หางไหล


รากใช้ทำยาฆ่าแมลงได้

<!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"Cordia New"; panose-1:2 11 3 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"Cambria Math"; panose-1:2 4 5 3 5 4 6 3 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-1610611985 1107304683 0 0 159 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-unhide:no; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:14.0pt; font-family:"Cordia New","sans-serif"; mso-fareast-font-family:"Cordia New";} .MsoChpDefault {mso-style-type:export-only; mso-default-props:yes; font-size:10.0pt; mso-ansi-font-size:10.0pt; mso-bidi-font-size:10.0pt; mso-ascii-font-family:"Cordia New"; mso-fareast-font-family:"Cordia New"; mso-hansi-font-family:"Cordia New"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 72.0pt 72.0pt 72.0pt; mso-header-margin:72.0pt; mso-footer-margin:72.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} -->

หางไหล  (โล่ติ๊น)

 

ประวัติความเป็นมา

                หางไหลหรือโล่ติ๊นเป็นพืชที่ใช้ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช  ในสมัยโบราณ  และพบว่าสามารถนำมาใช้เบื่อปลาได้  แต่ไม่เป็นอันตรายต่อคน  ปัจจุบันใช้กำจัดแมลงศัตรูผักได้ผลดี  หางไหลมี  2  ชนิด  ได้แก่  หางไหลขาว  ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีสารโรตีโนนมากใช้ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ผลดี  โดยนำรากมาทุบแช่น้ำจะทำให้มีสีขาวขุ่นคล้ายสีนม  ยังไม่มีรายงานว่าพบตามธรรมชาติ  สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปางได้สายพันธุ์มาจากชลบุรี  และได้ขยายพันธุ์แจกจ่ายไปให้เกษตรกรที่ภาคเหนือเป็นเวลาไม่น้อยกว่า  5  ปีแล้ว  ส่วนหางไหลแดงพบเห็นทั่วไปตามธรรมชาติ  จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชต่ำเพราะมีสารโรทีโนนต่ำ  เมื่อนำรากมาทุบแช่น้ำจะทำให้มีสีแดงขุ่นทั้งสองชนิดมีลักษณะคล้ายกันมากดูที่ใบแยกชนิดได้ยาก  ควรส่งตัวอย่างให้ผู้เชี่ยวชาญจำแนกจะถูกต้องมากที่สุด

 

ลักษณะต้นหางไหล

                หางไหลเป็นไม้เลื้อยเจริญเติบโตเร็ว  ถ้ามีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอสามารถปลูกได้ทั้งกลางแจ้งและในร่มเงาแต่การปลูกกลางแจ้งจะเจริญเติบโตได้ดีกว่า  ในก้านใบหนึ่ง ๆ จะมีใบตั้งแต่  5  13  ใบ  ใบคู่แรกนับจากโคนก้านใบมีขนาดเล็กที่สุดและเริ่มใหญ่ขึ้นเป็นลำดับจนถึงใบสุดท้ายที่อยู่ตรงปลายเป็นใบเดี่ยว  ซึ่งมีขนาดของใบใหญ่ที่สุด  การออกดอกอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม  เมื่อดอกบานเต็มที่มีกลิ่นหอม  รากมีปมแบคทีเรียเหมือนกับปมของรากพืชตระกูลถั่ว

 

การขยายพันธุ์

                หางไหลสามารถขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ  โดยใช้กิ่งชำที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  1  เซนติเมตร  ยาวประมาณ  25  เซนติเมตร  ตัดใบออกให้หมด  ถ้าเหลือไว้จะทำให้มีจำนวนรากน้อยลง  การใช้ฮอร์โมนเร่งรากช่วยทำให้กิ่งชำมีจำนวนรากเพิ่มมากขึ้น  การปักชำควรมีความชื้นสม่ำเสมอโดยให้น้ำหล่อเลี้ยงด้านล่าง  วัตถุไว้เสมอ  ทำให้กิ่งชำมีโอกาสแห้งตายน้อยลง  ในช่วงฤดูแล้งควรปักชำในถุงพลาสติกเพื่อรักษาความชื้นและควรฉีดสารป้องกันเชื้อราในถุงชำ  ระหว่างการปักชำควรให้ปุ๋ยยูเรีย  (0.1%)  จำนวน  3  ครั้ง  ห่างกัน  10  วัน  ปักชำไว้นานประมาณ  45  วัน  จึงแยกกิ่งชำลงถุงดำพกไว้ที่ร่มรำไรควรให้ปุ๋ยยูเรียกับต้นกล้าสัปดาห์ละครั้งประมาณ  1  เดือนกิ่งชำจึงมีความพร้อมที่จะย้ายไปปลูกในแปลงควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนที่มีความชื้นในดินสูง  (อรุณ,  2544ข)

 

สรุปการปักชำหางไหล

1.       ใช้กิ่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  1  เซนติเมตร

2.       ความยาวของกิ่งปักชำประมาณ  25  เซนติเมตร

3.       ควรตัดใบออกให้หมด

4.       ใช้ฮอร์โมนเร่งรากในการออกรากที่มีขายตามท้องตลาด

5.       ให้ปุ๋ยยูเรีย  3  ครั้ง  ในระหว่างการปักชำ

 

การปลูก  การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว

                หางไหลเป็นพืชที่ปลูกง่ายแต่ควรมีการดูแลให้น้ำในช่วงที่ปลูกใหม่ไม่ควรปล่อยให้ดินแห้งจะทำให้ต้นหางไหลตายได้  แต่ถ้าต้นหางไหลตั้งตัวได้แล้วจะทนความแห้งแล้งได้พอสมควร  แต่จะเจริญเติบโตดีถ้ามีความชื้นสม่ำเสมอ  สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง  ได้ทดลองปลูกในถังซีเมนต์ให้ระบบน้ำหยดทำให้หางไหลเจริญเติบโตเร็ว  สามารถเก็บเกี่ยวรากได้ภายในระยะเวลา  12  เดือน  มีปริมาณสารโรทีโนนเพียงพอที่จะนำมาสกัดเป็นสารกำจัดแมลง  ผลผลิตน้ำหนักรากสดที่ได้โดยเฉลี่ยมากกว่า  367.00  522.90  กรัม/ต้น  ส่วนถ้าปลูกในแปลงจะได้ผลผลิต  

คำสำคัญ (Tags): #ทองล้วน
หมายเลขบันทึก: 271444เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2009 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท