่พ่อเกียรทอง สวนแก้ว เล่าให้ฟัง ตอน ๑


"...เป็นรายได้เสริมจากการค้าขายของแม่ เสริมเงินเดือนครูของพ่อ ให้สมาชิกครอบครัว มีอาหาร มีเงิน เพียงพอต่อการดำรงชีพ เป็นทุนทางการศึกษา เป็นทุนชีิวิตจนถึงทุกวันนี้... "

                   บันทึกเมื่อ วันที่ ๒๕ กรกฏาคม ๒๕๔๒ 

                   ที่สวนห้วยสมป่อย พ่อฯ เล่าให้ฟังวา " ...ซื้อสวนนี้มาตั้งแต่คุณแม่ของพลอยฯ - เพชร ยังอยู่ในท้องแม่คำดี สวนแก้ว  แรก ๆ ปลูกส้มหารายได้เลี้ยงลูก ๕ คน  ลูก ๆ โตจึงปล่อยสวนไว้ระยะหนึ่ง เพราะลูก ๆ มีงานทำกันหมด  เคยมีปัญหาที่ดินข้างเคียงบุกรุก สามารถแก้ปัญหาตกลงกันได้ พ่อรักและขอให้ลูก หลาน ให้พวกเรารักสวนนี้ เพราะใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจใ้ช้ในครัวเรือน และส่วนส้ม สามารถทำเงิน เพื่อเป็นรายได้เสริมจากการค้าขายของแม่  เสริมเงินเดือนครูของพ่อ ให้สมาชิกครอบครัว มีอาหาร มีเงิน เพียงพอต่อการดำรงชีพ เป็นทุนทางการศึกษา เป็นทุนชีิวิตจนถึงทุกวันนี้...  "

                    ที่บ้านพ่อ ( วันเดียวกันกลับจากสวนฯ ) พ่อเล่าให้ัฟังว่า "... หม่องอู เป็นพ่อของคุณแม่ของพ่อ ( แม่อวน )  มีภรรยาื นางคำเป็ง   หม่องอูเป็นช่างฝีมือดี  สมัยก่อนมีหม่องอยู่ อ.เวียงสา ว่าจ้างให้ไปควบคุมดูแลงานก่อสร้างพระธาตุบ้านวังม่วง  หรือวัดวังคีรีในปัจจุบัน  หม่องอูพาครอบครัวขนข้าวของไปอยู่หน้างานร่วม ๑ ปี เพื่อก่อสร้างพระธาตุ... "

                     พ่อเล่าว่า "..พ่อสาร สวนแก้ว  พ่อของพ่อ เงินสด ๒๐ บาท ได้จากการขายควายเผือกอีก ๑๙ บาท รวมเป็นเงิน ๓๙ บาท จากนั้น มาขอแม่อวนจากหม่องอู - แม่คำเป็ง  พ่อสารเป็นลูกชาวน่าน อยู่บ้านสวนหอม  มีฐานะไม่มั่นคง ขณะที่แม่คำเป็งเป็นคนกว้างขวางรู้จักเจ้านาย พ่อค้า คหบดี ได้ฝากให้พ่อสารทำงานไปรษณีย์น่าน  ได้รับเงินเดือน ๒๔ บาท ทำงานอยู่ระยะหนึ่งลาออกมาค้าขาย......"

                     พ่อสาร และแม่อวน มีบุตรรวมกัน ๕ คน คนแรก คือ พ่อ  คนที่ ๒ นายบุญช่วย สวนแก้ว คนที่ ๓ เป็นชายเสียชีวิตอายุ ๔ ปี คนที่ ๔ นางบัวเงา สวนแก้ว คนที่ ๕ นายสุวิทย์ สวนแก้ว

                     ในส่วนประสบการณ์ชีวิต และการศึกษา   พ่อเล่าว่า " ... สมัยพ่อเด็ก ไม่มีโรงพยาบาลน่าน แต่จะโรงพยาบาลฝรั่ง ชื่อ โรงพยาบาลมิชั่น เป็นพวกฝรั่งมาสอนศาสนา - สอนหนังสือจะมีีโรงเรียนลินกัน ( รับนักเรียนชาย ) โรงเรียนรังษีเกษม  (รับนักเรียนหญิง ) และโรงเรียนราษฏร์อีก ชื่อโรงเรียนราษฏร์ประสิทธิ์วิทยา     พ่อมีโอกาสเรียน อนุบาลอายุ ๖-๗ ขวบที่ โรงเรียนรังษีเกษมตอนนั้นเรียกอีกชื่อว่า  โรงเรียนเตรียมประถม ... "  ( โปรดติดตาม ตอน ๒ )

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26984เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2006 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท