CBNA ฉบับที่ 10 : อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อแรงงาน


การ พัฒนาประเทศที่ใช้อุตสาหกรรมนำหน้าเกษตรกรรม นำมาสู่การเพิ่มขึ้นของรายได้ประชากรอย่างรวดเร็ว เพราะมีการจ้างงานนอกครัวเรือน แรงงานมีรายได้มั่นคงนำมาซึ่งคุณรูปชีวิตที่ดี แต่การเจ็บป่วยและการตายจากสาเหตุภายนอกจะมากขึ้น โรคเหล่านี้ได้แก่ อุบัติเหตุ การเจ็บป่วยจากการทำงาน โรคเกี่ยวกับการผิดปกติของอวัยวะที่เกิดจากการสะสมสารพิษ ฝุ่นละออง ของเสียที่ได้รับขณะทำงาน ที่สำคัญในช่วงการเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมสู่สังคมอุตสาหกรรม การเจ็บป่วยและการตายจากการทำงานจะมากขึ้น เพราะเป็นการเปลี่ยนนิสัยการทำงานจากสังคมเกษตรที่ใช้อุปกรณ์แบบง่ายสู่ สังคมใช้เครื่องจักรมีความเร็วและระบบควบคุมโดยไฟฟ้า

ศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน

ฉบับที่ 10 (12 มีนาคม 2552)


อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อแรงงาน


วิทยากร บุญเรือง


 

สำหรับแรงงานในภาคอุตสากรรมอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าตั้งแต่ปลายปี 2551 มี การเลิกจ้างเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจระลอกล่าสุด โดยแรงงานกลุ่มแรกที่ได้รับผลจากการลดลงของคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ คือ กลุ่มแรงงานชั่วคราว โดยแรงงานกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ถูกเลิกจ้างก่อนกลุ่มอื่นเมื่อมีการการปรับลด การผลิตสินค้า ต่อมาก็คือกลุ่มพนักงานประจำ


โดยภาพรวมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่จะต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจระลอกล่าสุดมีดังนี้


 

 

1. ภาพรวมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย


1.1 ความเป็นมาของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทย


 

ภาพรวมของการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยสามารถจำแนกออกได้เป็น 5 ช่วง คือ

 

1.     ช่วงการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า (พ.ศ. 2503-2514)

2.     ช่วงการผลิตเพื่อการส่งออก (พ.ศ. 2515-2528)

3.     ช่วงขยายตัวของอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2529-2535)

4.     ช่วงส่งเสริมอุตสาหกรรมสนับสนุน (พ.ศ. 2536-2540)

5.     ช่วงปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา)

 

(1) ช่วงการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า (พ.ศ. 2503-2514)

 

เมื่อ มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนในปี พ.ศ. 2503 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการผลิตทดแทนการนำเข้า จึงได้เริ่มมีบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาขอรับการส่งเสริม การลงทุนเพื่อทำการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ บริษัทของคนไทยรายแรกที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนคือ บริษัท ธานินทร์อุตสาหกรรม จำกัด ในปี พ.ศ. 2505 เพื่อประกอบเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ  จากนั้นได้มีการลงทุนในกิจการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์จากต่างชาติเป็นจำนวนมาก  ส่วน ใหญ่เป็นการร่วมลงทุนระหว่างคนไทยกับบริษัทญี่ปุ่น ได้แก่ ซันโยยูนิเวอร์แซล (ซันโย), เนชั่นแนลไทย (มัตสุชิตะ), กันยงอิเล็กทริกแมนูแฟคเจอริ่ง (มิตซูบิชิ), ไทยโตชิบาอุตสาหกรรม (โตชิบา) และฮิตาชิคอนซูเมอร์โปรดักส์ (ฮิตาชิ) เพื่อทำการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป เช่น เครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ เป็นการทดแทนการนำเข้าในลักษณะนำชิ้นส่วน (CKD) เข้ามาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์

 

(2) ช่วงการผลิตเพื่อการส่งออก (พ.ศ. 2515-2528)

 

ช่วงนี้จำแนกได้เป็น 2 ระยะคือ ระยะแรก ระหว่าง พ.ศ. 2515-2523 ในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่  ซึ่ง มีการกำหนดสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมแก่กิจการที่ทำการผลิตเพื่อส่งออก ใช่วงนี้มีการลงทุนจากต่างชาติ เช่น เนชั่นแนลเซมิคอนดัคเตอร์ ซิกเนติกส์ ดาต้าเจนเนอรัล และฮันนี่เวลส์ ในกิจการผลิตแผงวงจรไฟฟ้า (IC) เพื่อการส่งออก  เข้ามาลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากไทยมีค่าแรงถูก ได้รับสิทธิและประโยชน์ทางภาษีจากรัฐบาลไทย  ตลอดจนได้รับสิทธิและประโยชน์พิเศษทางภาษีในการนำเข้าสหรัฐอเมริกา (GSP) ขณะที่บริษัทของคนไทยคือ กลุ่มบริษัทธานินทร์อุตสาหกรรม ก็มีการขยายการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุเพื่อการส่งออก  แม้ว่ารัฐบาลไทยจะเริ่มให้ความสำคัญแก่อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้น  แต่ ขณะเดียวกัน ก็มิได้ลดความสำคัญของอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศโดยมาตรการ คุ้มครองและอากรขาเข้าสินค้าสำเร็จรูปที่ยังมีอัตราที่สูงอยู่ ทำให้อุตสาหกรรมในประเทศยังคงเติบโตต่อไปได้  อย่าง ไรก็ตาม การพัฒนาอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิตและอุตสาหกรรมสนับสนุนในช่วงนี้ยังมีไม่ มากนัก บริษัทต่างๆ จึงเริ่มมีการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้เอง โดยบริษัทธานินทร์อุตสาหกรรม และเนชั่นแนลไทย ในกิจการผลิตชิ้นส่วนโลหะและพลาสติก แผ่นวงจรพิมพ์ และ Capacitor ฯลฯ

 

ระยะที่สอง ระหว่าง พ.ศ. 2524-2528 ในช่วงนี้รัฐบาลยังคงดำเนินนโยบายส่งเสริมการส่งออก โดยมีการแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน เพื่อแก้ปัญหาดุลการค้าและการว่างงาน ทำให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่จำนวนมากย้ายฐานการผลิตเข้ามาลง ทุนในไทย เช่น กลุ่มมินิแบ (Minibea) ผู้ผลิต ตลับลูกปืน (Ball Bearing) มอเตอร์ (Stepping Motor) ฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) และอื่นๆ  บริษัทฟูจิกูระ (จากญี่ปุ่น) ผู้ผลิตสายไฟและเคเบิลให้แก่ IBM และ Seagate Technology (จากสหรัฐอเมริกา) ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) สำหรับคอมพิวเตอร์ และกลุ่มฮานา เซมิคอนดัคเตอร์ (Hana Semiconductor) (จากฮ่องกง) ทำการประกอบนาฬิกา และแผงวงจรไฟฟ้า บริษัทจี เอส เทคโนโลยี (GS Technology) ประกอบแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB)  สำหรับ กิจการของคนไทย เริ่มมีการผลิตแผ่นวงจรพิมพ์เพื่อการส่งออกโดยบริษัท ควงเจริญอิเล็กโทรนิกส์ ในปี พ.ศ. 2525 และผลิตแผงวงจรไฟฟ้า โดยบริษัท งานทวีอิเล็กทรอนิคส์ ในปี พ.ศ. 2527 และมีบริษัทรายย่อยจำนวนมากทำการประกอบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และเครื่อง ควบคุมการจ่ายไฟสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์เพื่อจำหน่ายในประเทศ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในช่วงนี้มีการเติบโตสูงมาก โดยเฉพาะกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อันเป็นผลมาจากการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้า (IC) และการที่ผู้ผลิตหลายรายเปลี่ยนจากการผลิต เพื่อตลาดในประเทศมาเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นหลัก

 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้การเชื่อมโยงกันในระหว่างอุตสาหกรรมยังมีไม่มากนักแม้จะมีการผลิต ชิ้นส่วนแผ่นวงจรพิมพ์และแผงวงจรไฟฟ้าขึ้นโดยคนไทยเอง ก็เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก สำหรับอุตสาหกรรมสนับสนุน เช่น ชิ้นส่วนพลาสติกและโลหะ หรือแม่พิมพ์ มีการผลิตในปริมาณน้อย ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดในประเทศเท่านั้น

 

 

อ่านทั้งหมด click :ดาวน์โหลด

 

หมายเลขบันทึก: 267232เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2009 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท