ครูตี๋
นาย สมรรถ ครูตี๋ เอี่ยมพานิชกุล

การศึกษาคือการพัฒนาที่ยั่งยืน (นำมาเล่าสู่กันได้รู้)


การศึกษาคือการพัฒนาที่ยั่งยืน

โดย ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

การ ศึกษา...การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน "แนวคิดอมตะ" แห่งการพัฒนาประเทศที่ได้รับความนิยมและสามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกยุคทุก สมัย และทั่วทุกมุมในโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "รัฐบาลของนายกฯอภิสิทธิ์" ดูเหมือนจะให้ความสำคัญในการพัฒนาด้านการศึกษาอย่างมาก จนอาจจะกล่าวได้ว่า "การศึกษา" ถือเป็นนโยบาย "จุดขายของรัฐบาล" คงไม่ผิดนัก...

"นโยบาย เรียนฟรี 15 ปี"..."โครงการคืนครูให้นักเรียน" ซึ่งจะเป็นการลดภาระงานในส่วนงานธุรการ ทำให้ครูสามารถทำการสอนได้อย่างเต็มที่ และเปิดโอกาสให้กับผู้ตกงานได้เข้ามาฝึกงานในตำแหน่งธุรการแทน...

" นโยบายอ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขเป็น" อันเป็นนโยบายที่เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ว่าภาษาไทยเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ไม่ใช่แค่อ่านออก เขียนได้ แต่ต้องอ่านแล้วคิดเป็น รวมถึงวิเคราะห์ได้ด้วย ไม่อย่างนั้นจะทำให้การเรียนรู้ด้านอื่นๆ โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์จะไม่ดีเท่าที่ควร ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้นโยบายดังกล่าวเน้นการพัฒนา ทั้งภาษาไทย วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆ กัน

"การเพิ่มงบอาหารกลางวัน" ให้นักเรียนก่อนวัยเรียนถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นจำนวนเงินอีก 4 พันล้านบาท รวมเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 1.45 หมื่นล้าน

"การผลักดันการ อ่านเป็นวาระแห่งชาติ" โดยแบ่งออกเป็น 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์พัฒนาคนไทยทุกคนให้อ่านหนังสือหรืออ่านภาษาไทยได้อย่างแตกฉาน ยุทธศาสตร์สร้างนิสัยรักการอ่าน และยุทธศาสตร์สร้างสิ่งแวดล้อม บรรยากาศแห่งการรักการอ่านให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

หรือแม้แต่ "กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา" (กยศ.) ซึ่งเป็นกองทุนกู้ยืมทางการศึกษาตั้งแต่สมัยรัฐบาล ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี เป้าหมายคือ พ่อแม่ที่มีฐานะไม่ค่อยดี มีลูกหลายคน และมีรายได้ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี สามารถเข้ามากู้ยืมได้ตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนปลายจนจบมหาวิทยาลัยทั้งสายสามัญ และสายอาชีพ

ส่วน "กองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต" (กรอ.) เป็นกองทุนระบบหนึ่งที่ให้กู้และอยู่ในความดูแลของทาง กยศ. แตกต่างที่ กยศ.จะให้กู้ทั้งค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพ ขณะที่ กรอ.ให้กู้เฉพาะค่าเล่าเรียน และไม่จำกัดรายได้ของผู้กู้ แต่ต้องอยู่ในสาขาวิชาที่รัฐกำหนดไว้เท่านั้นตามความต้องการของประเทศ หรือสาขาวิชาที่ขาดแคลน โดยปี 2552 จะเป็นปีสุดท้ายที่จะให้ทุก กรอ. สำหรับผู้กู้รายใหม่

เหล่านี้ล้วนเป็นภาพสะท้อนที่เป็นรูปธรรมของความตั้งใจจริงของรัฐบาลในการปฏิรูปการศึกษาไทย

สาเหตุ ที่ทำให้รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ให้ความสำคัญในเรื่องการ ศึกษาอย่างมาก แม้จะอยู่ในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ นอกจากเป็นเพราะการศึกษา เป็นปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Human right) ที่กล่าวไว้ว่า สิทธิทางการศึกษา (Right to eaucation) ไว้ว่า รัฐต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้พลเมืองโดยไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ เรียน สำหรับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นไปกว่านี้ ให้พิจารณาจัดให้พลเมืองโดยอยู่บนพื้นฐานของความสามารถ โดยคำนึงถึงความเสมอภาคและเท่าเทียมกันด้วยแล้ว

การศึกษาเป็นเครื่อง มือที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนามนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถ เป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต ซึ่งประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างให้การยอมรับ...

ดังนั้น หน้าที่หลักของกระทรวงศึกษาธิการและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ณ วันนี้ คงต้องร่วมมือร่วมใจกันปฏิรูปการศึกษาไทยให้เด็กไทยเป็นคนดี มีความรู้ อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เพราะแม้เด็กจะเก่งหรือเป็นคนดีเพียงไหนถ้าอยู่ในสังคมไม่ได้ก็ไม่มี ประโยชน์ นอกจากนั้นต้องปลูกฝังให้เด็กไทยภาคภูมิใจในความเป็นไทย รวมทั้งศิลปะ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ไทยที่มีความเป็นมาอันยาวนาน

เป้า หมายที่กล่าวไปทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเย็นแสนเข็ญ แม้ช่วงที่บ้านเมืองอยู่ในสภาวะปกติ แล้วยิ่งบ้านเมืองอยู่สภาวะที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง ก็คงต้องยอมรับว่า "ปัจจัยด้านการเมือง" ถือเป็นอุปสรรคที่ทำให้การดำเนินนโยบายเป็นไปอย่างยากลำบากไม่น้อย...

แต่ ถึงอย่างไรท่านนายกฯอภิสิทธิ์...ท่านจุรินทร์ รมว.ศธ. ผู้เขียน และท่านนริศรา รมช.ศธ. ตลอดจนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ให้คำสัญญาว่าจะร่วมมือกันปฏิรูปการศึกษาไทยอย่างเต็มความสามารถ...!!

เพราะทุกฝ่ายรู้อยู่เต็มอกว่า "การศึกษา" คือ การพัฒนาที่ยั่งยืน...!!??


ที่มา - มติชนรายวัน หน้า 6 - วันที่ 08 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11412

จาก http://www.kruthai.info/board02_/show.php?Category=vipak&No=140

หมายเลขบันทึก: 268379เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2009 21:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท