ทำ PBL จริงครั้งแรก ต่อ


PBL

กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้

1.      กลไกการเกิดแผล และกลไกการซ่อมแซมของเซล

-          รอยช้ำสีม่วง

-          แผลบวม

-          แผลตกสะเก็ด

-          แผลเป็น

-          แผลมีเลือดไหล

-          บวมกับรอยช้ำต่างกันอย่างไร

-          บวมที่หน้าผากจากแผลฉีกบาด เย็บ ต่างจากบวมจากแผลถูกชกที่แก้มอย่างไร

2.      การเย็บแผล และผลข้างเคียง

3.      ลักษณะแผลที่ต้องเย็บ

4.      การรักษาดูแลตนเองหลังการเย็บแผล

5.      การรักษาแผลเป็น

ปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มตอนตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้

1.      คำถามมีหลากหลาย รวมให้เป็นวัตถุประสงค์การเรียนรู้ยาก

2.      ถ้าไม่ตั้งวัตถุประสงค์ได้หรือไม่ นศ.ไปหาคำตอบเพื่ออธิบายปัญหาหรือตอบคำถาม รวมทั้งทดสอบสมมติฐานเลย

3.   เวลาตั้งวัตถุประสงค์ เพื่อให้ครอบคลุมปัญหาหรือคำถาม มักจะต้องตั้งเป็นแบบกว้างๆ ทำให้การไปหาความรู้เพื่อตอบคำถามหรืออธิบายปัญหา ถูกมองข้ามไป นศ.หลายคนจึงไปยึดประเด็นการหาความรู้ตามวัตถุประสงค์ โดยไม่ได้ตอบคำถาม หรือทดสอบสมมติฐาน

4.   ตอนแรกใช้คำว่าแผลเกิดขึ้นได้อย่างไร........เพื่อนๆหลายคนบอกเป็นคำกว้าง......แผลน้ำร้อนลวก แผลอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับ scenario ดังนั้นจึงควรกำหนดไปเลยว่าหมายถึงแผลอะไรบ้างที่ต้องการทราบ และให้สัมพันธ์กับ scenario เพื่อให้ชัดเจน หาได้ตรงประเด็น

5.   นศ. สับสนเกี่ยวกับการใช้คำ ตอนตั้งวัตถุประสงค์ เช่น สาเหตุการเกิดแผล กลไกการเกิดแผล การตอบสนองต่อการถูกต่อย หลายคนตีความหมายแตกต่างกัน เช่น สาเหตุบางคนก็บอกว่า หมายถึงการกระแทก การถูกต่อย บางคนก็บอกว่าเป็นความหมายเดียวกันกับกลไกการเกิดแผล ต่อมาเลยตั้งว่า อาการอย่างนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่สุดท้ายทั้งกลุ่มก็คุยกันเรื่องการให้ความหมาย และตั้งเป็นกลไกการเกิดแผลและกลไกการหายของแผล........หมายถึงระดับเซล physiology ของการเกิดแผล

Feedback ตัวเอง

1.      เจมส์ เป็นประธานแต่รู้สึกตัวเองทำหน้าที่ไม่ค่อยดี เพราะยังไม่รู้ว่าหน้าที่นี้จะทำอะไร

2.      ฟรี รู้สึกตัวเองพูดมากไป ชอบที่จะสรุป อาจทำให้เพื่อนโกรธ ขอโทษเพื่อนๆด้วย

3.      แป๋ม รู้สึกตัวเองเรียบเรียงคำพูดไม่ถูก ฟังเพื่อนไม่ค่อยเข้าใจ

4.      อุ๋ม รู้ตัวว่าพูดน้อยเกินไป มีความคิดเห็น แต่เพื่อนพูดไปแล้ว คิดได้แต่ไม่แน่ใจว่าจะพูดให้เพื่อนเข้าใจได้อย่างไร

5.   ปอนด์ รู้ว่าตัวเองอาจจะไร้สาระไปบ้าง เรื่องที่เพื่อนพูดกัน ฟังแล้วไม่เข้าใจ เพราะไปเรียนสาย และไม่เข้าเรียน เนื่องจากห้องเรียนร้อน เลยไม่มีความรู้ที่จะถกกับเพื่อน

6.   เพชร รู้สึกตัวเองพูดมากไป บอกเพื่อนว่าตัวเองมีนิสัยคิดอะไรออกแล้วอยากพูดเลยเพราะกลัวลืม แต่บางครั้งก็คิดเหตุผลมาประกอบสิ่งที่พูดไม่ทัน ไม่อยากให้เพื่อนคิดมากกับนิสัยตัวเอง

7.      ปั๊ม มีข้อสงสัยมาก เลยอยากรู้เยอะ กลัวเพื่อนโกรธ ขอโทษเพื่อน

8.      ส้มโอ คิดว่าตัวเองเรียบเรียงคำพูดไม่ค่อยดี พูดเบา บางครั้งไปพูดค้านกับความเห็นเพื่อน ก็ขอโทษเพื่อนๆ

9.   จ๋า รู้สึกว่าตัวเองพูดหลายเรื่อง เพื่อนงง เรียบเรียงคำพูดได้ไม่ค่อยดี พูดบางครั้งอาจไปขัดความเห็นเพื่อน ใครไม่ชอบก็ขอให้บอก

10. ขิม รู้สึกว่าตัวเองคิดแบบจำกัดกรอบมากไป ถ้าเพื่อนพูดเยอะ จะไม่ชอบและจะบอกเพื่อนให้เข้าเรื่องซะที รู้สึกว่าตัวเองพูดเสียงดัง ออกแนวขู่

นศ. Feedback ต่อกลุ่มตัวเอง

1.      สนุก ทำได้ค่อนข้างดี แม้ความรู้น้อย

2.      อยากให้เพื่อนที่พูดน้อย ครั้งหน้าพูดมากขึ้น

3.      ใครที่พูดไร้สาระครั้งหน้าพูดให้น้อยลง

ให้ นศ.ในกลุ่มร่วมกันคิดว่าการทำ act แรกครั้งหน้าเรื่องถัดไป จะพัฒนากลุ่มอย่างไรให้ดีขึ้น

1.      ควรตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้ชัดเจน

2.      กลับไปตั้งใจเรียน อ่าน sheet ก่อนทำ เพื่อที่จะได้มีความรู้มาคุย อภิปรายมากขึ้น

3.      ให้เพื่อนๆทุกคนแสดงความคิดเห็นออกมา

4.      อภิปรายโดยยึด scenario เป็นหลัก

5.      บูรณาการความรู้ให้เข้ากับ scenario ให้ได้

 ความเห็นของอาจารย์ผู้คุมกลุ่ม

1.      บรรยากาศสนุก ทุกคนพยายามช่วยกัน

2.   ทุกคนพยายามตั้งคำถาม แต่ส่วนใหญ่จะเป็นประโยคบอกเล่าขึ้นมาลอยๆ เลยทำให้เพื่อนๆไม่เข้าใจว่าจะถามอะไร.....ควรตั้งเป็นประโยคคำถาม อะไร ทำไม อย่างไร

3.      มีบางคนไม่ค่อยพูดในช่วงแรก ป๋อมแป๋ม เจมส์ ปอนด์ นั่งฟังเป็นส่วนใหญ่ แต่ตอนหลังก็พูดแสดงความคิดเห็นมากขึ้น

4.   ปอนด์ช่วงแรกคุมตัวเองไม่ค่อยได้ นั่งหมุน จับ ยางลบ ไม่สบตา ไม่ค่อยพูด เข้ากลุ่มกับเพื่อนคนอื่นเพื่ออภิปรายไม่ได้ มีช่วงหนึ่งเพื่อนๆกำลังถกประเด็นเกี่ยวกับสมมติฐาน ปอนด์ก็จะตัดบทว่าให้ไปตั้งเป็นวัตถุประสงค์การเรียนรู้ แล้วหาคำตอบมาคุยกันครั้งหน้า ฟรีเลยชี้แจงว่าน่าจะช่วยกันคิดตั้งสมมติฐานก่อนจากความรู้ที่เรียนมา

5.      เจมส์แม้เป็นประธานก็นำกลุ่มได้ไม่ค่อยดี เพราะส่วนใหญ่จะนั่งเงียบ

6.      30 นาที หลังจากเริ่ม PBL เจมส์ ปอนด์ ป๋อมแป๋ม ก็พูดมากขึ้น

7.      ส่วนใหญ่ควบคุมอารมณ์ได้ดี ไม่มีการแย่งกันพูด

8.   มีการตั้งสมมติฐานได้หลากหลาย แต่ก็ไม่มีใครแน่ใจว่าข้อมูลที่พูดออกไปถูกต้องหรือไม่ จึงพยายามจะเอาไปทำเป็นวัตถุประสงค์การเรียนรู้ มากกว่าจะอภิปรายกัน

9.   ขั้นตอนการตั้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เป็นช่วงที่ยากที่สุดของกลุ่ม เพราะปัญหา หรือคำถามที่ตั้ง ไม่สามารถนำมากำหนดให้เป็นวัตถุประสงค์ที่ตรงกับสิ่งที่ต้องการทราบได้ หรือหลายข้อที่นำมารวมกันได้ พอไปตั้งเป็นวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ก็มีความหมายเปลี่ยนไป ทำให้ติดอยู่ช่วงนี้นานมาก

ข้อสังเกตจากการตั้งคำถาม สมมติฐาน และกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของกลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบกับที่เป็นข้อมูลในคู่มือของอาจารย์

1.      ข้อเท็จจริงจาก scenario ที่ นศ.นำมาเป็นข้อมูลสำคัญ นำไปสู่การตั้งคำถามหรือปัญหา ทำได้ครอบคลุม เหมือนในคู่มือ

2.   คำถามหรือปัญหาที่ นศ.พยายามช่วยกันตั้งจะน้อยกว่าที่มีในคู่มือ แต่ถ้าฟังและคิดตามกับนศ.ตอนทำขบวนการกลุ่มจะเข้าใจ และเห็นด้วยกับที่ นศ.คิด  และมีความรู้สึกว่า บางคำถามที่มีในคู่มือ เช่น ข้อเท็จจริง.....หน้าผากกระแทกขอบโต๊ะแตกเป็นแผลยาว ในคู่มือ ตั้งปัญหาว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดแผลบริเวณผิวหนัง ซึ่งประเด็นนี้ในกลุ่มไม่ได้คิด คำถามที่เกิดขึ้นในใจผู้คุมคือจากข้อเท็จจริงข้อเดียวกัน จะตั้งเป็นประเด็นคำถามหรือปัญหา ได้กว้างมากน้อยแตกต่างกันเพียงใด และมีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงเป็นเหตุและผลกันหรือไม่ระหว่างข้อเท็จจริงกับคำถามหรือปัญหาที่ตั้งขึ้น ในมุมมองของผู้คุมคิดว่า คู่มือตั้งวัตถุประสงค์ก่อนในแต่ละ PBL ว่านศ.ควรได้เรียนรู้อะไร แล้วมากำหนดกรอบของ scenario รวมทั้งประเด็นคำถามและปัญหา แต่เวลา นศ. คิดจะคิดจากข้อเท็จจริงที่ได้ แล้วนำไปสู่การตั้งคำถาม ซึ่งจะตรงไปตรงมา และเชื่อมโยงเป็นเหตุและผลกันมากกว่า

3.   สำหรับการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สิ่งที่เป็นปัญหาของ นศ.คือไม่สามารถรวมหลายปัญหา แล้วตั้งเป็นวัตถุประสงค์การเรียนรู้ได้ ซึ่งพอย้อนมาดูในคู่มืออาจารย์ก็พบว่า เป็นปัญหาจริงๆ เพราะในคู่มือของอาจารย์เอง ก็แยกวัตถุประสงค์การเรียนรู้ออกไปตามข้อเท็จจริงแต่ละข้อ ไม่สามารถนำข้อมูลทั้งหมดมารวมกัน แล้วตั้งเป็นวัตถุประสงค์รวมได้ ซึ่งคำถามที่เกิดขึ้นในใจผู้คุม คือ ทำไมทำไม่ได้........คิดว่าเกิดจาก scenario ที่ให้มีประเด็นที่ต้องเรียนรู้ค่อนข้างมาก และหลากหลาย ดังนั้นทางแก้ให้นศ. น่าจะต้องปรับ scenario ให้มีปัญหาและวัตถุประสงค์ที่ไม่หลากหลาย และมากจนเกินไป รวมทั้งชัดเจน ตรงประเด็นว่าจะให้ นศ.ได้เรียนรู้อะไรใน PBL นี้ เพื่อให้ขบวนการ PBL ไม่เสียเวลากับบางอย่างจนมากเกินไป จะได้เน้นเรื่องการตั้งคำถาม วิเคราะห์ปัญหา ตั้งสมมติฐาน และบูรณาการความรู้

4.      วัตถุประสงค์การเรียนรู้ของคู่มือจะกว้างมาก ส่วนของนศ.จะแคบกว่า

ความลับของ PBL ที่นศ. ได้เรียนจาก PBL ครั้งนี้คือ

- กระบวนการกลุ่มที่ดีจะสามารถทำให้เกิดประเด็นปัญหา ความคิดหลากหลาย และกว้างกว่าการคิดเรื่องเดียวกันเพียงคนเดียว ซึ่ง นศ.ก็ได้เรียนรู้จริง จากการทำ PBL ครั้งนี้

คำสำคัญ (Tags): #problem based learning
หมายเลขบันทึก: 270670เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2009 18:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สุดยอดครับ

พี่ก็สรุปประเด็นได้ไม่เลวเลย

มามะ เรามารวมกลุ่มกัน เลี้ยงใหญ่สักครั้ง ฮา (เรื่องนี้ อ.แป๊ะถนัด)

ขอบคุณมากที่เข้ามาอ่าน ก่อนทำPBL 2 มานัดเลี้ยงพร้อมกันก็ได้ค่ะ ยินดีมากเลย

ใช่แล้วค่ะ >>กระบวนการกลุ่มที่ดีจะสามารถทำให้เกิดประเด็นปัญหา ความคิดหลากหลาย และกว้างกว่าการคิดเรื่องเดียวกันเพียงคนเดียว

นี่คือเหตุผลที่เราต้องเรียน PBL ด้วยกันไงคะ ทั้งลูกศิษย์และอาจารย์ จะได้หลายมุมมองที่แตกต่างในเรื่องเดียวกัน

เห็นด้วยกับอาจารย์...เรื่องscenarioที่มีปัญหากว้างมากค่ะ

แต่ก้อขอบคุณเพื่อนๆทุกคนที่ทำให้มันผ่านมาได้ด้วยดี

และสุดท้าย......

เห็นด้วยกับอ.ธนพันธ์>>>เราไปเลี้ยงpblกันดีกว่านะคะ

ศุกร์นี้อย่าลืมล้างท้องมานะ จะเอา Pizza หรือก๋วยเตี๋ยวดีคะ

สู้ๆ นะ เพื่อนๆ แล้วก็ขอบคุณสำหรับคำ comment ของอาจารย์นะครับ แล้วพวกเราจานำไปปรับปรุง - -

อาจารย์ก็จะไปปรับปรุง พัฒนาตัวเองเพื่อกลุ่มเราด้วยค่ะ

ครั้งหน้าผมจะพยายามพูดให้มากขึ้นนะคับ

จะตั้งใจเรียนด้วยครับ

และก็ขอชมอาจารย์ด้วยครับ สรุปมาให้ผมเห็นภาพชัดเจนเลยค้าบ

(ขอคะแนนเยอะๆนะค้าบ ^^)

ขอบคุณทุกคนในกลุ่มด้วยเหมือนกันที่ตั้งใจ พยายามให้กลุ่มเกิดการเรียนรู้ อาจารย์ก็ได้เรียนอะไรมากมายจากนศ. ไม่น่าเชื่อเลยนะคะ ความรู้หลากหลายเกิดขึ้นจากโต๊ะกลมกลุ่ม 7 เราต่างคนก็ต้องพยายามเรียนรู้ซึ่งกันและกันค่ะ สู้ สู้ นะคะ

ขอบคุณสำหรับ คำcomment ทั้งหมดเลยนะครับ ^-^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท