ข้าวหอมกับยีนความหอม


ข้าวหอมในโลกนี้มีมากมายหลากหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะในเมืองไทยของเราก็มีก็เป็นร้อยๆ พันธุ์ แต่เชื่อหรือไม่พันธุกรรมที่กำหนดลักษณะความหอมนั้นกลับไม่แตกต่างกันมากนัก


ข้าวหอมในโลกนี้มีมากมายหลากหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะในเมืองไทยของเราก็มีก็เป็นร้อยๆ พันธุ์ แต่เชื่อหรือไม่พันธุกรรมที่กำหนดลักษณะความหอมนั้นกลับไม่แตกต่างกันมากนัก (หรือแทบจะไม่แตกต่างกันเลย)

อย่างที่ผมได้เกริ่นไปแล้วในครั้งก่อนว่าลักษณะความหอมของข้าวถูกกำหนดโดยยีน และยีนที่ควบคุมลักษณะนี้เราเรียกว่า "ยีนความหอม" และได้ตั้งชื่อว่ายีน "Os2AP"

ความพยายามในการวิจัยค้นหายีนที่กำหนดลักษณะความหอมในข้าวนี้ได้กระทำต่อเนื่องกันมานับเป็นสิบๆ ปี ไม่เฉพาะแต่ในเมืองไทยเท่านั้น แต่ในอีกหลายๆ ประเทศเช่น ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส จีน ก็ได้มีงานวิจัยลักษณะเดียวกัน แต่เนื่องจากข้อจำกัดในหลายๆ ด้านเช่น ยังไม่มีฐานข้อมูลดีเอ็นข้าวที่สมบูรณ์เหมือนในปัจจุบันนี้ หรือเพราะการประเมินลักษณะทำได้ไม่แม่นยำ การคัดเลือกลูกผสมทำได้ลำบาก จึงทำให้งานวิจัยช่วงนั้นก้าวหน้าไปได้ไม่มากนัก เพียงแต่ทราบตำแหน่งของยีนคร่าวๆ บนโครโมโซม

แต่หลังจากที่ประเทศไทยเราได้เข้าร่วมกับกลุ่มวิจัยนานาชาติในการค้นหาลำดับดีเอ็นเอของข้าวเมื่อเกือบสิบปีที่แล้วนั้น ทำให้เราได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลก่อนประเทศอื่นๆ และได้นำข้อมูลมาใช้ในการวิจัยข้าว ซึ่งรวมถึงการค้นหายีนความหอมนี้ด้วย เป็นผลให้งานวิจัยด้านยีนความหอมในข้าวนี้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว

และเป็นเรื่องที่น่ายินดีว่า นักวิจัยจากประเทศไทยเราได้ประสบความสำเร็จในการค้นพบยีนตัวนี้ เมื่อปี 2549 และสามารถจดสิทธิบัตรยีนได้เป็นผลสำเร็จ ในปี 2551 โดยสิทธิบัตรที่สำคัญก็คือที่ออกโดยประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งถ้าใครได้ติดตามข่าวก็คงจะทราบเรื่องนี้เป็นอย่างดี และเมื่อไม่กี่วันมานี้ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ก็ได้นำสิทธิบัตรยีนความความหอมนี้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว

การที่เราได้เป็นเจ้าของสิทธิบัตรยีนความหอมนี้ อย่างน้อยก็สามารถรับประกันได้ว่าไม่มีใครสามารถนำยีนตัวนี้ไปตัดต่อพันธุกรรมแล้วใช้ประโยชน์ในทางการค้าได้ ซึ่งในช่วงที่มีการคุ้มครองโดยสิทธิบัตร (ประมาณ 20 ปี) ก็เป็นหน้าที่ของนักวิจัยข้าวไทยที่จะเข้ามาใช้ประโยชน์ตรงนี้ในการเร่งปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอม ก่อนที่ระยะคุ้มครองสิทธิบัตรจะหมดลง และเมื่อนั้นถ้าหากมีการเปิดกว้างของข้าวดัดแปลงพันธุกรรม แล้วประเทศคู่แข่งของเราเอายีนความหอมไปตัดต่อใส่ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงๆ ของเขา (เช่นข้าวลูกผสม) แล้วส่งมาตีตลาดข้าวหอม แล้วอะไรจะเกิดขึ้น...

เรื่องยีนความหอมยังไม่จบนะครับ คราวหน้าผมจะมาเล่าให้ฟังต่อว่า เทคโนโลยีชีวภาพที่จะเสกข้าวไม่หอมให้กลายเป็นข้าวหอมนั้นทำได้อย่างง่ายดายมาก ได้อย่างไร อย่าลืมติดตามนะครับ

หมายเลขบันทึก: 271398เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2009 09:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

ตามมาอ่านจากบันทึกที่แล้วค่ะ

ขอบคุณข้อมูลนะคะ

(^___^)

#1 ขอบคุณที่ติดตามบล็อกนี้ครับ

พัชรพรรณ อินทร์ประสิทธิ์

หนูอยากทราบเรื่องทำข้าวไม่หอมให้กลายเป็นข้าวหอมมากค่ะ มีแต่เรื่องดีๆหนูสนใจมากๆค่ะ หนูอยากติดต่อกับ Dr.จังค่ะ  เพราะหนูต้องใช้ข้อมูลในการสอบสัมภาษณ์ วันที่ 26 ก.พ. นี้ค่ะ  ขอความกรุณาด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ  หนูสนใจเรื่องพวกนี้มากๆ

ตอบ #พัชรพรรณ อินทร์ประสิทธิ์

อีเมล์มาได้ที่ [email protected] ครับ

พบข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ ที่มีลักษณะดีที่มีความหอมมาก ขณะนี้อยู่ในช่วงการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์อยู่

ลักษณะเด่นคือเพราะปลูกได้ตลอดปี อายุการเก็บเกี่ยว105 วัน มีกลิ่นหอมที่เด่นชัดมาก ต้นสูงประมาณ90ซ.ม.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท