พรบ.สุขภาพแห่งชาติกับการพัฒนาสุขภาพของชุมชน


5 สิ่งใหม่เมื่อมีพรบ.สุขภาพแห่งชาติ

สรุปผลการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 National Health Act (พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550)
     4 ม.ค.50 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผ่านความเห็นชอบ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ฉบับแรกของคนไทย
     5 สิ่งใหม่เมื่อมีพรบ.สุขภาพแห่งชาติ (1)ให้ความหมาย“สุขภาพ” 4 มิติ คือ ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญาและทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล และกำหนดสิทธิหน้าที่ด้านสุขภาพเพิ่มเติม ได้แก่ สิทธิในการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ สุขภาพของหญิง เด็ก คนพิการ คนสูงอายุ คนด้อยโอกาสฯที่มีความจำเพาะต้องได้รับการสร้างเสริมและคุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสม สิทธิในการร้องขอและเข้าร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ และสิทธิในการแสดงความจำนงล่วงหน้าที่จะปฏิเสธการรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต (2)มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.)เป็นเครื่องมือให้ทุกฝ่ายในสังคมเข้ามาร่วมกันดูแลระบบสุขภาพ ไม่มีอำนาจสั่งการบังคับบัญชา มีหน้าที่ทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ เสนอแนะ/ให้คำปรึกษาต่อ ครม.เกี่ยวกับนโยบายสุขภาพ สนับสนุนการจัดสมัชชาสุขภาพ ส่งเสริม/สนับสนุนกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม กำหนดเกณฑ์/วิธีการติดตามประเมินผลระบบสุขภาพและผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ (3)มีสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ทำหน้าที่องค์กรเลขานุการของ คสช. เป็นกลไกทำงานที่เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการทำหน้าที่เชื่อมประสานทุกฝ่ายในสังคมเข้าทำงานร่วมกัน (4)มีสมัชชาสุขภาพเป็นกระบวนการที่ให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเรียนรู้อย่างสมานฉันท์เพื่อนำไปสู่การเสนอแนะนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพหรือความมีสุขภาพของประชาชน (5)กำหนดให้ คสช. จัดทำ “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” เพื่อกำหนดทิศทางนโยบายยุทธศาสตร์และการดำเนินงานต่างๆในระบบสุขภาพแห่งชาติ
     กลไกที่จะขับเคลื่อนสังคมไปสู่สุขภาวะที่สมบูรณ์ คือการเชื่อมโยง 3 ภาคเข้าทำงานร่วมกัน ได้แก่ การสร้างความรู้หรือการทำงานทางวิชาการ(วิจัย) การเคลื่อนไหวของสังคม และ การเชื่อมโยงกับการเมือง ที่เรียกว่า “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา”

สรุปเรื่องราวครั้งนี้ผ่านการถ่ายทอดจากท่านอาจารย์ ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์

หมายเลขบันทึก: 270241เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2009 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แวะเข้ามาทักทาย เพื่อให้สุขภาพกายและจิตที่สดใส

ขอบคุณครับที่เข้ามาทักทาย ให้สุขกาย สบายใจ อยู่ในสังคมได้ด้วยดี มีปัญญาเฉียบแหลมดูแลสุขภาวะตนเองจะคนข้างเคียง

แวะเข้ามาให้กำลังใจ อ่านเข้าใจและได้ความรู้เพิ่มมากๆๆๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท