K II
มังกรนิทรา- คนเก่งฟ้าประทาน

ระบาดวิทยาเบื้องต้น


introduction to epidemiology

ระบาดวิทยาเบื้องต้น

Introduction to Epidemiology

  • Epi = On ,Upon
  • Demos = People
  • Zoo = Animals

Epidemic หมายถึง " โรคระบาด "

  • Logy = Logos

                   หมายถึง   Study = Knowledge

 Epidemiolgy จึงหมายถึง

                       "การศึกษาการเกิดโรคระบาด"

ระบาดวิทยา หมายถึง การศึกษาการกระจาย การเกิดขึ้น และสิ้นสุด และการเคลื่อนที่ของโรคในกลุ่มประชากรสัตว์  เป็นการศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคในกลุ่มประชากรสัตว์  

------------------------------------------------------------------------------

Epizootiology

Epidemiology ใช้เมื่อประชากรที่ทำการศึกษาเป็นมนุษย์

Epizootiology  ใช้เมื่อประชากรที่ทำการศึกษาเป็นสัตว์

 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางสัตวพทย์สาธารณสุข จะมีความเกี่ยวข้องกับทั้งมนุษย์และสัตว์ ในเรื่อง  -โรคสัตว์ติดต่อคน Zoonosis

                -โรคที่เกิดจากประกอบอาชีพ (Occupational disease)

                -โรคที่เกิดจากอาหารเป็นพิษ   เช่น Salmonellosis

เพื่อมิให้มีความยุ่งยาก คำทั้งสองคำมีความหมายคล้ายคลึงกัน  สามารถใช้ Epidemiology แทน Epizootiology ได้

------------------------------------------------------------------------------

นิยามคำศัพท์

Endemic  (โรคประจำถิ่น) หมายถึง การเกิดโรคที่เกิดขึ้นโดยมีความถี่ของการเกิดปกติในประชากรกลุ่มหนึ่ง  เป็นโรคที่ระบาดในท้องถิ่นนั้นๆ  อาจเป็นแค่จังหวัดหรือประเทศของเรา

ตัวอย่าง   -โคเนื้อที่เลี้ยงในหมู่บ้านรอบๆ หนองหาร  ที่เลี้ยงในสภาพปกติแล้วจะติดพยาธิตัวกลมและอัตราการติดโรคพยาธิชนิดนี้  80%  เป็นการเกิดโรคที่พบได้โดยปกติ  (Endemic level)  

 Epidemic (โรคระบาด) หมายถึง การเกิดขึ้นของโรคโดยมีความถี่ของการเกิดที่ผิดปกติในประชากรกลุ่มหนึ่ง  เป็นโรคที่ระบาดออกไปเป็นวงกว้าง อาจเป็นหลายๆ ประเทศหรือ ทั่วภูมิภาคก็ได้

ตัวอย่าง   -พบการเกิดโรคปากและเท้าเปื่อย(Foot and mouth disease) ในโคขุน ที่เลี้ยงเพื่อส่ง สหกรณ์ฯโพนยางคำ เขตพื้นที่ จังหวัด นครพนม  หนองคาย และสกลนคร  สูงกว่าปกติ ในช่วงฤดูฝน   

  • - การระบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในเขตภูมิภาคเอเซีย ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ 2546 เป็นต้นมา

Pandemic หมายถึง การระบาดของโรคแบบ Epidemic  แต่ลุกลามไปยังหลายๆประเทศ หรือหลายๆทวีป   เป็นโรคที่ระบาดไปทั่วโลก

ตัวอย่าง   การระบาดของโรคไข้หวัด สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทั่วโลกในขณะนี้

 Sporadic หมายถึง การเกิดของโรคในกลุ่มประชากรที่โรคดังกล่าว โดยปกติแล้วจะไม่พบในประชากรกลุ่มนี้ 

ตัวอย่าง  -การตรวจพบโรค Blue tongue และ Caprine arthritis/encephalitis(CAE) ในแพะ ฟาร์มตัวอย่างที่อำเภอคำตากล้า จ.สกลนคร

              

------------------------------------------------------------------------------

ประโยชน์ของการสอบสวนทางระบาดวิทยา

  • เพื่อค้นหาต้นกำเนิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของโรคที่เราทราบแล้ว ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งและเพื่อหารูปแบบของมาตรการแทรกแซงที่เหมาะสม
  • เพื่อชี้ให้เห็นถึงสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคที่เราไม่ทราบชนิด
  • เพื่อให้ได้รับข้อมูลเกี่ยวกกับนิเวศวิทยาและประวัตะรรมชาติของโรคเพื่อหาวิธีการควบคุมโรคที่เหมาะสม
  • เพื่อวางแผนในการติดตามโปรแกรมการควบคุมโรค
  • เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของโรคและโปรแกรมการควบคุมโรค

-----------------------------------------------------------------------------

ประวัติของวิทยาการระบาด

นักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการระบาดวิทยา ที่สำคัญๆ มีดังต่อไปนี้

                1.ฮิบโปเครติส (Hippocrates)  ในระหว่าง 460-377 ปีก่อนคริสตกาล

                                -เป็นบิดาแห่งวิชาอายุรศาสตร์

                                -ให้คำจำกัดความของคำว่าโรค (Disease)

                แนวคิด  -เชื่อว่าหากทราบรายละเอียดที่ถูกต้องเกี่ยวกับ อาการของโรคแล้ว จะสามารรถให้คำแนะนำที่สมเหตุสมผล ในการพยากรณ์และการรักษาได้

                                -โรคสามารถเกิดได้กับคนจำนวนมาก เช่นเดียวกับการเกิดโรคเป็นรายบุคคล

                                - บันทึกการเกิดโรคแบบต่างๆ ที่มีความเกี่ยวพันกับปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น สถานที่ ภูมิอากาศ สภาพน้ำ ที่อยู่อาศัยและอาหารการกิน  (แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับมาจนถึงปัจจุบัน)

                                -ปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้เกิดโรค คือ ความไม่สมดุล ของ ธาตุทั้ง 4  คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ  ที่ไหลเวียนในร่างกาย (เป็นแนวคิดที่ไม่มีเหตุผลในปัจจุบัน)

                2. จิโรลาโม แฟรคตาสโตโร (Girolamo Fractostoro)  ค.ศ. 1483-1553

 -เป็นคนแรกที่พิจารณาถึงแนวคิดในเรื่อง ของการติดต่อของโรค

                                -โดยเฉพาะโรค "French disease" ติดต่อได้โดยการสัมผัสและมีอนูเล็กๆ  ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เป็นตัวถ่ายทอดการเกิดโรค (โรคซิฟิลิส)

                3.จอห์น กรอนท์ (John Graunt ) ค.ศ. 1620-1674

                                - ศึกษาอัตราการตายของทารกและการเปลี่ยนแปลงของประชากรที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆในการเกิดกาฬโรค

                4.โธมัส ไซเดนแฮม (Thomas Sydenham) ค.ศ. 1624-1689      

-รื้อฟื้นทฤษฎีเกี่ยวกับองค์ประกอบของการระบาดของโรคและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ เช่น ฤดูกาล อายุ และ ปี ต่อการเกิดโรค

                5.แลนคิซี่ (Lancisi) ค.ศ. 1654-1720

                                -ได้รับมอบหมายให้ทำการสอบสวนการระบาดของโรค Rinderpest

                                -พัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับการระบาดของโรค

                                -สมมติฐานของเขาอยู่บนพื้นฐาน ของการสังเกตในทางระบาดวิทยา และนำไปสู่ การแนะนำให้ให้นำนโยบายการทำลยสัตว์ ( Slaughter policy ) มาใช้    

                6.เจนเนอร์ (Edward Jenner) ค.ศ. 1749-1823

                                -เป็นคนแรกที่นำแนวคิดเกี่ยวกับภูมิต้านทานโรคมาเผยแพร่ในยุคแรกของวิทยาการระบาด

                                -พบว่ามีภูมิค้มกันโดยธรรมชาติของโรคฝีดาษในวัว (Cow pox)  ต่อโรคฝีดาษในคน  นำไปสู่การให้วัคซีนที่ทำจากเชื้อฝีดาษวัวแก่คนเพื่อป้องกันโรคฝีดาษ

                                -ผลงานของ Jenner ทำให้เห็นว่า ถึงแม้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรค  เราสามารถหาวิธีการป้องกันโรคได้  หากมีวิธีการทางระบาดวิทยาที่ดี

                                ยกตัวอย่าง กรณี ปี 1806 ในเขตสแกนดิเนเวีย  มีการค้นพบว่าโรคพิษสุนัขบ้าสามารถติดต่อได้โดยน้ำลาย จากข้อมูลนี้นำไปสู่มาตรการต่างๆในการควบคุมโรค และก็สามารถทำสำเร็จได้ใน อีก 20 ปี ต่อมา ทั้งๆที่ยังไม่ทราบว่า โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อ Rhabdovirus  ซึ่งยังผลให้สามารถควบคุมโรคได้จนกระทั่งปัจจุบัน

               7. จอห์น สโนว์ (John Snow) ค.ศ.1813-1858  

                -สังเกตการระบาดของโรคอหิวาตกโรค ซึ่งเกิดขึ้นในอังกฤษซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1854   เขาตั้งสมมติฐานว่าโรคนี้มีความเกี่ยวข้องกับการดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนกับอุจจาระ

               8.หลุยส์  ปาสเตอร์ (Louis Pasteru) ค.ศ. 1822-1895

                -ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชาจุลชีววิทยาสมัยใหม่

                -ค้นพบว่าการหมักเกิดจาก จุลชีพ (Micro organism)

                -ผลงาน ได้แก่ การควบคุมโรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) และ โรคพาสุนัขบ้า (Rabies)  โดยการใช้แนวคิดทางวิทยาการระบาด ถึงแม้จะยังไม่สามารถแยกเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคได้

                -เป็นผู้บัญญัติคำว่า Vaccine  เพื่อเป็นเกียรติแก่ Jenner ที่ค้นพบก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับโรคฝีดาษ

                9.โรเบิร์ต ค็อก (Robert Koch)  ค.ศ. 1843-1910

                                -จากการค้นพบของ Louis Pasteru  กระตุ้นให้คน คิดว่าโรคทั้งหมดเกิดจากการติดเชื้อ และเชื้อที่สำคัญที่สุดก็คือ แบคทีเรีย

                                -ค้นพบเชื้อ ที่เป็นสาเหตุของโรค วัณโรคและ อหิวาตกโรค

                10.วิลเลี่ยม ฟาร์ม (William farm)  ค.ศ. 1839-1879

                                -ได้รับการยอมรับในเรื่องการใช้สถิติเข้ามาใช้ในทางการแพทย์

                               

คำสำคัญ (Tags): #introduction to epidemiology
หมายเลขบันทึก: 269084เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2009 18:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท