ทรัพยากรมนุษย์


ทิศทางการจัดการและการพัฒนา

การสัมมนา เรื่อง ทิศทางการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต

บรรยายพิเศษโดย อาจารย์นิพนธ์  ทวีคูณ

จัดโดย สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์  คณะการบัญชีและการจัดการ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

ขอบเขตของเนื้อหาการสัมมนา

-          ทิศทางการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

-          บทบาทของ HR Manager

-          ความคาดหวังของ HR ในอนาคต

-          โอกาสในการจ้างงานในอนาคต

-          ความคาดหวังขององค์การกับ HR

ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าโลกของเราเปลี่ยนแปลงไปมาก  จากอดีตที่เคยมีแค่การติดต่อภายในประเทศของตนเองได้กลายมาเป็นโลกที่เปิดเสรีมากขึ้น มีการติดต่อสื่อสารกันระหว่างประเทศมากขึ้น หรือที่เรียกว่า “Globalization” ที่ทำให้คนทั่วโลกได้ทำงานด้วยกันมากขึ้น มีความสัมพันธ์กันในเชิงธุรกิจ จะเห็นได้จากบริษัทชั้นนำของสหรัฐอเมริกาที่ขยายสาขาไปยังทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก อาทิเช่น Ford Motor / General Motor / General Electric /P&G เป็นต้น ทำให้เกิดการถ่ายทอดทางเทคโนโลยีให้กับประเทศที่บริษัทเหล่านี้เข้าไปลงทุน และต่อมาก็ได้มีการลงทุนข้ามชาติมากขึ้นเป็นผลทำให้มีการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างประเทศขึ้นเพื่อที่จะทำให้ง่ายและสะดวกต่อการค้าและการลงทุนข้ามชาติ ดังนั้น บทบาทของ HR ในยุคโลกาภิวัตน์จะต้องสอดคล้องกับสภาวการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงในขณะนี้

 

ทิศทางของการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

                โดยทิศทางของ HRจะต้องมีความสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ ซึ่งในส่วนนี้วิทยากรได้บรรยายถึงทิศทางในอดีตมาจนถึงปัจจุบันและการก้าวเข้าสู่อนาคต  ซึ่งเริ่มจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม  มาถึงยุคของการจัดการงานบุคคลและแรงงานสัมพันธ์  จึงมาเป็นยุคของHRM/HRD ที่เป็นแนวทางการจัดการสมัยใหม่โดยมุ่งที่การสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน โดยเน้นที่ตัวของบุคคลหรือมนุษย์  มองว่ามนุษย์เป็นสินทรัพย์ขององค์การและถ้าจะให้มนุษย์สามารถสร้างมูลค่าให้กับองค์การก็จะต้องมีการจัดการทุนมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันได้ในโลกธุรกิจไร้พรมแดน (Globalization)

                ความหมายของการจัดการทรัพยากรมนุษย์    วิทยากรได้กล่าวว่าเป็นการจ้างงานที่เลือกเอาสิ่งที่เหมาะสมที่สุดเพื่อที่จะได้กำลังแรงงานที่มีความสามารถและทุ่มเทให้กับการทำงาน โดยฝ่าย HRจะต้องให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของพนักงานกับวัฒนธรรมการทำงานขององค์การให้มีความสอดคล้องกันมากที่สุด

                ความเชื่อและสมมติฐานทางด้าน HRM มีความเชื่อว่าทรัพยากรมนุษย์จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์การได้ โดยการวางระบบให้กับ Line Manager เพื่อนำไปใช้กับพนักงานในฝ่ายของตนเองไม่ว่าจะเป็นการประเมินผลงาน การฝึกอบรมและพัฒนา เป็นต้น ซึ่งจุดมุ่งหมายขององค์การจะสำเร็จไม่ได้ถ้าบุคลากรไม่ให้การยอมรับและให้ความสำคัญกับเป้าหมายนั้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องระมัดระวังในการคัดเลือกและพัฒนาพนักงานเพื่อให้ได้พนักงานที่มีความเหมาะสมกับงานมากที่สุด

                เนื่องจากทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยที่สำคัญขององค์การจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ด้าน HRM และที่สำคัญคือผู้บริหารระดับสูงจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมและให้ความสำคัญด้วย รวมทั้งนโยบายด้าน HR จะต้องมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ของธุรกิจเพื่อให้การพัฒนาคนเป็นไปตามทิศทางขององค์การ โดยHR จะต้องทำงานร่วมกับฝ่ายต่าง ๆ ในองค์การ เพราะว่า Line Manager จะเป็นผู้ที่นำเอานโยบายด้าน HR ไปสู่การปฏิบัติของพนักงานของแต่ละหน่วยงานหรือแต่ละฝ่าย

 

ความแตกต่างระหว่าง  PM& HRM

 

PM

HRM

เน้นที่การควบคุมกำลังแรงงาน

เน้นในเรื่องของตลาด  การสร้างการแข่งขัน

ให้ความสำคัญโดยรวม

ให้ความสำคัญกับตัวบุคคล

เป็นผู้บริหารและมีหน้าที่แนะนำ

เป็นผู้ที่ร่วมกำหนดกลยุทธ์ Strategic Partner”

เน้นที่แรงงานสัมพันธ์

เน้นความสัมพันธ์ที่ตัวบุคคล

เน้นที่กฎหมาย

เน้นด้านจิตวิทยา

เน้นการตรวจสอบเวลาการมาทำงาน

เน้นที่ความสมัครใจและคุณภาพงานของพนักงาน

มีการเปลี่ยนแปลงในระดับปานกลาง

มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

เน้นความมั่นคงของตลาด

เน้นที่การแข่งขัน

มองว่าพนักงานเป็นต้นทุน

มองว่าเป็นการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์

 

การกำหนดคุณค่าของงาน HR ให้กับองค์การเมื่อ HR ได้วางระบบให้กับ Line Manager ก็จะทำให้ Line Manager ได้นำเอาระบบไปปฏิบัติและช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ถือหุ้น พนักงาน ต่อ Line Manager เอง ลูกค้า ผู้ลงทุน ชุมชน และประเทศชาติโดยรวม

และคุณค่าไม่ได้อยู่ที่ความเชื่อของ HR เพียงฝ่ายเดียวแต่จะต้องขึ้นอยู่กับความเชื่อของส่วนอื่น ขององค์การ เพราะว่า HR ไม่ได้ทำงานเพื่อ HR แต่งานด้าน HR ทำเพื่อองค์กรโดยรวมและHR จะต้องรู้จักฟังความคิดเห็น เชื่อมั่นในตัวของพนักงาน และคอยให้คำอธิบายว่า อะไรเป็นสิ่งที่องค์การต้องการในขณะนี้ และถ้าองค์การประสบความสำเร็จพนักงานจะได้รับผลอย่างไร ซึ่งการที่จะทำให้ความต้องการบรรลุเป้าหมายนั้น HR จะต้องเข้ามาเป็น “Strategic Partner” อย่างเต็มตัวหรือก็คือเป็นคู่คิดทางธุรกิจที่ขาดไม่ได้  

HR จะต้องเข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้น ทั้งที่เป็นลูกค้าภายในและภายนอกองค์การ แทนที่จะให้เวลาไปกับระบบพื้นฐานต่าง ๆ ที่เป็นงานหลักของ HR อยู่แล้ว

และก็ได้มีแนวคิดด้านการจัดการทุนมนุษย์เกิดขึ้น  เพราะทุนมนุษย์เป็นตัวที่จะมาขับเคลื่อนทุนที่เป็นเครื่องจักรให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการที่จะให้ทุนมนุษย์ก่อประโยชน์ให้แก่องค์การก็จะต้องมีองค์ประกอบทั้งทุนมนุษย์ที่ยอดเยี่ยมและการจัดการทุนมนุษย์ที่ดีเยี่ยมด้วยเช่นกัน

 

Human Capital Management

            เป็นกลยุทธ์หรือแนวทางในการจัดการบุคคล ซึ่งเป็นประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากต่อการประสบความสำเร็จขององค์การ  โดยอุปสรรคของการจัดการทุนมนุษย์ก็คือการใช้กลยุทธ์และวิธีการระดับสูง ซึ่งจะต้องทำอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์  มีการประเมินว่าบุคคลจะสามารถสร้างมูลค่าให้กับองค์การได้อย่างไร

                แนวทางการจัดการทุนมนุษย์จะต้องแสดงให้เห็นเป็นข้อเท็จของธุรกิจว่าจะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับทุนมนุษย์ที่ประจักษ์ชัดเจน  และในทางกลับกันธุรกิจสามารถที่จะปฏิบัติตามแนวทางของการจัดการทุนมนุษย์ได้อย่างไรโดยที่ไม่ให้ความสำคัญกับส่วนอื่น ๆ ร่วมด้วย  ซึ่งมุ่งให้ความสำคัญกับศักยภาพของทุมนุษย์เพียงอย่างเดียว โดยในความเป็นจริงสามารถทำได้จริงหรือไม่

                HCM เน้นเกี่ยวกับการวัดแต่ให้ความสำคัญมากกว่าการวัดที่ระบบการจัดการทุนมนุษย์ ซึ่งการจัดการทุนมนุษย์ไม่จำเป็นที่จะต้องวัดในเรื่องที่เป็นพื้นฐานที่เคยวัดกันมา แต่จะเป็นการวัดที่เกี่ยวข้องกับการคิดสร้างสรรค์และการแสดงออกในการที่จะสร้างมูลค่าของบุคคลและการมีระบบการจัดการบุคคลที่ดีก็จะสามารถทำให้องค์การมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

                HC มีขอบเขตที่กว้างขวางซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เป็นมาตรฐาน โดยจะเป็นในลักษณะของศักยภาพภายใน พลวัต บริบทที่เป็นอิสระ และการแสดงออกทางสรีระร่างกาย ดังนั้นจึงต้องมีการประเมินทุนมนุษย์ที่แตกต่างกันออกไป และHC คือส่วนที่จะทำให้เกิดผลงานขององค์การที่มีความยืดหยุ่นและเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล ซึ่งองค์การจะต้องตระหนักว่าบุคคลมีแรงงานจูงใจที่แตกต่างกันจึงต้องมีการพัฒนาทักษะที่แตกต่างกันไปด้วย

                การจัดการทุนมนุษย์ที่ดีจะต้องสร้างให้เกิดการเรียนรู้ในทุก ๆ ด้าน รวมทั้งสร้างความเข้าใจ  ใช้การแทรกซึม และการแก้ไขปัญหาเข้ามาช่วย

                ทฤษฎีในด้านทุนมนุษย์เป็นแนวความคิดที่มุ่งไปที่ความสามารถทางด้านร่างกายของพนักงานและการสร้างทักษะที่ทำให้พนักงานสร้างคุณค่าให้กับองค์การจากภายนอก โดยความรู้และทักษะของพนักงานจะได้จากการศึกษาและการฝึกอบรมบวกกับประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมา โดยองค์การจะดึงเอาทุนมนุษย์ซึ่งเป็นสินทรัพย์ขององค์การมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด

                HC เป็นส่วนที่มีความสำคัญและเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนขององค์การ เป็นลิขสิทธิ์ขององค์การ เป็นตัวที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ขององค์การให้ลูกค้าได้รับรู้ แต่วิธีการเหล่านี้จะสร้างความเข้าใจและทำได้อย่างไรเกี่ยวกับเรื่องของจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน ซึ่งมันเป็นสินทรัพย์ที่มีความสำคัญและรองรับในส่วนต่าง ๆ ขององค์การและสร้างให้องค์การเกิดประสิทธิผลมากที่สุด ดังนั้น HR จะต้องมีทักษะในด้าน HCM เป็นอย่างมาก

บทบาทของ HR Manager

                HR จะต้องมีการบริหารจัดการคนเก่ง ซึ่งก็จะมีความเชื่อมโยงกับทุนมนุษย์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เพราะทุนมนุษย์อาจจะมีกลุ่ม Talent รวมอยู่ด้วย และจะต้องมีกลยุทธ์เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างอายุแรงงาน การโยกย้าย และการสับเปลี่ยนตำแหน่งงาน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมของกำลังแรงงาน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องวางแผนทดแทนตำแหน่งโดยดูจากความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานใหม่กับพนักงานเดิมว่าสามารถที่จะทดแทนตำแหน่งกันได้หรือไม่อย่างไร 

ซึ่ง HR จะต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดีเพราะว่าโลกธุรกิจในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและองค์การก็จะต้องปรับตัวตามให้ทัน 

                มีการจำกัดต้นทุนในการแข่งขันเพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดได้ ซึ่ง HR จะต้องร่วมมือกับทุกฝ่ายในองค์การ

เน้นหลักความโปร่งใสหรือหลักธรรมาภิบาล  เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การเกิดความยอมรับต่อองค์การสามารถตรวจสอบทุกกระบวนการขององค์การโดยรวมได้อย่างชัดเจนและสามารถเสนอความคิดเห็นได้อย่างมีเหตุผล

                เมื่อมีการรวมกิจการ HR จะต้องจัดการกับวัฒนธรรมองค์การที่มีความแตกต่างกันให้สามารถทำงานร่วมกันได้ภายใต้วัฒนธรรมที่เป็นหนึ่งเดียว และเมื่อมีกำลังแรงงานที่มีความหลากหลายมากขึ้น HR จะต้องสามารถที่จะพัฒนาพนักงานเหล่านั้นให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยคำนึงถึงสังคมรอบข้างให้มากที่สุด

                บทบาทที่หลากหลายของ HR ได้แก่

Coach ให้คำปรึกษาและสอนงานโดยจะต้องเข้าใจถึงบริบทของการแข่งขันทางธุรกิจเพื่อให้องค์การได้เปรียบเชิงการแข่งขันในโลกธุรกิจยุคปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต

Architect จะต้องเป็นผู้ออกแบบกระบวนการทำงานของพนักงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยเน้นที่คุณภาพโดยรวม “Total Quality”

Builder จะต้องสร้างให้เกิดการแข่งขันในระดับสูงสุดขององค์การ โดยเน้นที่ผลการปฏิบัติงานระดับสูงขององค์การ ซึ่งการปฏิบัติงานให้ได้ผลงานระดับ “High Performance” จะต้องมีที่ปรึกษาองค์การที่ดีและสามารถเข้าใจถึงวัฒนธรรมองค์การได้ดี

Facilitator จะต้องเป็นผู้ประสานงานระหว่างหน่วยงานภายในองค์การ เพื่อให้เกิดทีมปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

Leader จะต้องสามารถทำให้ผู้ตามเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถปฏิบัติงานได้ประสบความสำเร็จ รวมทั้งมีความเจริญก้าวหน้าในสายอาชีพของตนเอง

Conscience HR จะต้องมีดุลยพินิจในการพิจารณาว่าสิ่งใดคือสิ่งที่ควรจะทำในอนาคต รวมทั้งกฎเกณฑ์ที่จะทำให้การปฏิบัติงานประสบความสำเร็จ

Long Term

Short Term

People

Process

Management of Strategic HR

Management of Transformation & Change

Management of Firm Infrastructure

Management of Employee Contribution

 

 บทบาทสำคัญของHR 4ด้าน อันจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ตามขอบเขตทั้ง 4 ด้าน ซึ่ง HR จะต้องให้ความสำคัญกับทั้ง 4 ด้าน เท่า ๆ กันและHR ที่เป็นมืออาชีพจะต้องไม่ให้ความสำคัญกับด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะดังภาพที่นำเสนอด้านบน ซึ่งเป็นทฤษฏีของ Dave Ulrich 

                Competency ที่จะสร้างมูลค่าให้กับองค์การโดย HR จะต้องมีความเข้าใจว่า Competency มีความสอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจขององค์การหรือไม่อย่างไร  ต้องเข้าใจพื้นฐานของธุรกิจ ซึ่ง HR จะต้องมีเทคนิคและวิธีการที่จะนำ Competency มาใช้ และHR จะต้องเป็นผู้ฟังที่ดี มีการให้คำปรึกษากับพนักงาน มีทักษะการประสานงานที่ดี  มีความคิดเชิงกลยุทธ์  มีความคิดเชิงระบบเพื่อการวางแผนในอนาคต มีการสร้างเครือข่าย  สร้างให้เกิดความชัดเจนในสิ่งที่ไม่ชัดเจน  จะต้องทำความเข้าใจด้วยตนเองโดยเฉพาะในเรื่องมูลค่าขององค์การว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างไรและตกกับใครในองค์การ จัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการที่ถูกต้อง รวมทั้งจะต้องมีอิทธิพลและมีอำนาจในการสั่งการ

                HR กับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสังคม ซึ่งจะต้องมีการจัดการอย่างเด็ดขาดกับพนักงานที่พยายามแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเองมากกว่าองค์การและสังคม และสร้างให้เกิดความสมดุลระหว่างบุคคลกับชีวิตการทำงาน คือการให้ความสำคัญกับตัวบุคคลในเรื่องส่วนตัวและเรื่องงาน ซึ่ง HR จะต้องพูดคุยและให้คำปรึกษากับพนักงานในเรื่องต่าง ๆ

                พัฒนาสุขภาพของพนักงานในที่ทำงานและสามารถบริหารความขัดแย้ง เป็นผู้นำในด้านของนวัตกรรมและให้พนักงานเกิดการเปลี่ยนแปลงเ

เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน  เป็นการเปลี่ยนคุณค่าขององค์การให้เป็นคุณค่าของสังคมโดยรวมด้วย

 

มุมมอง HR ในอดีตสู่แนวโน้มในอนาคต

 

คำสำคัญ (Tags): #hr
หมายเลขบันทึก: 271718เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2009 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท