การศึกษาบทเรียน (Lesson Study) : แนวคิดใหม่ในการปรับปรุงการเรียนการสอน


การศึกษาบทเรียน (Lesson Study) : แนวคิดใหม่ในการปรับปรุงการเรียนการสอน

การศึกษาบทเรียน  (Lesson Study)  :  แนวคิดใหม่ในการปรับปรุงการเรียนการสอน

เกษร  ทองแสน  ศึกษานิเทศก์  เชี่ยวชาญ  (ระดับ 9)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์  เขต 2

วารสารหลักสูตรและการเรียนการสอน  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; ปีที่  2  ฉบับที่  1  มกราคม มิถุนายน  2551

นางกัญญา  แสงเจริญโรจน์  นักศึกษาปริญญาโทบริหารการศึกษา  กลุ่มจันทบุรี  กลุ่ม  2(ระยอง)

สรุปสาระสำคัญ

                Lesson Study  มีนักวิชาการใช้คำที่แตกต่างกัน  เช่น  ไมตรี  อินทร์ประสิทธิ์  ผู้ริเริ่มนำเอา  Lesson Study  มาใช้ในประเทศไทยใช้คำว่า  การศึกษาชั้นเรียน  (ไมตรี  อินทร์ประสิทธิ์,  2548)  ส่วนชานนท์  จันทรา (2550)  ได้กล่าวถึงความหมายไว้ว่า  Lesson Study  บางคนอาจเรียกว่า  Research Study  หรือ  กระบวนการเรียนรู้วิชาชีพ  (professional learning)  หรือ  การเรียนรู้บทเรียน  หรือ  การศึกษาบทเรียน  หรือ  การศึกษาและพัฒนาบทเรียน  ส่วนผู้เขียนใช้คำว่า  การศึกษาบทเรียน

                Lesson Study  เป็นนวัตกรรมที่เป็นรูปแบบหลักในการพัฒนาวิชาชีพครูที่ได้รับการพัฒนาและใช้ในประเทศญี่ปุ่นมาประมาณ  130  ปีมาแล้ว  (Shimizu,  2006)  และได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการปรับปรุงและการพัฒนาการสอนคณิตศาสตร์  เป็นวิธีการที่ทำให้การสอนดีขึ้นอย่างยั่งยืนมั่นคง (Lewis & Berry,  2006)  สำหรับประเทศไทยนำมาใช้ครั้งแรกในปีการศึกษา  2545  (Inprasitha, 2007)  โดยไมตรี  อินทร์ประสิทธิ์  และคณาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์โดยนำมาใช้เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของนักศึกษาฝึกสอนวิชาคณิตศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  เป็นวิธีการที่ครูเป็นผู้ผลักดันให้เกิดการปรับปรุงการสอนโดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่นักเรียน  ทำให้ครูค้นพบว่า  การร่วมมือกันอย่างดีระหว่างครูทำให้ครูได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการสอน

Takahashi (2008)  ได้กล่าวถึงรูปแบบการศึกษาบทเรียนโดยแบ่งเป็น  3  รูปแบบคือ  ระบบการพัฒนาวิชาชีพครูที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Lesson Study)  ใช้อำเภอเป็นฐาน  (District-Wide Lesson Study)  ใช้ระหว่างอำเภอเป็นฐาน  (Cross-District Lesson Study)    และเกษร ทองแสนได้สรุปว่า การศึกษาบทเรียนเป็นขบวนการที่ไม่ซับซ้อน  มี  4  ขั้นตอน  คือ  กำหนดเป้าหมาย/วางแผนการสอนร่วมกัน  นำแผนไปใช้/สังเกตการณ์สอน  อภิปรายผลถกประเด็นเกี่ยวกับบทเรียน  สรุปผล/ทำบทเรียนให้มีคุณภาพ  ประเทศที่นำไปใช้ได้แก่  สหรัฐอเมริกา  เยอรมนี  สิงคโปร์  ออสเตรเลีย  ชิลี  เวียดนาม  รวมทั้งประเทศไทย

 

เหตุผลที่เลือกบทความนี้

1.       ชื่อบทความวิชาการสะดุดใจตั้งแต่แรกที่อ่านชื่อ

2.       เป็นบทความวิชาการที่เขียนเรื่องที่แปลกใหม่และยังไม่เคยอ่านหรือศึกษามาก่อน

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.       สามารถนำไปเป็นนวัตกรรมที่เป็นรูปแบบหลักในการพัฒนาปรับปรุงการสอนของตนเองได้

2.       สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการร่วมมือทำงานระหว่างครูในโรงเรียน

หมายเลขบันทึก: 269481เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2009 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 13:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อยากถามว่าคุณคิดว่าปัญหาของชั้นเรียนมีอะไรบ้าง?ขอบคุณที่ตอบ

ไม่ทราบว่าคุณต้องการในมุมมองของใครคะในด้านของผู้บริหาร ครู หรือ นักเรียน

แต่ขอตอบในฐานะการบริหารก่อนนะคะ ปัญหาของชั้นเรียนในด้านการบริหารที่พบในสถานศึกษาคือ การจัดบุคลากรประจำชั้นเรียน ต้องให้มีความเหมาะสม ซึ่งปัจจุบันนี้ครูที่จัดสอนมักจะมีความรู้ไม่ตรงกับสิ่งที่ตนต้องจัดการเรียนการสอน ทำให้การเรียนการสอนในปัจจุบันเกิดปัญหา ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนตกต่ำในบางรายวิชา ดังนั้นการศึกษาบทเรียนซึ่งมีวิธีการที่เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ถ้าต้องการคำตอบอื่น ก็ลองเข้ามาใหม่นะคะ ขอบคุณคะที่มาเยี่ยม

หวัดดีค่ะพี่กุ้ง แวะเข้ามาทักทาย

แวะเข้ามาทักทายกันคะ พี่กุ้งเก่งจังเลยนะคะ คนน่ารักประจำห้องเจ้าเดิมเองคะ!!

หวัดดีจ๊ะนู๋ปุ้มและน้องนู๋โมเมย์ดีใจนะจ๊ะที่น้องเข้ามาทักทาย มีอะไรให้ช่วยก็เข้ามาได้ตลอดนะจ๊ะ

12 ปีแล้ว วันนี้เพิ่งมาพูดถึง 5555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท