ประชุมผู้สานงานวัณโรคที่ ศูนย์วัณโรคเขต11จังหวัดนครศรีธรรมราช


DOTS คือการดูแลผู้ป่วยวัณโรคแบบมีพี่เลี้ยง

          วันนี้ผมได้เข้าประชุมเชิงปฏิบัติการในโครงการการดูแลผู้ปป่วยวัณโรคแบบมีพี่เลี้ยง(หลักสูตรสำหรับผู้ประสานงานระดับอำเภอ) โดยมี นพ.พันธ์ชัย รัตนสุบรรณ ผอ.ศูนย์วัณโรคเขต11จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นประธานและวิทยากรเองด้วย โดยหลักสูตรผู้ประสานงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้ในการประสานงานเครื่อยข่ายทั้งโรงพยาบาลและสถานีอนามัยโดยที่สสอ.มีหน้าที่รับยาจากคลินิกวัณโรคแล้วส่งต่อให้กับสถานีอนามัย (เพราะDOTS จะไม่ให้ยาไปกับผู้ป่วย) และยังมีหน้าที่นิเทศติดตามสถานีอนามัยให้ทำDOTSกับผู้ป่วยวัณโรคทุกราย

          วัณโรคสูตรยามาตรฐานในผู้ป่วย

              -  เสมหะบวกคือ 2HRZE/4HR โดยผู้ป่วยกินยาประมาณ 6 เดือนจึงจะหายขาด

              -  ในผู้ป่วยกลับเป็นซ้ำเสมหะบวก 2HRZES/1HRZE/5HRE รักษาประมาณ8เดือน

              -  ในผู้ป่วยเสมหะลบแต่มีภาพถ่ายเอกเรย์เข้าได้(อาการไม่รุนแรง) 2HRZ/4HR

          และสิ่งที่น่ากลัวคือในกลุ่มวัณโรคดื้อยา คือดื้อ ต่อ INH และRifampicil ดังนั้นเพื่อป้องกันในผู้ป่วยไม่ให้เชื้อดื้อยาองค์การอนามัยโลก จึงได้นำการรักษาวัณโรคแบบมีพี่เลี้ยงมาใช้ในการรักษาโดยเน้นให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม.หรือผู้นำท้องถิ่นเป็นพี่เลี้ยงโดยคอยดูแลการกลืนยาของผู้ป่วยวัณโรคเพื่อให้แน่ในว่าผู้ป่วยกินยาจริงๆ ไม่ได้นำยาไปทิ้งและจะเกิดปัญหาดื้อยาดังกล่าว

          สำหรับในส่วนของสสอ.ควรมีมุมDOT Conner ด้วย เพื่อจะได้รับผู้ป่วยที่อยู่ใกล้ๆสสอ.มารักษาด้วย ติดตามต่อตอนต่อไปครับ

คำสำคัญ (Tags): #dots#วัณโรค
หมายเลขบันทึก: 270040เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2009 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เย้... พี่เรย์กลับมาแล้ว หายไปประชุมหนึ่งสัปดาห์เต็มๆ อิอิ...
  • แวะมาตามข่าวสารครับ
  • ขอบคุณครับ

เห็นด้วยค่ะน้องเรย์

เพราะน้องเรย์มีประสบการณ์ติดตามผู้ป่วยวัณโรคมากโขอยู่

สนับสนุนอย่างยิ่งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท