ฝากคิดต่อ PAR


จุดเน้นงาน PAR คือ กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการสร้างความรู้และเรียนรู้ร่วมกันในการแก้ปัญหา

  

    ฝากคิดต่อ PAR

                                                                         

โดย รศ.บำเพ็ญ เขียวหวาน*

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

 

โจทย์วิจัย???  ทีมวิจัยต้องช่วยกันวิเคราะห์ร่วมกันทุกระยะ เพื่อตอบวัตถุประสงค์ที่เราได้ตั้งไว้ในการทำวิจัย  ทั้งโจทย์ใหญ่และโจทย์ย่อยว่าได้คำตอบครบหรือไม่  คำตอบชัดหรือไม่  ถ้ายังไม่ชัดจะทำอย่างไรต่อไป  และการตอบโจทย์ไม่ใช่ตอบเมื่อเสร็จสิ้นการวิจัยแต่ต้องตอบไปเรื่อยๆ ในการทำงาน

      การศึกษาบริบทชุมชน  การศึกษาบริบทชุมชนเป็นสิ่งจำเป็น  ถ้าเราศึกษาไม่ครอบคลุมเพียงพอก็จะไม่สามารถวิเคราะห์ได้อย่างแตกฉานว่าเหตุการณ์ ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นมีที่มาอย่างไร  ดังนั้น ในแต่ละพื้นที่ควรศึกษาบริบทชุมชนให้เข้าใจอย่างแตกฉานว่าปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมแบบใด เพราะบริบทของแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน

 

 การออกแบบแต่ละเวที ก็คือความรู้ เราทำอย่างไร มีขั้นตอนออกแบบให้เวทีเป็นแบบนี้ได้อย่างไร เมื่อจัดเวทีแล้วโอเคมั้ยไม่ใช่แค่เล่าให้ฟังว่าทำอย่างไรซึ่งเป็นคำถามระดับพื้นฐาน  แต่ต้องบอกได้ว่ามันเป็นอย่างไรจะเป็น   คำถามที่สูงขึ้น ทำไมทำแบบนี้ มีเงื่อนไขปัจจัยอะไร  เพราะต่อไปอาจจะใช้เป็นโมเดลในการจัดเวที

*   โมเดลการจัดเวทีเพื่อศึกษาบริบทชุมชนควรเป็นอย่างไร

*   โมเดลการจัดเวทีเพื่อค้นหาทางเลือกควรเป็นอย่างไร

*   โมเดลจัดเพื่อประชาพิจารณ์แผนควรเป็นอย่างไร

สิ่งเหล่านี้เป็นความรู้ทั้งหมดที่คนอื่นมาเรียนรู้ได้ ปรับใช้ได้  แต่ละเวทีที่ทุกคนจัดขึ้นคงใช้ความรู้ไม่ใช่น้อย เราจัดอย่างไร  แบ่งกลุ่มชาวบ้านอย่างไร  เราสรุปอย่างไร  ใช้สื่ออะไรบ้าง  สิ่งเหล่านี้ก็คืองานวิจัยซ้อนงานวิจัย  

 

 ภาคี  ภาคีหนุนมีหลายภาคีที่ช่วยคิด ช่วยทำ ช่วยวิเคราะห์ ช่วยระดมทรัพยากร  เป็นใครบ้าง  มีวิธีการหาภาคีมาได้อย่างไร   การจัดความสัมพันธ์ของภาคีทำอย่างไร     แล้วนำแต่ละภาคีมาเชื่อมต่อกันอย่างไร  ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นองค์ความรู้เช่นกัน

 

 

  การจัดกลไกทำงานและวิธีการขับเคลื่อนกลไก  

มีกลไกอะไรที่เราสร้างขึ้นมา  วิสาหกิจชุมชนบางแห่งยากมากที่จะจัดกลไกได้  วิสาหกิจชุมชน บางแห่งมีภาคีหนุนทำให้ง่ายต่อการสร้างกลไก    แต่สิ่งสำคัญที่สุดของการจัดกลไก คือ action ได้อย่างไร

                        

PAR คือ การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช้วิจัยเพื่อรู้   การเปลี่ยนแปลงมีหลายมิติ

มิติของระดับชั้น บุคคล กลุ่ม ชุมชนเป็นอย่างไร

มิติทางการเมือง สังคม วัฒนธรรม

มิติบุคคล  ภาคีชาวบ้าน หรือตัวเราเองที่เป็นนักวิจัย  

            

จุดเน้นงาน PAR ต้องอย่าลืม ต้องตอกย้ำทุกระยะว่าจุดเน้นงาน PAR มีสามกระบวนการ คือ       

                             หนึ่ง เป็นกระบวนการสร้างความรู้

                             สอง เป็นกระบวนการแก้ปัญหาและเรียนรู้ร่วมกัน เป็นตัวกระตุ้นให้ 
                                     เกิดการแก้ปัญหา

                             สาม เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน 

ซึ่งทั้งสามกระบวนการนี้ คือ บทบาทของนักส่งเสริมการเกษตร  ซึ่งต้องสร้างวิชาการได้ ต้องมีทักษะเรื่องการ วิจัย ถ้าคุณไม่ทำวิจัยคุณไม่มีศักดิ์ศรีพอที่จะเป็นนักวิชาการ

 

            การบูรณาการ PAR สู่งานปกติ  กระบวนการที่เราทำทั้งหมด สุดท้ายแล้วก็จะต้องกลับเข้าไปสู่งานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนซึ่งเป็นงานประจำ  เราคิดว่าจะเชื่อมเข้าไปอย่างไร

 

 

ภูมิปัญญาชาวบ้าน มีหลายอย่าง เช่น การทำน้ำพริก ผ้าไหม ภูมิปัญญามีทั้งที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม  ภูมิปัญญาที่นำมาต่อยอดจากการวิจัยหรือสร้างขึ้นมาใหม่   รวมทั้งอาจมีภูมิปัญญาที่เกิดจากการสับเปลี่ยนระหว่างการวิจัย   ภูมิปัญญาที่สร้างขึ้นใหม่ต่อไปก็คือคลังความรู้  งานวิจัยคือการแก้ปัญหาจึงต้องมีภูมิปัญญาเข้ามาใช้ทั้งภูมิปัญญาในชุมชนและภูมิปัญญานอกชุมชน    ภูมิปัญญานอกชุมชนชาวบ้านเอามาจากที่ไหนแล้วนำมาปรับใช้อย่างไร   

 คำถามและคำตอบดีๆ ประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งในการทำวิจัย  คือ คำถามเด็ดๆ ที่เราใช้ในเวที ในการถามชาวบ้าน  สถานการณ์แบบนี้ควรตั้งคำถามอย่างไร แล้วผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร  บางครั้งคำถามเดียวอาจทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีได้ หรือแม้จะเป็นข้อคิดคำพูดดีๆ อย่าลืมโค้ดมา เพราะสิ่งเหล่านี้คือข้อมูล   การตั้งคำถามที่ทำให้เกิดการเรียนรู้จริงๆ แล้วเป็นนวัตกรรม

 

 

 

การจดบันทึก  เป็นสิ่งที่ดีแล้วที่จัดเก็บข้อมูลตลอดเวลาทั้งเอกสาร รูปภาพ สื่อต่างๆ  เพราะบางเหตุการณ์บรรยายแล้วยังไม่เข้าใจ  ต้องอาศัยภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกไว้ช่วยอธิบายเหตุการณ์

 

เตรียมขาลง   ตอบโจทย์ครบ  นำข้อมูลมาจัดระบบ แล้ววางโครงร่างเขียนงานวิจัย

 

                                                   

 

เตรียมการสื่อสาร  เราต้องเลือกดีไซน์เล่มการวิจัยให้เหมาะสมกับบุคคล

                   ชาวบ้าน ต้องการการสื่อสารที่ง่ายต่อการเข้าใจ ต้องใช้วิธีการเล่าเรื่อง พูดคุยกัน  ชาวบ้านสำคัญที่สุดที่ต้องให้เขาเข้าใจเพราะชาวบ้านต้องนำไปใช้ต่อ    ถ้าเราทำให้ดีผ่านไปสักระยะหนึ่งชาวบ้านจะกลายเป็นวิทยากรที่ดีในอนาคต  แล้วเราเองจะเป็นผู้ดูอยู่ห่างๆ

                    ผู้บริหาร ผู้บริหารต้องการเข้าใจให้เร็วที่สุดในเวลาอันสั้น  และทำให้น่าสนใจ เพื่อสามารถขยายผลได้

                    นักวิชาการ การเขียนต้องเขียนอย่างมีเหตุผล มีที่มาที่ไป

 

* ถอดเทปจากเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรอย่างนักวิจัย วันที่ 21 พฤษภาคม 2552     

   ณ ห้องประชุมกรมส่งเสริมการเกษตร ชั้น 5

หมายเลขบันทึก: 268438เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2009 08:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท