KM เพื่อพัฒนาการบริหารงานของศาลยุติธรรม


ความสำเร็จ จะเล็ก หรือจะใหญ่ ก็คือความสำเร็จ

     สวัสดีคะ คราวนี้มีเรื่องราวของความยุติธรรม (ในที่นี้ก็หมายถึงศาลยุติธรรมนะคะ) กับความรู้ปฏิบัติ และความรู้ขององค์กร  เรื่องราวเริ่มต้นในช่วงวันที่ 8 - 10 มิถุนายน 2552  สคส.ได้จัด workshop กับหน่วยงานศาลยุติธรรม   วัตถุประสงค์เพื่อสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และความคิดเห็นของท่านผู้พิพากษาจาก  " ความรู้ปฏิบัติ" ไปสู่การพัฒนา "ความรู้ขององค์กร"  

    ผู้เข้าร่วมคือผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่บริหารงานระดับสูง จำนวน 22 ท่าน   

เริ่มวันที่1 ด้วยการทำ BAR เพื่อถามความคาดหวัง  จากนั้น Overview KM  (KM:what Why  How?)  เพื่อปูฐาน KM โดยอาจารย์ประพนธ์     แล้วเรียนรู้การรู้จักตนเอง พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ พูดถึงข้อดี ข้อเสียและสิ่งที่ควรปรับปรุง และ ดูวีดิทัศน์ รพ.บ้านตาก หลายท่านสะท้อน และมองเห็นบทบาท หน้าที่ของคุณเอื้อ คุณอำนวย คุณกิจ อีกทั้งยังมองเรื่องการให้โอกาส มองเรื่องความสำเร็จเล็กๆในองค์กร เรื่องบางเรื่องที่เราคิดว่ามันไม่น่าสนใจ คิดว่ามันไม่น่าจะสำคัญ ไม่น่าภูมิใจ แต่เมื่อได้เล่า ได้ถ่ายทอดให้เพื่อนฟัง สิ่งเหล่านั้น กับมีคุณค่า  เปรียบกับความสำเร็จ ไม่ต้องยิ่งใหญ่ เพียงแค่เริ่มต้นจากความสำเร็จเล็กๆ แล้วจากนั้นค่อยๆขยายออกเป็นวงกว้าง   ช่วงเย็นเริ่มกิจกรรมด้วยการ  ทำ KV (Knowledge Vision) ของแต่ละท่าน ปิดท้ายก่อนนอนด้วยการดูวีดิทัศน์  EdKM  ที่สะท้อนให้เห็นว่าการเอาปัญหาเล็ก ของเด็กเพียงคนเดียว มาปรับปรุงแก้ไข พัฒนาสื่อการสอน เป็นความสำเร็จเล็กที่ขยายวงกว้างออกไป   แล้วฝึกการพูดคุยแบบ Dialogue ก่อนแยกย้ายไปนอนคะ

วันที่ 2  เริ่มต้นด้วยการทำ AAR  จากกิจกรรมของเมื่อวาน จากนั้น  KS (Knowledge Sharing)และ KA (Knowledge Assets) โดยการแบ่งกลุ่มให้เล่าเรื่องและจดบันทึกออกมาคนละ 1 filp chart ติดไว้รอบๆห้อง เพื่อให้เพื่อนได้มีโอกาสเดินมาอ่าน (Shopping Idea) เรียนรู้วิธีเขียน ซึ่งส่วนสำคัญของการเขียน มี 3 ข้อ 1.ชื่อเรื่อง 2.เรื่องเล่า และเทคนิค 3.ผู้เล่า        

           ต่อด้วยการสร้างภาพฝันในหัวข้อ "อยากเห็นองค์กรศาลเป็นอย่างไรในสายตาประชาชน" โดยเริ่มจากการสร้างภาพฝันของแต่ละคน แล้วแบ่งกลุ่มเพื่อมาสร้างภาพฝันร่วมกัน โดยวาดเป็นรูปออกมา (ฝึกใช้สมองทั้งสองฝั่ง)   

วันที่ 3 เป็นกิจกรรมที่ต้องทำทุกๆครั้ง นั้นคือ AAR  ซึ่งรูปแบบของการทำอาจจะแตกต่างกันไป ขั้นอยู่กับเงื่อนไขของเวลา สำหรับครั้งนี้ วิทยากรให้ผู้เข้าร่วม เขียน AAR 4 ข้อ 

  

 1. ความคาดหวัง

 2.สิ่งที่ได้เกินกว่าความคาดหวัง

 3.สิ่งที่ได้น้อยกว่าความคาดหวัง/ข้อเสนอแนะ

 4.จะนำอะไรไปใช้/การนำไปปรับใช้     

          

  

แล้วเลือกที่จะพูดข้อไหนก็ได้ หรือจะ พูดทั้งหมดก็ได้ อีกทั้งแนะนำวิธีการนำไปใช้ และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ซักถาม  ก่อนจะแยกย้ายกันเดินทางกลับคะ

 

หมายเลขบันทึก: 267470เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2009 18:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กิจกรรมดูน่าสนใจจังเลย ถ้ามีโอกาศอยากเข้าร่วมด้วย

สวัสดีคะ คุณยุ

ถ้าสนใจเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้ สามารถเข้าร่วมได้จากคอร์สอบรมที่เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้านะคะ ล่าสุดที่จะจัดก็ 27-28 สิงหานี้คะ คอร์ส การจัดการความรู้สู่ผู้นำการเปลี่นแปลง คะ แต่เงื่อนไขมีอยู่ว่า ต้องมีความรู้ KM ขั้นพื้นฐานนะคะ

ดูข้อมูลได้ที่ www.kmi.or.th คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท