ahs
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบที่ 9 ตัวบ่งชี้ที่ 9.3 : คณะสหเวชฯ มน.


ตัวบ่งชี้ที่ 9.3 ระดับความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลผลิต

เกณฑ์มาตรฐาน :  ระดับ

  1. มีการดำเนินการตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ และสถาบันอย่างต่อเนื่อง
  2. มีการปรับปรุงระบบประกันคุณภาพภายในโดยสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของสถาบัน
  3. มีการรายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนภายในเวลาที่กำหนด
  4. มีการนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานของหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง
  5. มีนวัตกรรมด้านการประกันคุณภาพที่หน่วยงานพัฒนาขึ้น หรือมีการจัดทำแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อการเป็นแหล่งอ้างอิงให้กับหน่วยงานและสถาบันอื่น ๆ

เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน 1 

คะแนน 2 

คะแนน 3 

มีการดำเนินการไม่ครบ 3 ข้อแรก  มีการดำเนินการ 3 ข้อแรก

มีการดำเนินการอย่างน้อย 4ข้อแรก   

การประเมินตนเอง (SAR)

ผู้กำกับดูแลดัชนี:  รองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ เบอร์โทรภายใน: 6230  E-mail :  [email protected]
ผู้เก็บรวมรวบข้อมูล: ดรุณี  จันตระ เบอร์โทรภายใน :  6235  E-mail :  

dchantara@hotmail.com

 

ผลการดำเนินงาน 

          ในปีการศึกษา 2551 คณะสหเวชศาสตร์มีผลงานผ่านระดับ 5 ตามเกณฑ์มาตรฐาน สกอ. คือ

ระดับที่

 ผลการดำเนินงาน

หลักฐาน
 1. มีการดำเนินการตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ และสถาบันอย่างต่อเนื่อง
  •      คณะสหเวชศาสตร์มีการดำเนินการตามระบบและกลไกในการประกันคุณภาพภายในระดับคณะอย่างต่อเนื่อง มีนโยบายและแผนปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 9.3.1(1)

 

  •      มีคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะ เป็นกลไกในการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา9.3.1(2)

 

  •     มีการจัดโครงการด้านการประกันคุณภาพการศึกษา อาทิเช่น การจัดกิจกรรมตรวจติดตามและประเมินผลคุณภาพภายในหน่วยงานย่อย และระดับคณะ และการสัมมนาด้านการประกันคุณภาพการศึกษาประจำปี

 

  •      นอกจากนี้รองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และคณบดีเป็นคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย 9.3.1(3) นอกจากนี้ผู้บริหารของคณะยังได้เข้าร่วมประชุม KM workshop เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง   

9.3.1(1) แผนปฏิบัติการประจำปี ด้านระบบการประกันคุณภาพ

9.3.1(2)  คำสั่งแต่งตั้งกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาประจำปี 2551


9.3.1(3)  คำสั่งแต่งตั้งกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร (ที่647/2550)
 

 2. มีการปรับปรุงระบบประกันคุณภาพภายในโดยสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของสถาบัน

      คณะสหเวชศาสตร์มีการปรับปรุงระบบประกันคุณภาพภายในให้เป็นไปตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัดของสกอ.  ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยกลุ่มผลิตบัณฑิตและวิจัย

  •      ในปีการศึกษา 2551 ทางคณะได้ปรับปรุงระบบการเก็บข้อมูลในแต่ละองค์ประกอบใหม่ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดประชุมชี้แจง  อาทิเช่น ในองค์ประกอบที่ 4 การวิจัย ได้ปรับปรุงระบบการเก็บข้อมูลใหม่ โดยตัวบ่งชีเที่ 4.3 ให้เป็นไปตามรอบปีงบประมาณ ส่วนตัวบ่งชี้ที่ 4.4 และ 4.5 ให้เป็นไปตามรอบปีปฏิทิน ทั้งนี้ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพได้จัดประชุมชี้แจงให้แก่ผู้รับผิดชอบเก็บข้อมูลในแต่ละตัวบ่งชี้รับทราบ 9.3.2(1)  และสัมภาษณ์ฝ่ายประกันคุณภาพของคณะ

  •      นอกจากนี้ทางคณะได้กำหนดให้มีการสร้างตารางข้อมูลพื้นฐานสำหรับเก็บข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษา 9.3.2 (2) และกำหนดผู้รับผิดชอบจัดเก็บข้อมูลตามตัวบ่งชี้และผู้กำกับดูแลตัวบ่งชี้ คุณภาพการศึกษาอย่างชัดเจนเพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม   ทำงานอย่างคล่องตัวอีกทั้งติดตามผลการดำเนินงานได้อย่างสะดวก 9.3.2 (3)

9.3.2(1) หนังสือเชิญประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพ

9.3.2(2) ตารางข้อมูลพื้นฐานสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา 2551


9.3.2(3) รายชื่อผู้กำกับดูแลดัชนีชี้วัดและตัวบ่งชี้คุณภาพของสกอ.


 3. มีการรายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนภายในเวลาที่กำหนด      คณะมีการจัดทำ SAR/CAR  ของคณะเป็นประจำทุกปี  และมีการรายงานผลการประกันคุณภาพในต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  และสาธารณชน  โดยผ่านทาง BLOG  และรายงานการประเมินตนเอง/ตรวจสอบ ประจำปีการศึกษาที่อยู่บนเวบไซด์ของคณะฯ 9.3.3(1)  9.3.3(2)  

9.3.3(1)  รายงานผลการประเมินคุณภาพภายใน คณะฯ ประจำปี พ.ศ.2545 – 2550

9.3.3(2)  รายงานการประเมินตนเอง/ตรวจสอบ ประจำปีการศึกษา 2549 ON BLOG

 4. มีการนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานของหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง
  •        คณะฯ นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษามาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานของหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง เช่น  การปรับแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปีโดยรองคณบดีแต่ละฝ่าย  ซึ่งกำกับดูแลตัวบ่งชี้/ดัชนีชี้วัดคุณภาพการศึกษาแต่ละด้านจะรับไปพิจารณาปรับปรุงแล้วนำเสนอผ่านที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ  เป็นกิจวัตรประจำทุกปี  (สัมภาษณ์ผู้บริหาร)

  •        คณะมีการจัดกิจกรรม AAR ของการตรวจติดตามและประเมินผลคุณภาพภายในหน่วยงานย่อย โดยเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อผลการประเมินคุณภาพ  แนวทางในการปรับปรุงผลการดำเนินงานให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดีตามคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาของ สกอ.  9.3.4(1)

  •        ในส่วนผลการประเมินคุณภาพระดับคณะได้มีการนำมาพูดคุยปรึกษาหารือกันในที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ เพื่อหาแนวทางการปรับปรุง 9.3.4(2)

9.3.4(1) บันทึกของอาจารย์ศุภวิทู สุขเพ็ง เรื่อง กิจกรรม AAR ของการตรวจติดตามและประเมินผลคุณภาพภายในหน่วยงานย่อย

9.3.4(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะสหเวชศาสตร์ ครั้งที่ 9/2551 วาระที่ 5.1

 5. มีนวัตกรรมด้านการประกันคุณภาพที่หน่วยงานพัฒนาขึ้น หรือมีการจัดทำแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อการเป็นแหล่งอ้างอิงให้กับหน่วยงานและสถาบันอื่น ๆ
  •        คณะสหเวชศาสตร์ใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการประกันคุณภาพการศึกษา โดยบุคลากรภายในคณะฯใช้ BLOG เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้เพื่อการสื่อสารภายในองค์กร  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ บูรณาการการทำงานส่วนต่างๆ  จัดเก็บข้อมูลและรายการหลักฐานอ้างอิงด้านการประกันคุณภาพการศึกษา  ถือเป็นนวัตกรรมการทำงานภายในคณะ    9.3.5 (1)  9.3.5 (2)

  •       การจัดโปรแกรมการศึกษาดูงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา แก่หน่วยงานภายนอกที่เข้ามาเยี่ยมชมคณะจะใช้รูปแบบของการจัดการความรู้ โดยบุคลากรทุกระดับของคณะได้มีโอกาสเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้  ถือเป็นนวัตกรรมการศึกษาดูงานด้าน QA โดยใช้ KM ซึ่งบุคลากรของคณะได้เรียนรู้และฝึกฝนไปควบคู่กัน 9.3.5 (3) 9.3.5 (4)   อาทิเช่น

  •       คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มาศึกษาดูงานด้านการจัดการความรู้และการประกันคุณภาพ   9.3.5 (5)

  •       สถาบันพระบรมราชชนกได้มา ทำการ Site Visit คณะสหเวชศาสตร์ เพื่อค้นหา Best Practice ด้านการจัดการความรู้ โดยมีผู้บริหารและบุคลากรของคณะสหเวชศาสตร์ร่วมนำเสนอ 9.3.5(6)

  •  คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ม.บูรพา ได้มาศึกษาดูงานเกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพการศึกษา ของคณะ ฯ ซึ่งบุคลากรสายสนับสนุนของคณะก็ได้มีโอกาศเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เช่นเดียวกัน  (SAR) 9.3.5(7)

 

      นอกจากนี้ในปี 2551 นี้ทางคณะจัดทำรายงานการประเมินตนเองบน Blog (SAR on blog)  ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้แสดงความคิดเห็นต่อผลการดำเนินงานของคณ 

9.3.5(1)  AHS-Planet

9.3.5(2)  บันทึกของ รศ. มาลินี ธนารุณ เครื่องมือ KM สุดโปรด

9.3.5(3)  บันทึกของ รศ. มาลินี ธนารุณ เรื่องเล่าดีดีวันละเรื่อง: ดูงาน "ขนมสอดไส้"

9.3.5(4)  บันทึกของ รศ. มาลินี ธนารุณ ภาพโรงงานทำ "ขนมสอดไส้"

9.3.5(5) บันทึกของคุณอนวัทย์  เรืองจันทร์  ยินดีต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากคณะวิทยาการจัดการ มข.

9.3.5(6) บันทึกของคุณอนวัทย์  เรืองจันทร์ สถาบันพระบรมราชชนก : SITE VISIT

9.3.5(7) บันทึกของคุณอนวัทย์  เรืองจันทร์ ยินดีต้อนรับมหาวิทยาลัยบูรพา

 



 


คะแนนการประเมินปีที่แล้ว คะแนนการประเมินครั้งนี้ คะแนนการประเมินปีต่อไป
3 3 3

การบรรลุเป้าหมาย  (1 = บรรลุ , 0 = ไม่บรรลุ)    
การมีพัฒนาการ     (1 = มี , 0 = ไม่มี)

การบรรลุเป้าหมาย :

เพราะคณะกำหนดเป้าหมายของ ตัวบ่งชี้ที่ 9.3 : ระดับความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน  ไว้ที่ระดับ 5 ตามเกณฑ์มาตรฐานของ สกอ. (หลักฐานค่าเป้าหมายตามแผน)  
พัฒนาการ  เพราะผลดำเนินงานปีการศึกษา 2550 ของตัวบ่งชี้ที่ 9.3 = 3  (หลักฐานผลประเมินรอบปีการศึกษา 2550) 

 

โครงการหรือกิจกรรมในปีต่อไป

 

คำสำคัญ (Tags): #ตัวบ่งชี้ที่9-3-51
หมายเลขบันทึก: 268048เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2009 08:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 19:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผลการประเมินตรวจสอบ

(กรุณาบันทึกในความคิดเห็นโดย copy ข้อความข้างใต้ไปวาง)

คะแนนการประเมินปีที่แล้ว คะแนนการประเมินครั้งนี้ คะแนนการประเมินปีต่อไป

3 3 3

การบรรลุเป้าหมาย / พัฒนาการ

1 / 1

- การบรรลุเป้าหมาย :

(1 = บรรลุ , 0 = ไม่บรรลุ)

- พัฒนาการ : (1 = มี , 0 = ไม่มี)

ขอบคุณมากครับ เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับ ผู้ที่ทำการประเมินคุณภาพการศึกษา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท