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน)

TWFP บริษัท ไทยวาฟูดโปรดักส์ จำกัด (มหาชน)

TWP บริษัท ไทยไวร์โพรดัคท์ จำกัด (มหาชน)

TWZ บริษัท ทีดับบลิวแซด คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

TYCN บริษัทไทยคูน เวิลด์ไวด์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

TYM บริษัท ไทยง้วนเมทัล จำกัด (มหาชน)

UBIS บริษัท ยูบิส (เอเชีย) จำกัด (มหาชน)

UEC บริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)

UFM บริษัท ยูไนเต็ดฟลาวมิลล์ จำกัด (มหาชน)

UKEM บริษัท ยูเนี่ยน ปิโตรเคมีคอล จำกัด (มหาชน)

UMI บริษัท สหโมเสคอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)

UMS บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จำกัด (มหาชน)

UNIQ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

UOBAPF กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ยูโอบี อะพาร์ทเมนท์หนึ่ง

UOBKH บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

UP บริษัท ยูเนี่ยนพลาสติก จำกัด (มหาชน)

UPF บริษัท ยูเนี่ยนไพโอเนียร์ จำกัด (มหาชน)

UPOIC บริษัท สหอุตสาห

กลุ่ม 3 ถาม กลุ่ม 6

ถามว่า ปัจจัยทางเทคนิคต้องย้อนหลังเพื่ออิงกับการซื้อขายถ้าหากสถิติย้อยหลังมันไม่ดีเราจะเอามาทำการซื้อขายน้ำมันได้หรือไม่

กลุ่ม 6 ตอบ

เราต้องอาศัยในหลายๆปัจจัยและดูข้อมูลในหลายๆด้านว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด

คำถามกลุ่ม 6 ทำไมราคาน้ำมันของไทยต้องอิงราคาสิงคโปร์

กลุ่ม 3 ตอบ

การตั้งราคาซื้อขายสินค้าทั่วไปส่วนใหญ่มีวิธีการกำหนดราคา 2 ประเภท คือ การตั้งราคาสินค้า จากต้นทุนบวกกำไร (Cost Plus) และการตั้งราคาสินค้าโดยอ้างอิงตลาดใหญ่ ๆ (Reference Price) ที่มี ปริมาณการซื้อขายสูง ซึ่งวิธีการหลังนี้จะใช้กับสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) เช่น น้ำมัน ข้าว น้ำตาล ผัก ผลไม้ ฯลฯ ที่มีตลาดกลาง และมีการซื้อขายกันอย่างเสรี

สำหรับการกำหนดราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่นของไทยได้ใช้เกณฑ์อ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จ รูปที่ซื้อขายกันในตลาดโลกซึ่งตั้งอยู่ที่สิงคโปร์ ลักษณะเดียวกับการซื้อขายสินค้าอื่น ๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ ชัดในประเทศไทย เช่น การอ้างอิงราคาซื้อขายดอกไม้ ที่ปากคลองตลาด ราคาผลไม้ที่ตลาดไท หรือการ อ้างอิงราคาข้าวที่ท่าข้าวกำนันทรง เป็นต้น ทั้งนี้ ราคาน้ำมันอ้างอิงที่ตลาดสิงคโปร์ไม่ใช่ราคาที่โรงกลั่นใน สิงคโปร์ประกาศขึ้นมาเอง แต่เป็นตัวเลขราคาที่ผู้ค้าน้ำมันจากประเทศต่างๆ ในเอเชียเข้าไปตกลง ซื้อ-ขายผ่านตลาดกลางสิงคโปร์ ซึ่งเป็นูนย์กลางซื้อขายน้ำมันระหว่างประเทศที่สำคัญที่สุดใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกไกล นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานตัวแทนบริษัทน้ำมันราย ใหญ่ทั่วโลกประมาณ 325 บริษัท มีปริมาณการซื้อขายสูงเช่นเดียวกันกับตลาดในยุโรปและ สหรัฐอเมริกา ทำให้ยากต่อการปั่นราคาโดยผู้ซื้อหรือผู้ขาย และราคาที่ตกลงจะสะท้อน จากดีมานด์และ ซัพพลายของน้ำมันในภูมิภาคนี้ อีกทั้งเป็นตลาดการส่งออกน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย และอยู่ ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด ดังนั้น ต้นทุนในการนำเข้า จึงเป็นต้นทุนที่ถูกที่สุดที่โรงกลั่นไทยต้องแข่งขันด้วย นอกจากนั้น ราคายังเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับตลาดอื่นๆ ทั่วโลก

อย่างไรก็ดี หากราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นของไทยไม่ได้อ้างอิงตลาดสิงคโปร์ จะทำให้เกิดความไม่สมดุลในการผลิตและการจัดหาของประเทศ เพราะหากไทยกำหนดราคาน้ำมันเอง เมื่อใดที่ราคาในประเทศต่ำกว่าราคาที่ตลาดสิงคโปร์จะทำให้โรงกลั่นนำน้ำมันส่งออกไปขาย เพราะจะได้ ราคาสูงกว่า อาจทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำมันในประเทศได้ และเมื่อใดที่ราคาสิงคโปร์ลดลงจนต่ำกว่าราคา ที่โรงกลั่นกำหนด บริษัทน้ำมันก็ต้องอยากนำเข้าจากตลาดสิงคโปร์ เพราะราคาถูกกว่า ทั้งสองกรณีจะทำให้ เกิดการนำเข้า-ส่งออกโดยไม่จำเป็น และทำให้สูญเสียเงินตราต่างประเทศ อีกทั้งการกำหนดค่าใช้จ่าย และรายได้ของโรงกลั่นในระดับคงที่ จะทำให้โรงกลั่นของไทย ไม่มีการพัฒนาปรับปรุงระบบให้มี ประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง

การกำหนดราคาน้ำมันโดยอ้างอิงราคาตลาดโลกที่สิงคโปร์จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสม เป็นไปตามกลไกตลาด เป็นผลดีมากกว่าผลเสีย และเป็นวิธีการปฏิบัติสากลที่ใช้ในการกำหนด ราคาน้ำมันทั่วโลก

คำถามกลุ่ม5 ถามว่าบริษัทหลักทรัพย์มีทั้งหมดกี่บริษัท ไม่ได้ถามว่ามีกี่บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

กลุ่ม 5 ตอบคำถามกลุ่ม 6

คำถามกลุ่ม 6 ทำไมราคาน้ำมันของไทยต้องอิงราคาสิงคโปร์

ตอบ

การตั้งราคาซื้อขายสินค้าทั่วไปส่วนใหญ่มีวิธีการกำหนดราคา 2 ประเภท คือ การตั้งราคาสินค้าจากต้นทุนบวกกำไร (Cost Plus) และการตั้งราคาสินค้าโดยอ้างอิงตลาดใหญ่ ๆ (Reference Price) ที่มีปริมาณการซื้อขายสูง ซึ่งวิธีการหลังนี้จะใช้กับสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) เช่น น้ำมัน ข้าว น้ำตาล ผัก ผลไม้ ฯลฯ ที่มีตลาดกลาง และมีการซื้อขายกันอย่างเสรี

สำหรับการกำหนดราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่นของไทยได้ใช้เกณฑ์อ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จ รูปที่ซื้อขายกันในตลาดโลกซึ่งตั้งอยู่ที่สิงคโปร์ ลักษณะเดียวกับการซื้อขายสินค้าอื่น ๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในประเทศไทย เช่น การอ้างอิงราคาซื้อขายดอกไม้ ที่ปากคลองตลาด ราคาผลไม้ที่ตลาดไท หรือการอ้างอิงราคาข้าวที่ท่าข้าวกำนันทรง เป็นต้น ทั้งนี้ ราคาน้ำมันอ้างอิงที่ตลาดสิงคโปร์ไม่ใช่ราคาที่โรงกลั่นในสิงคโปร์ประกาศขึ้นมาเอง แต่เป็นตัวเลขราคาที่ผู้ค้าน้ำมันจากประเทศต่างๆ ในเอเชียเข้าไปตกลงซื้อ-ขายผ่านตลาดกลางสิงคโปร์ ซึ่งเป็น ูนย์กลางซื้อขายน้ำมันระหว่างประเทศที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกไกล นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานตัวแทนบริษัทน้ำมันรายใหญ่ทั่วโลกประมาณ 325 บริษัท มีปริมาณการซื้อขายสูงเช่นเดียวกันกับตลาดในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทำให้ยากต่อการปั่นราคาโดยผู้ซื้อหรือผู้ขาย และราคาที่ตกลงจะสะท้อน จากดีมานด์และ ซัพพลายของน้ำมันในภูมิภาคนี้ อีกทั้งเป็นตลาดการส่งออกน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย และอยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด ดังนั้น ต้นทุนในการนำเข้า จึงเป็นต้นทุนที่ถูกที่สุดที่โรงกลั่นไทยต้องแข่งขันด้วย นอกจากนั้น ราคายังเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับตลาดอื่นๆ ทั่วโลก

อย่างไรก็ดี หากราคาน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรงกลั่นของไทยไม่ได้อ้างอิงตลาดสิงคโปร์ จะทำให้เกิดความไม่สมดุลในการผลิตและการจัดหาของประเทศ เพราะหากไทยกำหนดราคาน้ำมันเอง เมื่อใดที่ราคาในประเทศต่ำกว่าราคาที่ตลาดสิงคโปร์จะทำให้โรงกลั่นนำน้ำมันส่งออกไปขาย เพราะจะได้ราคาสูงกว่า อาจทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำมันในประเทศได้ และเมื่อใดที่ราคาสิงคโปร์ลดลงจนต่ำกว่าราคาที่โรงกลั่นกำหนด บริษัทน้ำมันก็ต้องอยากนำเข้าจากตลาดสิงคโปร์ เพราะราคาถูกกว่า ทั้งสองกรณีจะทำให้เกิดการนำเข้า-ส่งออกโดยไม่จำเป็น และทำให้สูญเสียเงินตราต่างประเทศ อีกทั้งการกำหนดค่าใช้จ่าย และรายได้ของโรงกลั่นในระดับคงที่ จะทำให้โรงกลั่นของไทย ไม่มีการพัฒนาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง

การกำหนดราคาน้ำมันโดยอ้างอิงราคาตลาดโลกที่สิงคโปร์จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสม เป็นไปตามกลไกตลาด เป็นผลดีมากกว่าผลเสีย และเป็นวิธีการปฏิบัติสากลที่ใช้ในการกำหนดราคาน้ำมันทั่วโลก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท