CBNA ฉบับที่ 13 : รัฐได้คะแนน แรงงานนอกระบบได้หลักประกัน


ข้อเสนอของดิฉัน คือ รัฐบาลต้องให้ความสำคัญในหลักประกันคุณภาพชีวิตเบื้องต้น คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย โดยรัฐบาลควรนำเงิน 2 พันบาท จ่ายเป็นเงินสมทบประกันสังคม ให้แรงงานนอกระบบได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันสังคม ตามมาตรา 40 เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ ซึ่งต้องจ่ายปีละ 3,360 บาทต่อคนต่อปี โดยรัฐสมทบในเบื้องต้น 2,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 1,360 บาท ให้แรงงานนอกระบบเป็นผู้จ่ายเอง ถ้ารัฐบาลทำเช่นนี้ได้ ถือเป็นประวัติศาสตร์ของรัฐบาลไทยที่ได้ดูแลแรงงานนอกระบบ ในฐานะที่พวกเขาคือฟันเฟืองที่สำคัญของการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไทย อาจมีคนพูดว่า การเสนอเช่นนี้เป็นหลักการประชานิยม แต่ดิฉันเห็นว่าถ้าหลักประชานิยมนี้สามารถตอบสนองคุณค่าของความเป็นคนได้ มีการดูแลสวัสดิการคนทำงาน ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีมิใช่หรือ ในเมื่อรัฐบาลได้คะแนนจากคนยากจน ฉะนั้นรัฐบาลก็ต้องดูแลคนยากจนเช่นเดียวกัน

ฉบับที่ 13 (24 มีนาคม 2552)

รัฐได้คะแนน แรงงานนอกระบบได้หลักประกัน

 

เมื่อวันอังคารที่ 24 มีนาคม 2552 เวลา 10.0012.00 น. โครงการสื่อสารสาธารณะเพื่อพัฒนาแรงงานนอกระบบ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกันจัดเสวนาเรื่อง รัฐได้คะแนน แรงงานนอกระบบได้หลักประกัน ณ ห้องรวยเพชร โรงแรมมารวยการ์เด้น กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายแรงงานนอกระบบจากกลุ่มอาชีพต่าง ๆ และภาคีเครือข่าย ประมาณ 50 คน

 

ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการสร้างสุขภาวะและลดปัจจัยเสี่ยงรอง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในฐานะตัวแทนองค์กรจัดงาน เป็นผู้กล่าวเปิดงานในครั้งนี้ว่า ในปัจจุบันประเทศไทยมีแรงงานนอกระบบมากถึง 60 % ของแรงงานทั้งประเทศ จากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้ระบุหลักการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่ม ทุกประเภท รวมทั้งแรงงานนอกระบบ ไว้ดังนี้

 

ในมาตรา 44 ระบุว่า บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทำงาน รวมทั้งหลักประกันในการดำรงชีพทั้งในระหว่างการทำงานและเมื่อพ้นภาวะในการทำงาน มาตรา 84(7) ระบุว่า ส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุ้มครองแรงงานเด็กและสตรี จัดระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคีที่ผู้ทำงานมีสิทธิเลือกผู้แทนของตน จัดระบบประกันสังคม รวมทั้งคุ้มครองให้ผู้ทำงานที่มีคุณค่าอย่างเดียวกัน ได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ

นอกจากนั้นเมื่อมองไปยังประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว ยิ่งพบว่าคนทำงานทุกคนจะมีหลักประกันคุ้มครองการทำงาน อย่างน้อย คือ หลักประกันสังคม วันนี้จึงเป็นนิมิตหมายดีที่จะต้องหารือร่วมกันในประเด็นนี้ ว่าทำอย่างไรที่พี่น้องแรงงานนอกระบบจะต้องได้รับความคุ้มครอง ไม่ว่าจะอยู่ในอาชีพใดๆ ก็ตาม ทั้งเกษตรกร หาบเร่ แท็กซี่ หรืออาชีพอื่นๆ แรงงานกว่า 24 ล้านคนกลุ่มนี้ เมื่อพวกเขาเป็นคนทำงาน ทุกคนต้องได้รับความคุ้มครอง อยู่ดีมีสุข มีสิทธิ มีหลักประกัน เพื่อความสุขที่ยั่งยืนในอนาคตต่อไป

 

ต่อมาเป็นการเสวนาเรื่อง รัฐได้คะแนน แรงงานนอกระบบได้หลักประกันโดยมีวิทยากรร่วมเสวนา 5 คน คือ

คุณวิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

 คุณสุจิน รุ่งสว่าง เครือข่ายแรงงานนอกระบบ

คุณรักษ์ศักดิ์ โชติชัยสถิต ผู้ตรวจการกรม สำนักงานประกันสังคม และผู้อำนวยการโครงการประกันสังคมตามมาตรา 40

ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

คุณก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย

ดำเนินรายการโดย คุณประพจน์ ภู่ทองคำ

 

อ่านทั้งหมด click : ดาวน์โหลด

 

หมายเลขบันทึก: 270888เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2009 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท