12/06/2552


สุขภาวะ

สุขภาวะ  การมีสภาวะสมบูรณ์ทั้งร่างกาย  จิตใจ  สังคม และจิตวิญญาณ  การมองสุขภาวะของคนจะต้องมองในลักษณะองค์รวมไม่มองเพียงด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียว  การมีสุขภาวะที่ดีเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน( WHO )รัฐจะต้องจัดบริการต่างๆให้กับประชาชนเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี จากเดิมรัฐมักมองแต่บริการในด้านสาธารณสุข  ปัจจุบันพบว่าการที่ประชาชนจะมีสุขภาวะที่ดีได้จะต้องอาศัยปัจจัยในด้านต่างๆเช่นเศรษฐกิจ  สังคม  การศึกษา ฯลฯ   การพัฒนาจะต้องให้ความสำคัญในทุกด้านเพื่อทำให้สุขภาวะที่ดี

จากวงจรโง่จนเจ็บยังเป็นวงจรที่ยังใช้อธิบายการเดการเจ็บป่วยของประชาชนได้ตลอดเวลาพบว่าถ้าคนขาดความรู้ก็ขาดโอกาสในการหารายได้ที่มาก เมื่อไม่มีรายได้ก็ขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการที่ต้องมีการจ่ายบริการ หรือต้องทำงานหนักจนเกิดการเจ็บป่วยเมื่อป่วยก็ไม่สามารถหาเงินมาใช้จ่ายในครอบครัวได้ก็จะเกิดเป็นวงจรปัญหาหมุนเวียนกันไม่จบสิ้นส่งผลกระทบต่อรัฐที่มีประชาชนที่ขาดคุณภาพ  ดังนั้นในการจัดการกับปัญหาสุขภาพโดยบทบาทรัฐคงไม่สามารถมองแค่เรื่องการจัดบริการสาธารณสุขอย่างเดียว ต้องมองถึงการปรับระบบการศึกษา  ระบบเศรษฐกิจ  ตลอดถึงสังคมจึงจะส่งผลต่อสุขภาวะของประชาชนในประเทศ

การพัฒนาการสาธารณสุขที่ผ่านมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต้นๆมักจะมุ่งเน้นการจัดสร้างสถานบริการ  เน้นการจัดบริการให้กับประชาชนในเรื่องการรักษาพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ทำให้เกิดการแออัดของสถานพยาบาล ซึ่งการสาธารณสุขจะเป็นงานที่ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  การรักษาพยาบาล    และการฟื้นฟูสภาพ ปัจจุบันรัฐเริ่มมองเห็นทิศทางขึ้นแต่ก็ยังคงต้องพัฒนากันต่อไปเพื่อให้ประชาชนได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานในเรื่องสุขภาวะตามที่ WHO ได้กำหนดไว้ อย่างแท้จริง

หมายเลขบันทึก: 268429เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2009 07:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท