CHANGE : ซี เป็น แท่ง


การประชุมชึ้แจงและรับฟังความคิดเห็น
เรื่องการปรับระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
วันพุธที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์

    


    ผมได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนหัวหน้าสำนักงานเลขานุการไปเข้าร่วมประชุมเรื่อง“การปรับระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา”สกอ.เป็นเจ้าภาพจัด มีศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร  ศรีสอ้านเป็นผู้บรรยายก่อนแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นและเสนอความเห็นเกี่ยวกับการปรับประบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสำหรับกลุ่มมีการแบ่งก่อนล่วงหน้าไว้แล้วมีตัวแทนแต่ละมหาวิทยาลัยเข้าร่วมผมได้สรุปรายประเด็นสำคัญตอนที่ผู้แทนแต่ละกลุ่มนำเสนอไว้แบบย่อ ๆ

สรุปประเด็นสำคัญจากการะดมความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม(สรุปประเด็นสำคัญโดยย่อ 4 กลุ่ม) ที่เหลืออีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มมหาวิทยาลัยนครพนมและมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ไม่ได้บันทึก ฟังด้วยความสนุก ผู้แทนนำเสนอแบบน้อยใจเล็ก ๆของกลุ่มที่แตกต่างจากกลุ่มอื่น กระบวนการในกลุ่ม คือให้สมาชิกทุกคนเลือกประธาน เลขานุการ และผู้นำเสนอของกลุ่มโดยประธานเป็นผู้เปิดอภิปราย และให้สมาชิกในกลุ่มร่วมแสดงความคิดเห็นความจริงก่อนดำเนินการมีทีมงานที่ทางสกอ.มอบหมายมาให้เป็นผู้เริ่มก่อน  เมื่อหาประธานของกลุ่มได้แล้วทีมงานของสกอ.ก็ให้ดำเนินการโดยอิสระ        

กลุ่ม ๑กลุ่มตำแหน่งวิชาการ  สรุปประเด็นที่ได้จากกลุ่มดังนี้
          ๑. เสนอให้อาจารย์ระดับ ๗ ที่เงินเดือนเต็มขั้นและไม่ได้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการขอให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง"อาจารย์ชำนาญการ" จำนวน ๓,๕๐๐ บาท
           ๒.เสนอให้กำหนดชื่อภาษาอังกฤษ ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ (ศ.ระดับ ๑๑)"ตำแหน่งศาสตราจารย์ญาณวิทย์ ศ.วิจิตรศรีสะอ้าน เป็นผู้เสนอชื่อให้เรียกแทนศ.ระดับ ๑๑"
           ๓.เงินก้าวกระโดดเมื่อประเมินผลงานเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการแล้วควรจะได้รับเงิน
           ๔.การกำหนดค่ากึ่งกลาง ควรกำหนดของแต่ละตำแหน่งไม่ควรกำหนดเพียงค่าเดียวในแต่ละตำแหน่ง
           ๕.ควรนำอัตราเงินเดือนเพิ่ม ผูกโยงการขอรับพระราชทานชั้นสายสะพายซึ่งเงินเดือนเต็มขั้นซี ๘ และดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
           ๖.แท่งวิชาการจะมีเพดานสูงกว่าแท่งอื่น
           ๗.การบังคับใช้กฎหมาย รัฐบาลยังมิได้กำหนดหรือติดตามการบังคับใช้กฎหมายในการออกกฎหมายลูก
           ๘.การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของผู้ที่มีเงินเดือนเต็มขั้นจะได้รับอานิสงส์การปรับจากเดิมเป็นแท่งได้หรือไม่
           ๙.การปฏิบัติภารกิจของอาจารย์ จะต้องดำเนินการเคร่งครัดตามประกาศของกพอ. ทุกมหาวิทยาลัยหรือไม่
         ๑๐.อธิการบดีอยู่ในแท่งใด (คำตอบคือแท่งวิชาการ)
         ๑๑.การเสนอชื่อตำแหน่งศ.ระดับ ๑๑ ควรเรียกชื่อ ศ.ทรงคุณ ศ.ธรรมคุณศ.พรหมคุณ
อภิศาสตราจารย์
         ๑๒.การประกาศกำหนดตำแหน่งผู้บริหาร ควรกำหนดอัตราค่าตอบแทนที่แน่นอนรวมทั้ง
เงินประจำตำแหน่งด้วย      
         ๑๓.ควรกำหนดเป้าหมายของการประเมินที่ชัดเจนมากกว่าเดิมดูแล้วก็ยังเหมือนเดิม ควรกำหนดกรอบกลาง
         ๑๔. ผู้รับเงินเดือนเดิมเกษียณ ๑ ตุลาคมนี้จะได้รับอานิสงส์หรือไม่
         ๑๕.การปรับระบบควรหลีกเลี่ยงการใช้มติของสภามหาวิทยาลัยไม่ควรไปรับเงินรายได้ของสภามหาวิทยาลัยมาสมทบระบบที่นำมาใช้ใหม่ควรทำให้ดีที่สุด

กลุ่ม ๒กลุ่มตำแหน่งประเภทผู้บริหาร สรุปประเด็นที่ได้จากกลุ่มดังนี้
        ๑. การแบ่งผู้บริหาร เป็น ๒ ประเภท
            ประเภทผู้บริหารระดับสูง  ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีผู้อำนวยการสำนักวิทยาเขต ระดับ ๘-๙
            ประเภทผู้บริหารระดับต้น ได้แก่ ผู้อำนวยการกองหัวหน้าสำนักงานเลขานุการ ระดับ ๗-๘
สมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่เห็นด้วย
            ๒. การแบ่งส่วนราชการโดยสภามหาวิทยาลัยควรดำเนินการอย่างไรเพราะผู้บริหารที่อยู่ในส่วนราชการโดยสภามหาวิทยาลัยต้องเบิกจ่ายเงินประตำแหน่งจากเงินรายได้ของหน่วยงาน
            ๓. หัวหน้างานอยู่แท่งตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ อาจไม่เหมาะสม
       
กลุ่ม ๓กลุ่มตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะสรุปประเด็นที่ได้จากกลุ่ม ดังนี้

          ๑.ขอให้เงินตำแหน่งกลุ่มเชี่ยวชาญเฉพาะเท่ากับกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ
          ๒.เสนอให้สายสนับสนุนทุกตำแหน่งมีสิทธิ์ได้เงินประจำตำแหน่งและเงินค่าตอบแทนเท่ากับตำแหน่งทางวิชาการ
          ๓.งานที่ผ่านซี ๖ แล้วขอให้เข้าสู่ตำแหน่งชำนาญการทุกตำแหน่ง
          ๔.ขอให้การเข้าสู่ตำแหน่ง ไม่นำเงินเดือนมาเป็นเงื่อนไขเพื่อจูงใจให้เร็วขึ้น เช่นเดียวกับ ผศ. รศ. และศ.
          ๕.การอบรมหลักสูตรผู้บริหาร ขอให้กพ. มีการขยายโอกาส เช่นการทียบโอน
          ๖.ปรับค่าตอบแทนเป็นเงินประตำแหน่ง
          ๗.ขอให้เพิ่มระดับเทียบเท่าผู้ทรงคุณวุฒิ๑๑ (๖๖,๔๘๐) เท่ากับกพ. โดยเพิ่มสายการแพทย์สายวิทยาศาสตร์

กลุ่ม ๔กลุ่มตำแหน่งประเภททั่วไป สรุปประเด็นที่ได้จากกลุ่มดังนี้

       ๑. ส่งเสริมการเปลี่ยนตำแหน่งก่อนจัดลงตำแหน่ง
       ๒. ควรมีการวิเคราะห์ค่างาน
       ๓. การประเมินควรประเมินคุณภาพงาน     
   
       หลังจากผู้แทนแต่ละกลุ่มบรรยายจบ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้านได้สรุปประเด็นสำคัญ และรับไปพิจารณาในเรื่องดังกล่าว โดยจะให้มีผลภายในตุลาคมนี้หากผ่านครม.

                                                   บอย สหเวช

หมายเลขบันทึก: 268322เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2009 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2018 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
หรือเงินคือพระเจ้า

เงิน เงิน เงิน

มีแต่การเรียกร้องเงินแบบก้าวกระโดด ไม่เห็นบอกว่าควรทำงานแบบก้าวกระโดดบ้างเลย โดยเฉพาะสายวิชาการ ยิ่งเรียนสูงยิ่งโลภ

ทำงานแล้วได้เงิน หรือว่า ทำ เงิน แล้วถึงจะได้งาน

อนาคตของสังคมที่ฝากไว้กับคนที่อยากได้แต่เงิน เงิน เงิน แล้วมองค่าของเงินสำคัญกว่า คุณภาพของงาน

  • เข้ามาอ่าน เพื่อติดตามความก้าวหน้าครับ
  • ความจริง ถ้าเราใช้หลักธรรมาภิบาลคู่กับเรื่องเงินๆ ทองๆ ก็จะดีมากครับ
  • ขอบคุณทุกท่านและอ.บีแมนด้วยครับที่ร่วมแสดงข้อคิดเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท