CBNA ฉบับที่ 22 : “แถลงการณ์เพื่อเฉลิมฉลองการต่อสู้ของกรรมกรเนื่องในวันกรรมกรสากล”


4. วันนี้รัฐไม่มีข้ออ้างใดๆ ที่จะไม่คุ้มครองกรรมกรทุกคน ต่อภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน สิ่งเดียวที่รัฐต้องตระหนักคือ กรรมกรมิใช่เพียงเครื่องจักรในการผลิตที่เมื่อมีปัญหาก็ทอดทิ้ง กรรมกรเป็นผู้มีศักดิ์ศรีที่ได้มาด้วยการต่อสู้ นับแต่วันนี้ไปกรรมกรต้องมาก่อน

ฉบับที่ 22 (1 พฤษภาคม 2552)


แถลงการณ์เพื่อเฉลิมฉลองการต่อสู้ของกรรมกรเนื่องในวันกรรมกรสากล

1 พฤษภาคม 2552


โดยเครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ (Action Network for Migrants)

 

ตลอดช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ขบวนการกรรมกรทั่วโลกได้ต่อสู้เพื่อให้ได้รับสิทธิ ศักดิ์ศรี การคุ้มครอง และการยอมรับ เป็นช่วงศตวรรษที่เปิดให้เห็นถึงการกดขี่ขูดรีดจากทั้งอำนาจรัฐและทุนต่อกรรมกร ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นพลังการต่อสู้ของขบวนการกรรมกร เพื่อปลดแอกตัวเองออกจากอำนาจที่กดขี่ ออกจากความทุกข์ยากของกรรมกรทั่วโลก ที่พยายามต่อสู้กับการแบ่งแยกกรรมกรออกจากกัน โดยมียุทธศาสตร์หลักที่ชัดเจน คือ ลดพลังการต่อสู้ต่อรองของกรรมกร ตราบถึงวันนี้ การต่อสู้ของกรรมกรยังคงดำรงอยู่อย่างเข้มข้น ท่ามกลางสถานการณ์และรูปแบบการเอารัดเอาเปรียบที่ซับซ้อนมากขึ้น

 


ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจที่พวกเรากำลังเผชิญอยู่นี้ จะเห็นได้ว่ารัฐและทุนได้ปฏิบัติการอย่างแยบยลเพื่อสลายอำนาจการต่อรองของกรรมกรอย่างจริงจัง ซึ่งเห็นได้ชัดว่าพวกเขาได้แบ่งแยกกรรมกรออกเป็นภาคเอกชน ภาครัฐวิสาหกิจ แบ่งแยกเป็นแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ กีดกันแรงงานทำงานในบ้านมิให้ได้รับการคุ้มครองเยี่ยงแรงงานทั่วไป แบ่งแยกเป็นแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ ทั้ง ๆ ที่ตัวตนของพวกเราทั้งหลายนั้นคือกรรมกรเหมือนกัน เป็นการพยายามใช้กระแสชาตินิยมเข้ามาแบ่งแยกพวกเราออกจากกัน

 


เนื่องในวันกรรมกรสากลที่พวกเรามาร่วมกันเฉลิมฉลองการต่อสู้อันยิ่งใหญ่ของขบวนการกรรมกรทั่วโลก สิ่งที่เราจะต้องร่วมกันประกาศและผลักดันให้กลไกของรัฐมีมาตรการ คือ

 


1.   เราต้องยืนยันในหลักการที่ว่ากรรมกรทุกคนไม่ว่าจะทำงานอะไร เป็นใคร มีสถานะทางกฎหมาย หรือทางสังคมอย่างไร คือกรรมกรที่ต้องมีสิทธิและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน

 


2.   เราต้องร่วมกันลบพรมแดนของรัฐชาติในตัวเรา โดยไม่ยอมรับกระบวนการแบ่งแยกเพียงเพราะพวกเราไม่ใช่ชนชาติเดียวกัน เพราะแท้ที่จริงแล้วพรมแดนเหล่านั้น เป็นเพียงสิ่งที่รัฐสร้างขึ้นมาเพื่อแบ่งแยกและลดทอนอำนาจของกรรมกรเท่านั้น

 

 

 


3.   เราต้องผลักดันให้กรรมกรที่ถูกมองข้ามมาตลอดว่ามิได้เป็นกรรมกร ทั้งกลุ่มที่ถูกเรียกว่าแรงงานนอกระบบ แรงงานอาชีพแม่บ้าน แรงงานในภาคเกษตร ภาคบริการ ให้มีพื้นที่และได้รับการคุ้มครองดังกรรมกรทุกคน

 


4.   วันนี้รัฐไม่มีข้ออ้างใดๆ  ที่จะไม่คุ้มครองกรรมกรทุกคน ต่อภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน สิ่งเดียวที่รัฐต้องตระหนักคือ  กรรมกรมิใช่เพียงเครื่องจักรในการผลิตที่เมื่อมีปัญหาก็ทอดทิ้ง กรรมกรเป็นผู้มีศักดิ์ศรีที่ได้มาด้วยการต่อสู้ นับแต่วันนี้ไปกรรมกรต้องมาก่อน

 


 

สมานฉันท์แรงงานทั่วโลกต้านทุนนิยม และอำนาจนิยมของรัฐ กรรมกรต้องมาก่อน

 

1 พฤษภาคม 2552

เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ

 

 

หมายเลขบันทึก: 270910เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2009 13:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท