CBNA ฉบับที่ 12 : การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งทางการเมืองของผู้ใช้แรงงาน


แต่พอมามองถึงผู้ใช้แรงงานในภาคเอกชนจริง ๆ พบว่า ความเข้มแข้งในการรณรงค์ในเรื่องของผู้ใช้แรงงานเองโดยตรง หรือผลประโยชน์ของประชาชนโดยทั่วไปยังมีปัญหาอยู่ แต่ก็มีโอกาสในการเสริมสร้างความเข้มแข็งขึ้นมาได้ คือ การทำให้การเมืองภาคพลเมืองได้รับการยกระดับขึ้นมา พยายามสร้างการเมืองให้เข้มแข็ง ไม่ให้การเมืองภาคพลเมืองถูกครอบงำโดยคนของภาครัฐที่มักจะร่วมมือกับภาคธุรกิจ หรือเจ้าของกิจการทั้งหลาย ผู้ใช้แรงงานต้องรวมตัวกันให้แน่นแฟ้น เพื่อเข้าไปถ่วงดุลในภาคส่วนอื่น ๆ ตรงนี้ถือเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยทางบวกของภาคประชาชน

ฉบับที่ 12 (20 มีนาคม 2552)

การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งทางการเมืองของผู้ใช้แรงงาน

 

เมื่อวันอังคารที่ 17 มีนาคม 2552 เวลา 09.00–12.30 น. คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร่วมกับมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ภายใต้การสนับสนุนของสภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า ได้ร่วมกันจัดสัมมนาเรื่องการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งทางการเมืองของผู้ใช้แรงงาน ณ โรงแรมอิสติน แอนด์ สปา กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยประมาณ 100 คน

 

วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ในฐานะตัวแทนองค์กรจัดงาน เป็นผู้กล่าวต้อนรับและรายงานวัตถุประสงค์การจัดงานในครั้งนี้ว่า การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของผู้ใช้แรงงานถือเป็นประเด็นสำคัญในปัจจุบัน เพราะทุกวันนี้ผู้ใช้แรงงานทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม ทั้งที่อยู่ในระบบและนอกระบบรวมประมาณ 37 ล้านคน ล้วนเป็นฟันเฟืองที่สำคัญของประเทศไทย แต่กลับพบว่าพวกเขามีส่วนร่วมทางการเมืองน้อย เช่น กรณีการปฏิรูปทางการเมืองที่ผ่านมา พบว่า ผู้ใช้แรงงานหรือคนยากจนมีตัวแทนที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) หรือสมาชิกวุฒิสภา (สว.)ในสัดส่วนที่น้อยมาก จึงส่งผลต่อการกำหนดนโยบายในระดับต่าง ๆ ที่ไม่ตอบสนองต่อผู้ใช้แรงงานและคนจน

ฉะนั้นการปฏิรูปการเมืองใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ผู้ใช้แรงงานต้องเป็นฟันเฟืองที่สำคัญที่จะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในการนำเสนอนโยบาย นำเสนอปัญหาระดับต่าง ๆ เพราะพวกเราต่างเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่ควรมีโอกาสมีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่าที่เป็นอยู่ ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การหย่อนบัตรเลือกตั้ง ประชาธิปไตยหมายถึงการมีสิทธิมีเสียง มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในการกำหนดนโยบายระดับต่าง ๆ โดยเฉพาะในเรื่องการมีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ทำงานโดยตรง แต่โอกาสเหล่านั้นได้หายไป ไม่เคยเกิดขึ้น ฉะนั้นอุปสรรคเหล่านี้จำเป็นต้องฝ่าข้ามไปให้ได้

            การสัมมนาวันนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ

(1)     เพื่อระดมความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงาน เรื่องการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งทางการเมืองของผู้ใช้แรงงาน

(2)     เพื่อรณรงค์ให้ผู้ใช้แรงงานมีความสนใจติดตามข่าวสารทางการเมือง

(3)   เพื่อให้ความรู้ทางการเมืองต่อผู้ใช้แรงงาน ในด้านการเมืองภาคพลเมือง มีความรู้และทักษะทางการเมืองเพิ่มขึ้น

(4)     เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำให้มีความพร้อมที่จะไปรณรงค์ในสถานประกอบการต่อไป

 

การเสวนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สุจิต บุญบงการ ประธานสภาพัฒนาการเมือง กล่าวเปิดงานอย่างเป็นทางการ

 

อ่านทั้งหมด click : ดาวน์โหลด

 

หมายเลขบันทึก: 270886เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2009 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท