หลังจากทีมงานได้ตั้งเป้าหมายของโครงการแล้ว ทางทีมงานได้ก้าวเข้าสู่แผนการดำเนินงาน
1. มีการวางแผนนำวิธีทดสอบใหม่ที่ 37 องศา 15 นาที มาทำการทดสอบ reticulocyte count เพื่อนำสเมียร์ reticulocyte มาดูและนับค่าร้อยละ reticulocyte ตอนพักเที่ยงและหลังเลิกงาน เนื่องจากคุณภาพของสเมียร์ดีกว่าวิธีมาตรฐาน(ติดสีดีคมชัดและ คงทน) และสิ่งที่ทีมงานทั้ง 3 คน ได้ผลเกินคาด คือ สเมียร์ reticulocyte บริเวณที่โดนปาด oil เซลล์ reticulocyte และ เม็ดเลือดแดงจะติดสีสดและคมชัดกว่าบริเวณที่ไม่โดน oil ทำให้เก็บสเมียร์ reticulocyte ไว้ได้นานเป็นสัปดาห์ สามารถนำสเมียร์มานับใหม่ (recheck) ได้
2. ทีมงานได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างตรวจจำนวน 50 ราย ซึ่งมีทั้งตัวอย่างตรวจที่มีค่าร้อยละreticulocyte 0-5, 5-10 และมากกว่า 10
3. การทดสอบได้นำตัวอย่างเลือดในแต่ละรายมาทำการทดสอบ reticulocyte count เปรียบเทียบ 4 ครั้ง คือ
- ทำการทดสอบภายใน 2 ชั่วโมง หลังเจาะเก็บตัวอย่างเลือด(ตั้งที่อุณหภูมิห้อง) เพื่อเป็นค่ามาตรฐาน
- ทำการทดสอบที่ 8 ชั่วโมง หลังเจาะเก็บตัวอย่างเลือด (ตั้งที่อุณหภูมิห้อง) เพื่อนำตัวอย่างเลือดมาทำการทดสอบในระหว่างวันหากแพทย์ขอเพิ่มทำการทดสอบ reticulocyte count หลังทราบผล CBC
- ทำการทดสอบที่ 24 และ 48 ชั่วโมง(โดยเก็บตัวอย่างเลือดไว้ในตู้เย็นที่ 4 องศาระหว่างรอทำการทดสอบ) เพื่อจัดเก็บตัวอย่างเลือดที่ ER lab ไว้ทำการทดสอบวันถัดไป
อ.เม่ยค่ะ...oil immersion ใช้เป็นตัวรักษาสภาพ(preservtive)การติดสีของ reticulocyteได้ค่ะ ...ทีมงานได้นำสเมียร์ reticulocyte ทั้ง 3 แบบ (แบบแห้ง, แบบปาด oil และ แบบ permount) ผลของการใช้ oil immersion เซลล์ reticulocyte และ RBC ยังคงติดสีสดและคมชัดกว่าค่ะ