Speech Contest 2009 ตอนที่ 3 สำเนียงภาษา(accent) ขึ้นอยู่กับต้นแบบ


สำเนียงภาษา(accent)

เริ่มการแข่งขันทักษะการพูดฯ ของช่วงชั้นที่ 1 ของนักเรียนตัวน้อย วัย 8-9 ขวบ  น่ารักตามสไตล์เด็กๆ และพัฒนาไปตามระดับช่วงชั้นที่สูงขึ้น แต่สำเนียงภาษา(accent) ขึ้นอยู่กับต้นแบบ นักเรียนแต่ละคนจึงถอดแบบสำเนียงตามที่ได้ยิน-ได้ฟังจากครูผู้ฝึกสอนนั่นเอง ซึ่งแตกต่างไปตามเชื้อชาติ  ขอกล่าวถึงเสียงที่มีความต่างที่เด่นชัด เช่น

* ออสเตรเลียน   เสียง ei ของ British English จะแปร่งไปเป็นเสียง  ai

* อเมริกัน       เสียง a: ของ British English จะแปร่งไปเป็นเสียง  ae

* ฟิลิปปินส์     เสียงตัวt ของ British English จะแปร่งไปเป็นเสียง  Ter ,  เสียงตัว k จะออกเป็นเสียงตัว g 

* อาฟริกัน    เสียง i  ของ British English จะแปร่งไปเป็น ai  เป็นต้น(etc.)

              
   
     
ที่ชอบหยอกล้อกันบ่อยๆคงเป็นสำเนียงของผู้คนแถบโซนเอเชียของเรานั่นเอง เช่น

ชาว  Chinese  สำเนียงเป็นแบบ   Chinglish

ชาว  Japanese สำเนียงเป็นแบบ   Jinglish

ชาว  Thai        สำเนียงเป็นแบบ   Thinklish       

   จะสำเนียงไหนก็ช่างเถอะ  ขอให้สื่อสารได้แล้วกัน  ชาวไทยมีสิทธิ์เลือกได้ด้วยเหรอ

                 

 

คำสำคัญ (Tags): #สำเนียงภาษา(accent)
หมายเลขบันทึก: 271372เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2009 00:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เสียดายมาเจอเว็บของคุณครูช้าไป ผมมีความสงสัยมานานแล้วนะรับว่าการให้คะแนน speech มีมาตรฐานแค่ไหนหรือแล้วแต่ความชอบใจของแต่ละคน กรรมการชาวต่างชาติ กรรมการชาวไทย มองมุมเดียวกันไหม ระดับสพท ระดับเขต ระดับประเทศ มาตรฐานเดียวกันไหม ได้มีการอรบรมสำหรับคนที่จะมาเป็นกรรมการตัดสินหรือไม่ ผมว่าคนเตะฟุตบอลเป็นก็ใช่ว่าจะเป็นกรรมการตัดสินได้ทุกคนไป ต้องมีการอบรมกันก่อน สำหรับ speech บางที่ก็มีการให้คะแนน acting ค่อนข้างมาก บางทีก็มีร้องรำทำเพลงกันไป ในขณะที่บางท่านซึ่งเคยเป็นกรรมการก็บอกว่ามันไม่ใช่ลักษณะของ speech เท่าที่สังเกตุในระดับสพท. มักจะเน้นการแสดงออกค่อนข้างมาก แต่ถ้าเป็นชาวตะวันตกมักจะชอบแบบเล่าเรื่องโดยใช้ภาษาอังกฤษให้ได้ดีเหมือนฝรั่งเลย เป็นการพูดที่ informal ถ้าพูดในลักษณะเป็น formal ก็จะมีบางคนบอกว่าเป็นการพูดในลักษณะเตรียมมาหรือว่ามี script และ คล้ายกับว่าเน้นในเรื่อง pronanciation และ accent มากเป็นพิเศษซึ่งผมเข้าใจว่ามันคือส่วนของ fluency(ตอนแรกผมคิดว่าพูดได้คล่องแคล่วไม่ติดขัด) โดยเนื้อหาเป็นเรื่องรอง ทั้งที่ในการชี้แจง ส่วนของเนื้อหาคะแนนจะมากที่สุด ผมว่าการให้คะแนนเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะชักนำให้นักเรียนพัฒนาไปในแนวทางนั้นเพราะทุกคนจะทำเพื่อให้ได้คะแนนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นควรจะมีการฝึกอบรมกรรมการให้คะแนนด้วยครับ

ไม่ทราบว่าครูเคยเห็นการตัดสินที่ค้านสายตาไหม ถ้าเคยเห็น ผมว่าก็น่าจะพัฒนากรรมการตามที่ว่าไปแล้ว แต่ถ้าไม่เคยเห็นก็คงเป็นที่ผมตาไม่ถึงเอง(ส่วนหูไม่ถึงอยู่แล้ว)

อย่างปีนี้(ระดับประเทศ) ช่วงชั้นที่2 ep คนที่ได้ที่3 เขาลืมเวลาว่ายังเป็นตอนเช้าอยู่ ทั้งตอนขึ้นและตอนจบ แต่ pronanciation และ accent ดี เนื้อหาไม่เด่นมาก คือโดยรวมน่าจะมีคนที่ดีกว่า (ไม่รู้ครูได้ไปหรือเปล่า)นี่ก็ค้านสายตาผม อย่าเห็นว่าที่3ไม่มีความหมายนะครับได้ที่3นี่ก็ถือว่าไม่ธรรมดานะครับ

สวัสดีครับ

แวะมาเยี่ยมครับ

ได้ดูรายการทีวีเกาหลี พบรายการแข่งขันการพูดอังกฤษ บ่อยมาก ชอบฟัง เด็กเค้ามีการแข่งขันบ่อย สำเนียงดี ได้เพิ่มพูนทักษะ รายการแบบนี้ในไทย มีแข่งขันน้อยมาก ครับ

สวัสดีค่ะคุณ Thitiwat
   * ขอตอบแบบผู้มีประสบการณ์ในฐานะกรรมการนะคะ  ซึ่งแน่นอนว่าบางครั้งผลของการตัดสินอาจเป็นตัวกำหนดอนาคต การให้  โอกาส หรือตัดโอกาสของผู้เข้าร่วมการแข่งขันเลยทีเดียว
   * การให้คะแนนเพื่อตัดสินผลการแข่งขันต้องยึดเกณฑ์ที่เขากำหนดให้....หากผลของคะแนนจากคณะกรรมการออกมาเป็นเอกฉันท์ว่าใครควรได้ลำดับที่ 1-3 ก็ประกาศไปตามนั้นได้เลย   แต่หากเสียงไปคนละทางต้องมีการอภิปรายถึงข้อเด่น  ข้อบกพร่องของผู้เข้าร่วมแข่งขัน  และนำผลคะแนนมาประมวลเพื่อตัดสินผลทั้งนี้เพื่อให้ความเป็นธรรมต่อผู้เข้าร่วมแข่งขันทุกคนนั่นเองค่ะ
   * สำหรับเกณฑ์การให้คะแนน ต้องยึดหลักมาตรฐานของสากล  หากจะมีต่างไปบ้างก็ต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการในชุดนั้นๆ ที่เพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อง่ายต่อการคัดเลือก / การคัดสรรตัวแทนไปแข่งขันในระดับสูงขึ้น  จนถึงระดับประเทศ   อย่างเช่น.... 
สพท.กำแพงเพชร

  เกณฑ์การตัดสิน
  การให้คะแนนแบ่งเป็น 4 ด้าน
1. เนื้อหาสาระของการพูด                 40  คะแนน
2. รูปแบบและเทคนิคการพูด(เช่น การใช้ท่าทาง/การสบตา)40 คะแนน
3. ความสามารถในการถ่ายทอดความคิดและอารมณ์      20 คะแนน
4. การตอบคำถาม                                                 10 คะแนน
                                            รวมเป็น  100  คะแนน


ระดับตรวจราชการฯ ที่
 1. Content   20  ( organization/ ideas/interesting/ appeal)  
 2. Fluency  20 ( Flow of Language)
3. Grammar 20
4. Pronunciation  20
5. Presentation 20
* แตกต่างกันไปมากเหมือนกัน *   

 หัวข้อในการแข่งขันในระดับเขตพื้นที่และระดับเขตตรวจราชการที่ 3
ช่วงชั้นที่ 1) 1. Myself  2. My school 3.Mey pets 4. My friends / My family

ช่วงชั้นที่ 2) 1.My family  2. My Friends  3. My Pets  4. My daily life  5. My hobbies

ช่วงชั้นที่ 3) 1. My Hobbies  2. My Hometown  3. My Beloved King 4. Internet:Good or Bad  5. Why Ebglish is so important ?

ช่วงชั้นที่ 4) 1. My Future Career  2. Global Warming  3. Environment  4. Amazing Thailand  5. Proud to be Thai


มาลองดูของที่อื่นบ้าง  

  เกณฑ์การให้คะแนน 100  คะแนนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต  2 

 1  ด้านเนื้อหา  (Content)  30  คะแนน  ประกอบด้วย

-  เนื้อหามีความถูกต้องตามหัวเรื่องที่กำหนด(Consistency)                              10  คะแนน

-  ความถูกต้องของภาษาในรูปแบบการพูดสุนทรพจน์ (Form &Organizing)                               10  คะแนน

-  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์(Creative10  คะแนน

2  ด้านความคล่องแคล่วในทักษะภาษา(Language Competence)  40  คะแนน  ประกอบด้วย

-  การใช้ภาษาเหมาะสมกับระดับช่วงชั้น (Difficulty Level) ด้านศัพท์  (Vocabulary) โครงสร้างและคำสันธาน (Structure & Connectors)                                          10  คะแนน

-  ความสามารถด้านการออกเสียง                20  คะแนน

-  การใช้น้ำเสียงสอดคล้องกับเนื้อหาที่พูด (Tone)   10  คะแนน

3  ความสำเร็จในการถ่ายทอด (Presentation) 15 คะแนน ประกอบด้วย            
- ความสามารถในการสื่อถึงผู้ฟัง(
Communication) 10 คะแนน 
-  บุคลิกท่าทาง                            5  คะแนน

4  พูดในระยะเวลาที่กำหนด             5  คะแนน

 5  การตอบคำถาม                       10  คะแนน

หากมีการกำหนดรายละเอียด  ก็จะให้คะแนนได้ง่าย มองเห็นความแตกต่างแบบชัดเจน ..... เขาต้องมีการประชุมคณะกรรมการให้เข้าใจหลักการและหลักเกณฑ์ของการให้คะแนนก่อนปฏิบัติหน้าที่อยู่แล้ว  ยิ่งเป็นระดับประเทศ ฯ ก็ต้องรอบคอบและรักษาระดับมาตรฐานค่ะ และคณะกรรมการที่แต่งตั้งต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งด้านความรู้และประสบการณ์ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพิจารณาตัดสินผลค่ะ 

* ** ปกติเด็กไทยถูกสอนให้เรียบร้อย  ไม่ส่งเสียงดังหรือแสดงออกทางอารมณ์ได้มากนัก  จึงไม่ค่อยกล้าแสดงออกเท่าที่ควร   แต่ถ้าจะพูดภาษาต่างประเทศให้เป็นธรรมชาติก็ต้องปรับเสียงให้ออกมาคล้ายกับเจ้าของภาษาให้มากที่สุด  บางครั้งส่งผลให้กิริยา-ท่าทางการพูดออกมาขัดกับสายตาผู้ใหญ่ที่ยึดมั่นกับวัฒนธรรมไทยอย่างเคร่งครัด *** 
* สำหรับบางคนอาจปรับเสียงมากเกินและแต่งกิริยาจนเกินงาม   ฟังแล้วขัดหู-ดูแล้วขัดตา ชวนให้ขนลุก-ขนชัน ก็มีนะคะ  เคยรู้สึกไหมคะว่าบางครั้งฟังคนไทยพูดภาษาอังกฤษ  ฟังยากกว่าฟังเจ้าของภาษาพูดอีกแน่ะ
 
* ไม่ทราบว่าคำตอบจะให้ความกระจ่างได้มากพอหรือเปล่าคะ *
 * ขอบคุณที่เขียนมาแชร์ประสบการณ์ด้วยกันนะคะ *

                                                           ภาพเคลื่อนไหว

       

P สวัสดีค่ะ ผศ. เพชรากร
   * พยายามส่งเสริมให้มีการพัฒนามากยิ่งขึ้น.. โดยเริ่มจากเยาวชนใน Class ตนเองก่อน เรียกว่าโน้มน้าวกันน่าดู
   * ปีนี้รับ นร.ต่างชาติมาแลกเปลี่ยน-เรียนรู้วัฒนธรรมอยู่ 5 คนแน่ะค่ะ  เดินกันให้ขวักไขว่....สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ภาษากันอย่างครึกครื้น
   * จะไปเยี่ยมหลานสาวเมื่อไหร่คะ ที่ Spokane น่าเที่ยวนะคะ(จากภาพ)

 



ขอบคุณครับ สิ่งสำคัญที่สุดคือนักเรียนเราได้แสดงความสามารถที่มีอยู่ ได้พัฒนาตัวเอง ส่วนรางวัลเป็นเรื่องรอง

คุณครูขยันจังนะครับ ดีใจแทนพ่อแม่ที่มีครูที่เอาใจใส่เด็กดีๆแบบนี้ ขอให้ประสบผลสำเร็จตามสิ่งที่หวังครับ

คุณ Thitiwat,
*ขอบคุณนะคะ สำหรับมุมมองดีๆ ที่มีต่ออาชีพครู
*เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่สังคมไทยเรามีบุคคลที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลเช่น คุณ Thitiwat ค่ะ
* ขอให้ คุณ Thitiwat ประสบผลสำเร็จในชีวิตเช่นกันค่ะ
                                       ภาพเคลื่อนไหว

สวัสดีค่ะ

ดิฉันอยากทราบหัวข้อ Speech ช่วงชั้นที่ 4

ของ สมป. ค่ะ

เพราะอ่านแล้วไม่ get

ถามอีกนิดค่ะ ว่ามีการจับฉลากหัวข้อไหม

กติกาเป็นยังไง

คุณ Geeki 
   การจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษา (มัธยมศึกษา) ของ สปก.ยังพัฒนาไม่เต็มรูปแบบเลยค่ะ   ในปีนี้ ๒๕๕๒ จึงยังไม่มีบทบาทในการจัดประกวด Speech Contest  ยังต้องไปอิงกับ สพฐ/ สพท. ซึ่งแต่ละเขต  แต่ละระดับเขตตรวจราชการ   ได้กำหนดทั้งหัวข้อและเกณฑ์การประเมิน  แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับจุดเน้นและนโยบายของแต่ละเขต ฯ
อย่างเช่นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 3
 การแข่งขันแบ่งเป็น 2  รอบ  นักเรียนที่เข้าแข่งขันต้องพูดทั้ง 2 รอบ(ค่าคะแนนรอบที่ 1 : 2 = 30:70)  
-          รอบที่ 1 Prepared Speech  พูดตามหัวเรื่องที่กำหนดไว้ โดยมีการเตรียมการมาก่อน        แต่ต้องจับฉลากในการพูด
-          รอบที่  2  Impromptu  Speech  จัดสลากหัวเรื่อง  เตรียมตัวก่อนพูด 5 นาที แล้วพูด        โดยไม่มีครูผู้ฝึกสอนเข้าไปเกี่ยวข้อง    
   ***
เวลาที่ใช้ในการพูดแต่ละรอบ  2 – 3 นาที***
หัวข้อในการแข่งขันรอบ Prepared  Speech คือ
1. Global Warming
2. How to save myself    from drugs ?
3. The most impression...
4.  Advantage /  Disadvantage  of   Mobile Phone
5.  My future life
 บางเขตฯ ก็อาจจะจัดแข่งขันเพียงแค่ Prepared Speech คงต้องรอการร่างนโยบายของ สมป อีกครั้งหนึ่งค่ะ  ที่เห็นมีเว็ปไชต์ขึ้นมาให้อ่านก็ต้องนี่
http://210.246.188.60/obec_scd/  กทม. ค่ะ  ของภาคเหนือก็
 มีแค่ http://www.saat.or.th/index.php?mo=3&art=272184 
คุณ Geeki ต้องรอหน่อยค่ะ

คิดถึงลูกสาวจังเลย สบายดีนะครับ

P* คิดถึง DAD เช่นกัน   ตั้งใจจะโทรฯ หาตั้งหลายครั้งแต่เกรงใจ...เห็นว่ายุ่งๆ อยู่นี่นา  
      * มีข้อสงสัยหลายต่อหลายเรื่อง... แต่บางเรื่องก็ได้คำตอบจากบันทึกที่ DAD เขียน   แต่บางเรื่องยังคาใจอยู่..เผอิญว่ายังไม่เร่งรีบ  และบางเรื่องก็อยากรู้ไปตามประสา.... โดยเฉพาะเรื่องการเมืองค่ะ
      * สุขกาย-สุขใจกับการปฏิบัติตนแห่งเดือนรอมฎอน ค่ะ

                                  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท