การบริหารงานบุคคล


เขียนโดย ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์

[email protected]

มูลเหตุจูงใจ ตอนไปบรรยายเรื่องคุณภาพระดับ  6 Sigma
สถานที่ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์


                เหตุการณ์ นี้ เป็นการสนทนาทางโทรศัพท์ เมื่อเวลาประมาณ ตีสาม ของวันจันทร์ที่ผ่านมา  ระหว่างผู้จัดการ (Manager) กับหัวหน้างาน (Supervisor)

ผู้จัดการถามหัวหน้างานด้วยอาการหัวเสีย เมื่อลูกน้องโทรมาปลุกกลางดึก
พร้อมกับรายงานว่า ขณะนี้  ในไลน์การผลิตมีของเสียเกิดขึ้น (อีกแล้ว)

เป็นไงบ้างฮ่ะ! มีงานเสียมากไหม......?”

หัวหน้างานตอบด้วยความกลัวออกไปว่า

โอ้โหพี่เยอะกว่าคราวที่แล้วอีก เดี๋ยวตอนเช้าพี่มาดูเอาแล้วกัน

ผู้จัดการรีบถามต่อ ด้วยความโมโหสุดขีด

แล้วรู้หรือยังละว่าปัญหา มันเกิดจากอะไร?”

หัวหน้ารีบตอบทันทีด้วยความตกใจ

อ๋อ ก็เด็กใหม่นะครับพี่ เขายังไม่ค่อยเข้าใจ ก็เลยปรับเครื่องผิด งานก็เลยเสียน่ะครับ
หลายครั้งที่เมื่อเกิดปัญหา แล้วพนักงานใหม่มักจะเป็นผู้รับกรรม(แพะ)จริงหรือไม่?

               หลายครั้งที่พนักงานใหม่มักตกเป็นผู้กระทำผิด โดยไม่รู้ตัว (เป็นแพะ) เพราะง่ายต่อการตอบ CAR’s หรือ Corrective Action Report  จากที่เคยได้ประสบกับตนเอง และพูดคุยกับหลายท่าน มักจะมีปัญหาประเภทเดียวกัน คือ พนักงานใหม่ ขาดความรู้ความเข้าใจ จึงทำให้เกิดปัญหาเกิดขึ้น ดังแผนภูมิก้างปลา และวิธีการป้องกัน คือ อบรม เพิ่มเติม แล้วเขียนใบบันทึกการฝึกอบรม (Training Record)
แค่นี้ก็เสร็จ  

               แล้วท่านเคยสงสัยบ้างหรือไม่ว่าทำไม เมื่อความผิดพลาดมักเกิดจากพนักงานใหม่ ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก? เหมือนเป็นประเพณีนิยมที่ว่า เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นทีไร พนักงานใหม่ (เด็กใหม่) ต้องเป็นคนทำทุกที

               จากปัญหา การขาดความรู้ของพนักงาน นำมาวิเคราะห์ด้วย 5 Why Analysis  
Why 1 ทำไมพนักงานจึงปฏิบัติงานผิดพลาด?         เพราะ พนักงาน (ใหม่) ขาดความรู้  ที่เพียงพอ
Why 2 ทำไม พนักงาน (ใหม่) ขาดความรู้?              เพราะ ไม่ได้รับการฝึกอบรมที่เหมาะสมต่อการทำงาน
Why 3 ทำไม ไม่ได้รับการฝึกอบรมที่เหมาะสม  เพราะ ต้องการให้พนักงานเริ่มงานเร็วที่สุด
Why 4 ทำไม ต้องการให้พนักงานเริ่มงานเร็วที่สุด?     เพราะ จำนวนพนักงานไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
Why 5 ทำไม จำนวนพนักงานไม่เพียงพอ  เพราะ ขยายการผลิต และขาดการเตรียมงานที่ดี

               เพื่อแก้ไขปัญหา ความผิดพลาดอันเกิดจากพนักงานใหม่ ขาดความรู้ ความเข้าใจในการทำงาน ผมเสนอแนวทางการปฏิบัติ  5 ข้อ ดังนี้ครับ

1.               เตรียมความพร้อม ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานจริง ทั้ง 4 M&1E ประกอบด้วย คน(Men) เครื่องจักร(Mechine) วัสดุอุปกรณ์(Material) วิธีการทำงาน(Method) สิ่งแวดล้อม(Environment)

2.               ควรให้ความสำคัญกับการฝึกอบรม และการให้ความรู้กับพนักงาน เพื่อป้องกันปัญหาความผิดพลาด จากพนักงานใหม่ที่ขาดค (จะได้ไม่เป็นแพะ โดยไม่ได้ตั้งใจ)

3.               ควรมีระบบการสอนงานที่เป็นมาตรฐาน เช่น ระบบ OJT (On the Job Training) เพื่อทำให้มั่นใจว่าพนักงานมีความรู้ ความเข้าใจก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงาน

4.               ควรติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงาน ของพนักงานใหม่อย่างใกล้ชิด เพื่อทำให้รู้ว่า เขามีความเข้าใจในงานมากน้อยเพียงใด  

5.               ควรมีพี่เลี้ยงคอยประกบ เพื่อให้คำแนะนำ และช่วยเหลือ อย่าให้ทำงานตามลำพัง มิเช่นนั้นงานอาจจะพังได้

               สรุปได้ว่า การที่จะมองว่าพนักงานใหม่มักจะปฏิบัติงานผิดพลาด เพราะขาดความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน คือ สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา คงไม่ใช้เรื่องที่ถูกเสียทีเดียวนะครับ เพราะถ้าวิเคราะห์ให้ลึกลงไปอีก จะพบว่าอาจเกิดจากปัญหาการเตรียมความพร้อมของหัวหน้างานเองก็ได้นะครับ ................
               สุดท้าย ก่อนจาก ขอฝากว่า  ปัญหา เปรียบเหมือนกับกระจก ที่สะท้อนผลงานของเราออกมา ดังนั้นจึงควรไตร่ตรอง ให้ดีก่อนที่จะทำอะไรลงไปนะครับ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมาตอบ CAR’s กันอีก และอย่าลืมนะครับว่า

 “ปัญหาจะเป็นประโยชน์ กับผู้ที่นำมันไปเรียนรู้ และปรับปรุงให้ดีขึ้น
  แต่จะเป็นโทษอย่างมหันต์  กับผู้ที่ไม่คิดจะเรียนรู้กับมันเลย...........

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 269804เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2009 17:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีนะจะได้มีความระม้ดระวัง

อ่านบทความนี้แล้วต้องบอกว่าปลอดภัยไว้ก่อน

ขอบคุณพี่แอ๋วและน้องหน่อยที่แวะมาอ่านบทความครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท